การให้อาหารทางสายยางทางจมูก

การให้อาหารทางสายยางทางจมูก
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร แพทย์อาจพิจารณาการให้อาหารทางสายยาง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารได้น้อย ไม่รับประทานอาหาร หรือ มีปัญหาการกลืน มีการสำลักระหว่างรับประทานอาหาร แพทย์อาจพิจารณาการให้อาหารทางสายยาง ซึ่งสามารถเลือกให้อาหารทางสายยางได้ 3 ช่องทาง คือทางจมูก ทางปาก หรือทางหน้าท้อง เพื่อส่งเสริมให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

อุปกรณ์

1. กระบอกให้อาหารเหลวขนาด 50 ซีซี
2. ถุงให้อาหารและสายให้อาหาร
3 .อาหารเหลว
4. ถ้วยหรือแก้วใส่น้ำสะอาด

วิธีให้อาหารทางสายยางที่ใส่ทางจมูก

1. แจ้งให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมทราบ และจัดท่านั่งให้พิงพนักเตียง หรือศีรษะสูงอย่างน้อย 30-45 องศา
2. ล้างมือให้สะอาดและทดสอบว่าปลายสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ ก่อนเริ่มให้อาหารทุกครั้ง ดังนี้ ใช้กระบอกให้อาหารเหลว ดูดอาหารออกมาจากสายยางทางจมูก
- ถ้าได้อาหารน้อยกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไป สามารถให้อาหารมื้อต่อไปได้
- ถ้าได้มากกว่า 50 ซีซี ให้ดันอาหารกลับเข้าไป และมาทดสอบซ้ำทุก 30 นาที
- ถ้าไม่สามารถดึงอาหารออกมาได้ ให้ใช้กระบอกให้อาหารเหลวดันลม 10-20 ซีซีพร้อมแนบหูหรือใช้หูฟังเสียงลมบริเวณใต้ชายโครงด้านซ้ายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม ถ้าได้ยินเสียงลมสามารถให้อาหารมื้อต่อไปได้ ถ้าไม่ได้ยินเสียง ให้ใส่สายยาง ทางจมูกใหม่
3. อุ่นอาหารเหลวในถุงให้อาหารโดยแช่ในน้ำร้อน 20-30 นาที และต่อสายให้อาหาร ไล่อากาศในสายให้พร้อม
4. ต่อสายให้อาหารเข้ากับปลายสายยางทางจมูกของผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยแขวนถุงอาหารสูงประมาณ 1 เมตรจากปลายจมูกของผู้มีภาวะสมองเสื่อม 5. สังเกตการหายใจ การไอ การสำลัก ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมระหว่างการให้อาหาร
6. ปลดสายให้อาหารทันทีเมื่ออาหารหมด ป้องกันอากาศเข้าสู่กระเพาะอาหาร7. จัดท่านั่ง ศีรษะสูง 30-45 องศานาน 60 นาทีหลังอาหารหมด เพื่อส่งเสริมการย่อยอาหารและป้องกันการสำลัก

ข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง

- ป้องกันการไอจากการมีเสมหะขณะกำลังให้อาหารโดยดูดเสมหะก่อนให้อาหารทุกครั้ง
- ควรใช้เวลาให้อาหาร ประมาณ 30-45 นาที ไม่ควรนานเกิน 2 ชั่วโมงและ ไม่ควรให้อาหารไหลเร็วกว่า 15 นาที เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก อาเจียน คลื่นไส้ ปวดท้อง หรือท้องเสีย
- สามารถใช้กระบอกให้อาหารแทนถุงให้อาหาร
- กรณีมียาหลังอาหาร ให้เทยาลงในกระบอกให้อาหาร เติมน้ำ 30-50 ซีซีลงในกระบอกให้อาหาร รอจนยาไหลเข้าไปในสายให้อาหารจนหมด
ป้องกันการไอจากการมีเสมหะขณะกำลังให้อาหารโดยดูดเสมหะก่อนให้อาหารทุกครั้ง
การดูดเสมหะในปาก
การดูดเสมหะเป็นการขจัดน้ำลายหรือเสมหะซึ่งกีดขวางทางเดินหายใจของผู้ที่มีเสมหะมากและไอเอาออกมาเองได้ไม่ดีนัก
การกลืน
การกลืนลำบากเกิดขึ้นกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมในระยะอาการใดก็ได้ แต่เมื่อมาถึงระยะอาการที่มากขึ้น ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ร้องกลับบ้านทุกวันทำอย่างไรดี
อีกหนึ่งปัญหาประจำวันที่ “ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด” นั่นก็คือ ...
ด้วยรักและเข้าใจ
พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือสามีภรรยา ...
นอนไม่พอเสี่ยงสมองเสื่อม
ชวนหนูๆ ดูแลปู่ย่าตายาย
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.