การสังเกตภาษากายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม

การสังเกตภาษากายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม

สังเกตภาษากายสมองเสื่อม

การแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง เป็นการสื่อสารสำคัญแทนการพูด เพราะ เมื่ออาการมาถึงช่วงหนึ่งผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางรายจะสื่อสารไม่ได้ ไม่เข้าใจกัน
พฤติกรรมวุ่นวายปั่นป่วนมักจะมีสาเหตุ ไม่ได้ตามที่ต้องการ พยายามสื่อสารไม่สำเร็จ ไม่สบายตัว มีอาการเจ็บปวด ไม่สบายใจ
การสังเกตภาษากายช่วยหาสาเหตุได้ เข้าใจกันมากขึ้น รู้วิธีรับมือ โกรธผู้มีภาวะสมองเสื่อมน้อยลง ปัญหาลดลง
ภาษากาย อาจกลายเป็นภาษาหลักในการสื่อสารกันเมื่อมีอาการมากขึ้น
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางราย สามารถสื่อสารอารมณ์ความรู้สึกผ่านการวาดภาพ และดนตรีได้
 

ท่าทางอย่างนี้แปลว่าอะไร

ภาษากายแต่ละคนไม่เหมือนกัน คอยสังเกตสีหน้าท่าทางจะช่วยให้เข้าใจผู้มีภาวะสมองเสื่อมยิ่งขึ้น

กระวนกระวาย อยู่ไม่นิ่ง อาจเป็นเพราะอยากไปเดินเล่น หรือมีอาการเจ็บปวด ไม่สบายตัว ลองสำรวจร่างกาย แตะหรือจับส่วนที่คิดว่าเจ็บ ถ้าหาสาเหตุไม่พบ อาการกระวนกระวายไม่หยุด อาจพาไปพบแพทย์
การอยู่ไม่นิ่ง ผุดลุงผุดนั่ง จับกางเกง/กระโปรงบ่อย หรือถอดออก อาจเป็นเพราะปวดฉี่ ปวดอึ หาทางห้องน้ำไม่เจอ ผู้ดูแลควรพาไปเข้าห้องน้ำ
พลุ่งพล่าน อาจมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น รายการโทรทัศน์ แสงแดดส่องแยงตา หรือเกิดเสียงดัง เช่น เสียงโทรศัพท์ กริ่งประตู ทำให้ผู้ป่วยตกใจ > หาสาเหตุแล้วแก้ไข เช่น ปิดโทรทัศน์ ย้ายโทรศัพท์ ปลอบโยน
อาจกลัวบางสิ่ง เช่น กลัวคน กระจก เงาตะคุ่ม > สังเกตว่ามองอะไรถึงกลัว พาเลี่ยงออกจากจุดนั้น ไปห้องอื่น หรือกำจัดสิ่งที่กลัว
ทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น พับผ้า จัดของ อาจเพราะอาชีพหรืองานอดิเรก > ดูว่าพฤติกรรมนั้นนำมาใช้เป็นกิจกรรมได้ไหม เช่น ชวนทำงานบ้าน หรือจัดหาของไว้ให้ทำ

เข้าใจผู้มีภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น

ท่าทางหรือพฤติกรรมหนึ่งอาจเกิดจากหลายสาเหตุ > ตรวจดูว่าเกิดจากอะไรแน่
พฤติกรรมผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีรูปแบบค่อนข้างตายตัว > ผู้ดูแลควรสังเกตและจดจำเอาไว้ว่าท่าทางนั้นหมายถึงอะไร แก้ด้วยวิธีไหนได้ผล อาจจดไว้เตือนความจำ
สังเกตความเป็นไปในแต่ละวัน กิน นอน ขับถ่ายปกติไหม เช่น 
- ท้องผูก จะไม่อยากกิน ป่วน อารมณ์ไม่ดี > สังเกตว่าอึ ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
อึเลอะเทอะ > สังเกตว่าผู้ป่วยกินอะไรไปบ้าง หรือเพิ่งปรับเปลี่ยนยา
อารมณ์เสียบ่อย สาเหตุอาจเกิดจากทำอะไรเองไม่ได้ดั่งใจ สิ่งที่เคยง่ายกลายเป็นยากไปหมด > จัดสิ่งแวดล้อมให้ใช้งานง่าย หาง่าย ทำป้ายติดบอกทาง บอกห้อง บอกชื่อสิ่งของ วิธีใช้ ทางเดินสะดวก
ดูว่าครอบครัว/ผู้ดูแล เป็นสาเหตุพฤติกรรมป่วนหรือไม่ > นึกถึงสีหน้าท่าทางที่แสดงออกต่อผู้ป่วย ตอนโกรธ เสียใจ อึดอัด พูดจาหรือปฏิบัติไม่สุภาพ ใช้ความรุนแรง ควรปรับไปในทางบวก
ดูว่าผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นใคร เคยทำอาชีพอะไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร โตมากับวัฒนธรรมความเชื่ออย่างไร > เรียนรู้เพื่อให้เข้าใจพฤติกรรม เช่น เคยเป็นครู อาจชอบลุกขึ้นยืน เดินไปเดินมา เกษตรกร อาจอยากออกนอกตัวบ้านบ่อย ๆ ไม่สนใจว่าฝนกำลังตก
กำหนดกิจวัตรประจำวัน > ช่วยให้จำได้ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะรู้สึกว่าทำอะไรได้ด้วยตัวเอง เพราะคุ้นเคย ช่วยลดความกระวนกระวายใจและความวิตกกังวล – สื่อสารไม่ตรง อาจบอกอย่างหนึ่งแต่ต้องการอีกอย่างหนึ่ง > สังเกตว่าถ้าพูดอย่างนี้จะหมายถึงอะไร
พยายามปรับพฤติกรรมแทนการควบคุมหรือห้าม
ใช้ภาษามือแบบง่าย ๆ ระหว่างกัน ฝึกให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมใช้สื่อสารได้ตั้งแต่ยังรู้เรื่องมากอยู่ เช่น ยกมือขวา = เข้าห้องน้ำ จับท้อง = ปวดท้อง หิวข้าว = นิ้วชี้ที่ปาก
ผู้ดูแลมีอารมณ์ขัน อดทน ยืดหยุ่น ลองหลาย ๆ วิธีในการแก้ปัญหา เห็นอกเห็นใจผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ดูแลด้วยความเคารพ ให้เกียรติ อ่อนโยน มีเมตตา รักและเข้าใจ สร้างสุขทั้งผู้มีภาวะสมองเสื่อม ครอบครัว และผู้ดูแล
ปัญหาของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในระยะต่าง ๆ และแนวทางการรับมือ
แนวทางในการรับมือ กับปัญหาของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ในระยะต่าง ๆ ให้สามารถปฏิบัติ กิจกรรมต่าง ๆ ...
แนวทางในการสื่อสารกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างเหมาะสม
การดูแลผู้สูงวัยด้วยทัศนคติที่มองมนุษย์เป็นมนุษย์ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
อุปกรณ์ดูดเสมหะ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดเสมหะ ช่วยในการขจัดน้ำลายหรือเสมหะ ...
โรคสมองเสื่อมกับปัญหาพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ...
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
การดูแลผู้ป่วยคาสายสวนปัสสาวะที่บ้าน
การดูแลผู้ป่วยที่มีความจำเป็นในการคาสายสวนปัสสาวะไว้ในขณะอยู่บ้าน ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.