ไม่ยอมอาบน้ำทำยังไงดี
“ไม่ยอมอาบน้ำ” หลายบ้านเผชิญกับปัญหานี้คล้ายกัน มีดราม่าแทบทุกวันกับเรื่องที่ง่ายแสนง่ายสำหรับคนทั่วไป ทำไมถึงเป็นเรื่องยากไปได้ เรามาทำความเข้าใจในตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมกันสักนิด
อาบน้ำของเราไม่เท่ากัน
ทีมผู้ดูแล
- ของมันจำเป็น อยากให้ตัวสะอาด หอม สดชื่น ป้องกันปัญหาผิวหนัง และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ทีมสมองเสื่อม
- มาทำร้าย ไม่ชอบโดนบังคับ อาย หนาว ลืมวิธีอาบ ไม่รู้จักฝักบัว สบู่ แชมพู
ทีมผู้ดูแล
- ของมันจำเป็น อยากให้ตัวสะอาด หอม สดชื่น ป้องกันปัญหาผิวหนัง และติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ทีมสมองเสื่อม
- มาทำร้าย ไม่ชอบโดนบังคับ อาย หนาว ลืมวิธีอาบ ไม่รู้จักฝักบัว สบู่ แชมพู
สาเหตุไม่ยอมอาบน้ำอาจเกิดจาก
- กลัวน้ำฝักบัวแรงๆ เข้าหน้า หรือรดศีรษะตอนสระผม
- น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป
- แชมพูเข้าตา
- ลืมวิธีอาบ ลืมวิธีใช้ฝักบัว สบู่ แชมพู
- กลัวการอยู่ในห้องน้ำคนเดียว กลัวเงาในกระจก
- กลัวพื้นลื่น อาจเคยหกล้มในห้องน้ำ
- อาย ไม่อยากถอดเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่น
- โกรธเมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
- มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งรบกวนจิตใจผู้ป่วย
- กลัวน้ำฝักบัวแรงๆ เข้าหน้า หรือรดศีรษะตอนสระผม
- น้ำร้อนหรือเย็นเกินไป
- แชมพูเข้าตา
- ลืมวิธีอาบ ลืมวิธีใช้ฝักบัว สบู่ แชมพู
- กลัวการอยู่ในห้องน้ำคนเดียว กลัวเงาในกระจก
- กลัวพื้นลื่น อาจเคยหกล้มในห้องน้ำ
- อาย ไม่อยากถอดเสื้อผ้าต่อหน้าคนอื่น
- โกรธเมื่อถูกบังคับให้ทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
- มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งรบกวนจิตใจผู้ป่วย
12 เคล็ดลับลดปัญหาเวลาอาบน้ำ
1. อาบน้ำในเวลาเดิมทุกวัน เมื่อผู้ป่วยคุ้นเคยจะต่อต้านน้อยลง หรือเลือกเวลาอารมณ์ดี
2. ถ้าผู้ป่วยต่อต้านทุกครั้งเมื่อต้องอาบน้ำ ให้ชวนทำกิจกรรมที่ชอบหรือสนใจแทนการบอกให้อาบน้ำ
3. เลี่ยงการบ่นหรือพยายามอธิบายเหตุผล ใช้ประโยคสั้น ๆ เช่น ไปอาบน้ำกัน มีขนมที่ชอบ หรือมีเกมสนุก ๆ ให้เล่น
4. ชวนคุยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ได้ถูกสั่งให้ทำ
5. ชวนทุกวิธีแล้วยังไม่ยอมอาบ ทิ้งช่วงสักครู่ให้ผู้ป่วยลืมก่อนค่อยพาไปอาบน้ำใหม่
6. สร้างบรรยากาศสงบและผ่อนคลาย อาจเปิดเพลงเบาๆ คลอ
7. เช็คอุณหภูมิน้ำพอเหมาะก่อนให้อาบ และอาบในช่วงเวลาที่อากาศไม่หนาวเย็น
8. ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย เช่น หาเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ จะได้ไม่ต้องพยายามยืนทรงตัวระหว่างอาบ เปิดน้ำฝักบัวอ่อน ๆ ผู้ป่วยจะได้ไม่ตกใจ เริ่มต้นราดน้ำจากมือหรือเท้าก่อนเพื่อสร้างความคุ้นเคย อาจใช้ขันตักถ้าผู้ป่วยชอบ
9. ผู้ป่วยจำขั้นตอนและวิธีอาบน้ำไม่ได้ ผู้ดูแลช่วยแนะนำขั้นตอน อาจช้าสักนิด ใจเย็น ๆ รอ คอยช่วยในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
10. ถ้าผู้ป่วยอาย แนะนำให้ถอดเสื้อผ้าเฉพาะส่วนที่อาบ ปิดส่วนที่ยังไม่ได้อาบไว้ก่อน
11. ปฏิบัติกับผู้ป่วยด้วยความสุภาพ อ่อนโยน เลี่ยงการออกคำสั่ง ตำหนิ ใช้คำพูดในเชิงบวก
12. ถ้าทำอย่างไรก็ไม่ยอมอาบน้ำ ใช้การเช็ดตัวทำความสะอาดทดแทนได้ ไม่ควรบังคับ
1. อาบน้ำในเวลาเดิมทุกวัน เมื่อผู้ป่วยคุ้นเคยจะต่อต้านน้อยลง หรือเลือกเวลาอารมณ์ดี
2. ถ้าผู้ป่วยต่อต้านทุกครั้งเมื่อต้องอาบน้ำ ให้ชวนทำกิจกรรมที่ชอบหรือสนใจแทนการบอกให้อาบน้ำ
3. เลี่ยงการบ่นหรือพยายามอธิบายเหตุผล ใช้ประโยคสั้น ๆ เช่น ไปอาบน้ำกัน มีขนมที่ชอบ หรือมีเกมสนุก ๆ ให้เล่น
4. ชวนคุยสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย ให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่ได้ถูกสั่งให้ทำ
5. ชวนทุกวิธีแล้วยังไม่ยอมอาบ ทิ้งช่วงสักครู่ให้ผู้ป่วยลืมก่อนค่อยพาไปอาบน้ำใหม่
6. สร้างบรรยากาศสงบและผ่อนคลาย อาจเปิดเพลงเบาๆ คลอ
7. เช็คอุณหภูมิน้ำพอเหมาะก่อนให้อาบ และอาบในช่วงเวลาที่อากาศไม่หนาวเย็น
8. ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย เช่น หาเก้าอี้สำหรับนั่งอาบ จะได้ไม่ต้องพยายามยืนทรงตัวระหว่างอาบ เปิดน้ำฝักบัวอ่อน ๆ ผู้ป่วยจะได้ไม่ตกใจ เริ่มต้นราดน้ำจากมือหรือเท้าก่อนเพื่อสร้างความคุ้นเคย อาจใช้ขันตักถ้าผู้ป่วยชอบ
9. ผู้ป่วยจำขั้นตอนและวิธีอาบน้ำไม่ได้ ผู้ดูแลช่วยแนะนำขั้นตอน อาจช้าสักนิด ใจเย็น ๆ รอ คอยช่วยในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้
10. ถ้าผู้ป่วยอาย แนะนำให้ถอดเสื้อผ้าเฉพาะส่วนที่อาบ ปิดส่วนที่ยังไม่ได้อาบไว้ก่อน
11. ปฏิบัติกับผู้ป่วยด้วยความสุภาพ อ่อนโยน เลี่ยงการออกคำสั่ง ตำหนิ ใช้คำพูดในเชิงบวก
12. ถ้าทำอย่างไรก็ไม่ยอมอาบน้ำ ใช้การเช็ดตัวทำความสะอาดทดแทนได้ ไม่ควรบังคับ
บทความที่เกี่ยวข้อง