ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน

ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงตามระยะอาการที่เป็นมากขึ้น แต่ละระยะอาการต้องการความช่วยเหลือแตกต่างกันไป
การจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ จะช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเเสื่อมทำกิจวัตรประจำวันง่ายขึ้น สะดวกสบายขึ้น การมีกิจรรมทำในยามว่างช่วยผู้มีภาวะสมองเสื่อมใช้เวลาไปกับความสนุกเพลิดเพลิน ช่วยให้การดูแลง่ายขึ้นด้วย

อุปกรณ์ที่ช่วยให้กิจวัตรประจำวันง่ายขึ้น เช่น

นาฬิกา ปฏิทิน : ช่วยการรับรู้เกี่ยวกับวันและเวลา
แว่นตา : พาไปตรวจวัดสายตาก่อนหากพบว่ามีปัญหาสายตา การใส่แว่นช่วยให้การมองเห็นชัดเจนขึ้น
อัลบั้มภาพ : ภาพคนในครอบครัว ญาติ เพื่อน เพื่อนบ้าน ดารา นักร้องที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมรู้จัก ช่วยเตือนความจำ
กระดานเขียนโน้ต : เตือนความจำผู้มีภาวะสมองเสื่อม เช่น อย่าลืมกินยาหลังอาหาร เตือนให้ปิดสวิทช์หรือถอดปลั๊กหลังใช้งาน
- ข้อความบอกวิธีใช้ : วิธีใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า เขียนป้ายติดขวด สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ฯลฯ
ถ้วยชาม แก้วน้ำสีตัดกับโต๊ะ : ช่วยให้มองเห็นชัด
ช้อนส้อมด้ามจับขนาดใหญ่ หรือใช้ฟองน้ำหุ้มด้าม : ช่วยให้จับถนัดขึ้น
กล่องยา : แบ่งใส่กล่องแยกเป็นมื้อ เขียนบอกว่ากินมื้อไหนกี่เม็ด
กริ่งสัญญาณฉุกเฉินในห้องน้ำ : ขอความช่วยเหลือ
กริ่งสัญญาณเตือนเมื่อผู้ป่วยเปิดประตูออกจากบ้าน : ป้องกันการหายออกจากบ้าน
ตัวตัดแก๊สแบบตั้งเวลา
อุปกรณ์ล็อกตู้เย็น
เก้าอี้ลักษณะโอบอุ้ม เช่น เก้าอี้รูปไข่ โซฟานั่งนุุ่มมีเท้าแขน : ช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย
ผ้าห่มเนื้อนุ่ม : ช่วยให้รู้สึกสบายนอนหลับง่าย

อุปกรณ์สำหรับกิจกรรมในบ้าน

การมีกิจกรรมให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมทำ จะช่วยให้จดจ่อกับสิ่งที่ชอบ อารมณ์ดีขึ้น มีสมาธิ ช่วยฝึกสมอง ฝึกการทำงานของมือ อาจใช้กิจกรรมในชีวิตประจำวันที่คุ้นเคย เช่น การพับผ้า จัดโต๊ะอาหาร ทำกับข้าว ทำสวน ทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ ฯลฯ หรือหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยสร้างความเพลิดเพลิน ได้แก่
– เกมกระดาน เช่น จิกซอว์ จับคู่ภาพ โดมิโน เกมต่อบล็อกไม้
– สมุดภาพระบายสี
– หนังสือ หนังสือภาพ
– ของสะสมที่ผู้ป่วยชอบ
– ตุ๊กตา
– อุปกรณ์งานฝีมือ งานประดิษฐ์ เย็บปัก งานไม้ จัดดอกไม้ ฯลฯ
– อุปกรณ์ทำสวน หาโต๊ะเก้าอี้ความสูงระดับที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั่งถนัด หรือระดับที่เหมาะกับเก้าอี้รถเข็นเมื่ออยู่ในระยะที่ไม่สามารถเดินได้

ต้นไม้

ในระยะอาการที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังสนใจสิ่งรอบตัว การปลูกต้นไม้ ช่วยให้รับรู้เกี่ยวกับ เวลา ฤดูกาล สีสัน สัมผัสทางมือ การรับกลิ่น และความเพลิดเพลิน
– ปลูกต้นไม้ดอกไม้หลากหลายประเภท หลายสี
– ปลูกต้นไม้มีกลิ่นหอมบางชนิด เช่น พืชผักสมุนไพร กะเพรา โหระพา มะกรูด ดอกไม้หอม ๆ
– ปลูกต้นไม้ที่ออกดอกตามเวลา เช้า กลางวัน เย็น ค่ำ หรือออกดอกผลตามฤดูกาล

อุปกรณ์ช่วยการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายมีประโยชน์ทั้งต่อร่างกาย จิตใจ และสมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อม สมองทั้งสองข้างจะทำงานเชื่อมโยงกัน การทำงานของสมองดีขึ้น สุขภาพร่างกายแข็งแรง อารมณ์ดี ลดความรู้สึกเครียดและซึมเศร้าของผู้มีภาวะสมองเสื่อมลงได้ อุปกรณ์ที่แนะนำมีดังนี้
– ลูกบอล สำหรับเล่นโยนรับกับผู้ดูแล
– ปิงปอง สำหรับเล่นโยนใส่ถ้วย หรือตีปิงปองกับผู้ดูแล
– จักรยาน หรือจักรยานออกกำลังกาย ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมออกกำลังกายพร้อมดูโทรทัศน์ : ในระยะที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังขี่จักรยานได้ชวนไปขี่ใกล้บ้าน ดูแลความปลอดภัยอย่างใกล้ชิด
– โทรทัศน์ หรือแท็บเล็ต : เปิดคลิปดนตรีหรือการออกกำลังกาย ชวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมออกกำลังกายด้วยกัน
การออกกำลังกายไปพร้อม ๆ กับผู้มีภาวะสมองเสื่อม หรือปรับให้การออกกำลังกายเป็นการเล่น เน้นความสนุกสนาน ดูอารมณ์ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นหลักว่าพร้อมออกกำลังกายหรือไม่ จะให้ความร่วมมือง่ายกว่าการสั่งหรือบังคับ
ตารางกิจวัตรประจำวัน สำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะ 3
ผู้ปวยสมองเสื่อมในระยะนี้มีภาระหลงลืมมากขึ้น บางคนยังพอทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้ ...
6 ข้อควรระวังหนาวนี้
หน้าหนาวควรระวังสุขภาพของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นพิเศษ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การให้อาหารทางสายยางทางจมูก
ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานอาหารได้น้อย ...
สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของ
สิทธิประโยชน์ "คนพิการ" ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ...
ป่วนตอนพระอาทิตย์ตกทำไงดี
ผู้ดูแลหลายท่านพบว่าเมื่อถึงช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกหรือพลบค่ำ ...
เคล็ดลับลดปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.