แนวทางการเคลื่อนย้ายผู้มีภาวะสมองเสื่อม
เคลื่อนย้ายผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไรให้ปลอดภัย
เมื่ออาการสมองเสื่อมมาถึงระยะที่ 2 แขนขาเริ่มเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ ต้องช่วยพยุงลุกขึ้นหรือพาเดินไปเข้าห้องน้ำ และในระยะที่ 3 ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงจนกระทั่งนอนเฉย ๆ ติดเตียง ผู้ดูแลควรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยทั้งของผู้มีภาวะสมองเสื่อมและตัวผู้ดูแลเองข้อแนะนำ
1. ช่วยพยุงตัวจากนั่งเป็นยืน
ให้เท้าวางราบกับพื้น ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ลุกง่ายขึ้น2. พยุงตัวพาเดิน
หาเข็มขัดเส้นค่อนข้างหนาคาดเอวผู้มีภาวะสมองเสื่อม รัดให้กระชับไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป ช่วยให้การพยุงตัวสะดวกและปลอดภัย หรือให้สวมกางเกงที่มีขอบเอวแข็งแรงให้จับถนัดมือได้เช่นกันเลี่ยงการพยุงตัวแบบหิ้วปีกหรือสอดแขนจับใต้รักแร้ อาจทำให้เอ็นไหล่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมฉีกขาด การประคองเอวจะปลอดภัยกว่า
3. ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่อัมพาตครึ่งซีก
ผู้ดูแลพยุงตัวโดยประคองฝั่งที่อ่อนแรง4. ระวังจังหวะพานั่งลง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางรายอาจทิ้งตัวกระแทกแรง ๆ การมีเข็มขัดรัดรอบเอวจะช่วยชะลอจังหวะให้ช้าลง5. พยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั่งรถเข็น
การพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมจากเตียง หรือจากการยืน เพื่อนั่งรถเข็น ควรเช็คว่าล็อกล้อรถเข็นก่อนทุกครั้งถ้าผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังพอยืนได้ การพยุงจากเตียงนั่งรถเข็น ให้นำรถเข็นมาเทียบติดกับเตียงแล้วพยุงให้ลุกขึ้นมากึ่งนั่งกึ่งยืน ไม่ต้องยืนเต็มตัว แล้วประคองนั่งรถเข็น (แค่ย้ายก้นจากเตียงมารถเข็น)
6. ปรับบ้านให้ปลอดภัย
ทางเดินโล่ง เดินสะดวก ทางเดินแสงสว่างเพียงพอ ระดับพื้นเท่ากัน ไม่มีพรม เลี่ยงการใช้พื้นต่างระดับ ป้องกันการสะดุด7. หากใส่รองเท้าในบ้าน
เลือกที่เดินสะดวก ไม่ลื่น หลวม ไม่สะดุดล้มง่าย8. ระยะนอนติดเตียง
ประคองจากที่นอนขึ้นมานั่ง ให้ขาห้อยลงมาข้างเตียงก่อน ผู้ดูแลช่วยประคองเฉพาะท่อนบนขึ้นมาจะลุกง่ายประคองจากนั่งเป็นยืน ขยับตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมมาข้างเตียง ให้วางเท้าราบกับพื้นก่อน โน้มตัวมาข้างหน้า แล้วค่อยพยุงให้ลุกขึ้นยืน
9. พยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมตัวเกร็งแข็งออกแรงต้าน ออกเดิน
ผู้ดูแลคนเดียวอาจประคองไม่ไหว ต้องหาคนช่วย ขึ้นอยู่กับขนาดตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมและการเดินไกลแค่ไหน หากใกล้ ๆ คนเดียวอาจพยุงได้10. ตัวช่วยพยุง
ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเกาะบ่าคนพยุงตัวเพื่อช่วยผ่อนแรง เกาะโต๊ะ ตู้ ที่แข็งแรงมั่นคง ไม้เท้า ตามสภาวะที่สามารถทำได้11. ค่อย ๆ เปลี่ยนท่าช้า ๆ
ป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมเหนื่อยเกินไปเพราะอันตรายต่อหัวใจ การเปลี่ยนท่าเร็วเกินไปเลือดจะเลี้ยงสมองไม่ทัน ทำให้หน้ามืดเป็นลมได้12. ดูกำลังว่าสามารถพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่
เลี่ยงการทำเกินกำลังของผู้ดูแล อาจทำให้หกล้มหรือบาดเจ็บทั้งผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลบทความที่เกี่ยวข้อง