การบริหารร่างกายผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือติดเตียง

การบริหารร่างกายผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือติดเตียง
การบริหารร่างกายให้กับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ หรือเป็นกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง เน้นเพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด กล้ามเนื้อหดเกร็ง ดึงรั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการขยับเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติม เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสมในแต่ละราย

การบริหารเพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติดให้กับส่วนรยางค์ของร่างกาย

ขณะทำการเคลื่อนไหวข้อต่อต่าง ๆ ให้ทำด้วยความนุ่มนวล ช้า ๆ วันละ 1-2 รอบ รอบละ 5-10 ครั้งต่อรอบ
ไม่ควรผลัก ดัน หรือกระตุกข้อต่อ เพื่อป้องกันการเกิดการบาดเจ็บ

ข้อไหล่และข้อศอก

1. ท่ายกแขน - ให้ประคองบริเวณข้อศอกและข้อมือ จากนั้นยกแขนขึ้นตรง ๆ ให้สุดจนแนบข้างหู และวางแขนลงช้า ๆ
ท่ายกแขนขึ้นลง
ท่ายกแขนขึ้นลง
2. ท่ากางแขน – กางแขนออกด้านข้าง จากนั้นยกขึ้นไปจนแนบกับใบหู จากนั้นหุบแขนลงแนบข้างลำตัว
การกางแขนออกหุบแขนเข้า
การกางแขนออกหุบแขนเข้า
3. ท่าหมุนข้อไหล่ – กางแขนออกมาด้านข้าง ตั้งเป็นมุมฉาก 90 องศา จากลำตัว จากนั้นขยับปลายแขนขึ้นด้านบน สลับลงด้านล่าง
การหมุนข้อไหล่เข้า-ออก
การหมุนข้อไหล่เข้า-ออก
4. ท่างอเหยียดข้อศอก –วางแขนแนบลำตัว แล้วหงายฝ่ามือขึ้น งอข้อศอกจนปลายมือแตะไหล่ แล้วเหยียดออกช้า ๆ
การงอเหยียดข้อศอก
การงอเหยียดข้อศอก

ข้อมือและข้อนิ้วมือ

1. งอเหยียดข้อมือ - ประคองบริเวณข้อมือ แล้วกระดกข้อมือขึ้นลง แล้วจึงบิดไปทางซ้ายและขวา
การงอเหยียดข้อมือ
การงอเหยียดข้อมือ
2. เหยียดนิ้วมือ - แบมือให้เหยียดสุด จากนั้น งอนิ้วทีละนิ้วโดยให้ปลายนิ้วแตะบริเวณกลางฝ่ามือจนครบ 5 นิ้ว
3. กำมือและแบมือ - สลับกัน
การเหยียด-งอนิ้วมือ
การเหยียด-งอนิ้วมือ

ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อนิ้วเท้า

1. ท่างอเหยียด - ประคองบริเวณข้อเท้าและใต้ข้อพับเข่า จากนั้นออกแรงงอเข่าและงอสะโพก ให้ตั้งฉากประมาณ 90 องศา แล้วเหยียดออกตรง ๆ ช้า ๆ ขณะทำให้ฝ่าเท้าตั้งตรงตลอดเวลา
2. ท่าเหยียดข้อเข่า – ประคองข้อเท้าและข้อเข่า ยกขาเหยียดตรง แล้ววางขาลง ทำช้า ๆ สลับไปมา
การเหยียด-งอข้อสะโพกและข้อเข่า
การเหยียด-งอข้อสะโพกและข้อเข่า
3. ท่ากางหุบ - ประคองบริเวณข้อเท้าและใต้ข้อพับเข่า จากนั้น ยกขาขึ้นเล็กน้อยและกางขาออกด้านข้างประมาณ 45 องศา แล้วหุบเข้าช้า ๆ
การกางหุบข้อสะโพก
การกางหุบข้อสะโพก
4. ท่ากระดกข้อเท้าขึ้น-ลง - ใช้มือประคองบริเวณส้นเท้า และอีกข้างจับบริเวณหน้าแข้ง ออกแรงดันส้นเท้าไปในทิศทางขึ้นไปด้านศีรษะ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที เเล้วจึงผ่อนแรง
5. ท่างอ-เหยียดข้อนิ้วเท้า - กดปลายนิ้วเท้าทั้ง 10 นิ้ว ให้งุ้มลง สลับกับเหยียดนิ้ว โดยสามารถทำทีละนิ้วหรือพร้อมกันทั้งหมดได้
การกระดกข้อเท้าขึ้นลง
การกระดกข้อเท้าขึ้นลง
หากท่านพบอาการผิดปกติใด ๆ ในร่างกาย เช่น อาการปวด บวม ผิวรอบข้อต่าง ๆ มีอาการอุ่นร้อน ข้อผิดรูป แนะนำให้เว้นการฝึกบริหารและควรรีบปรึกษาแพทย์
การเตรียมพบแพทย์
การพาผู้มีภาวะสมองเสื่อมไปพบแพทย์ตามนัดมีความสำคัญ แต่การพบแพทย์แต่ละครั้งอาจไม่ง่ายนัก ...
สมองเสื่อมต้องใส่ใจความปลอดภัย 8 ข้อ
ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้น ๆ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเมื่อเกิดความเครียด
วัยสูงอายุ เป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายและใจ ...
การดูดเสมหะในปาก
การดูดเสมหะเป็นการขจัดน้ำลายหรือเสมหะซึ่งกีดขวางทางเดินหายใจของผู้ที่มีเสมหะมากและไอเอาออกมาเองได้ไม่ดีนัก
15 ข้อลดเสี่ยงสมองเสื่อม 21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก
21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer s Day) เว็บไซต์ Caregiverthai.com ...
การออกกำลังกายสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม
สมองเสื่อมก็ออกกำลังกายได้ แนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิค และ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.