แบบนี้ต้องรีบหาหมอ
ฉุกเฉิน! พบแพทย์ทันที
หายใจเหนื่อยหอบ+
อัตราการหายใจที่เร็วกว่า 20 ครั้งต่อนาที ร่วมมีภาวะเหนื่อย หายใจเสียงดัง ภาวะออกซิเจนในเลือดตก บางรายมีเสมหะเพิ่มขึ้น มีไข้ อาจต้องระวังภาวะติดเชื้อระบบทางเดินหายใจหรือระบบหายใจล้มเหลว
ความดันเปลี่ยนผิดปกติ+
ความดันโลหิต
- กรณีที่มีเครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านเมื่อทำการวัดความดันพบว่า มีความดันโลหิตที่มากกว่า 180/110 มิลลิเมตรปรอท ต้องพึงระวังภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤต บางรายมีอาการร่วมกับภาวะปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เหนื่อยนอนราบไม่ได้ ซึ่งมีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ เมื่อพบภาวะนี้ต้องรีบพบแพทย์
- กรณีที่วัดความดันโลหิตพบว่า มีความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท ต้องพึงระวังภาวะความดันโลหิตตก ซึ่งสาเหตุอาจเป็นจากติดเชื้อกระแสเลือด ขาดน้ำอย่างรุนแรง หรือรับประทานยาลดความดันโลหิตมากเกินไป เมื่อพบภาวะนี้ให้งดยาลดความดันโลหิตทันที นอนหัวราบและรีบมาโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ

ชีพจรและการเต้นของหัวใจ
- กรณีที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพจรที่น้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคยต่ำเช่นนี้มาก่อน ซึ่งอาจเกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ หรือจากยาที่รับประทาน ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ
- กรณีที่วัดอัตราการเต้นของหัวใจและชีพจรที่มากกว่า 100 ครั้งต่อนาที อาจต้องระวังภาวะการติดเชื้อ หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างเฉียบพลัน ในผู้ป่วยบางรายมีอาการใจสั่น หน้ามืด ความดันโลหิตต่ำได้ ควรรีบมาโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ
ไข้สูงหรือหนาวสั่น หรือตัวเย็นซีดผิดปกติ+
ความผิดปกติของอุณหภูมิ
เมื่อตรวจพบอุณหภูมิที่มากกว่า 38 อาศาเซลเซียส หรือน้อยกว่า 36 อาศาเซลเซียส พึงระวังภาวะติดเชื้อ ให้รีบมาพบแพทย์

ภาวะติดเชื้อกระแสเลือด
สังเกตมีอาการไข้ อุณหภูมิที่มากกว่า 38 อาศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิร่างกายที่ต่ำกว่า 36 อาศาเซลเซียส ร่วมมีอัตราการหายใจที่เร็วกว่า 20 ครั้งต่อนาที และอัตราการเต้นของหัวใจหรือชีพจรที่มากกว่า 90 ครั้งต่อนาที มีอาการซึมลง ปัสสาวะออกน้อยสีเข้ม ให้สงสัยภาวะติดเชื้อกระแสเลือด
แน่นหน้าอก ลิ้นปี่+
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ผู้สูงอายุมีอาการแน่นหน้าอกเหมือนมีของหนักๆมาทับ ร้าวไปกราม ไปไหล่ มีเหงื่อแตก ใจสั่น หน้ามืด ควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านอย่างเร่งด่วน
อยู่ๆก็วูบหมดสติ+
หมดสติ
ผู้สูงอายุมีอาการเรียกไม่รู้สึกตัว ซึม พึงระวังภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการได้รับยาลดน้ำตาลในเลือดมากเกินไป ภาวะโรคหลอดสมอง ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ควรเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านอย่างเร่งด่วน
หน้าเบี้ยวครึ่งซีก พูดไม่ชัด แขนขาอ่อนแรง+
โรคหลอดเลือดสมอง
สังเกตผู้สูงอายุมีอาการอ่อนแรงแขน ขา บางรายอ่อนแรงแขนขาครึ่งซีก เดินเซ ชา ปากเบี้ยว น้ำลายไหลออกจากมุมปาก พูดไม่ชัด รีบมาพบแพทย์อย่างทันที

ชัก
สังเกตผู้สูงอายุมีอาการเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อติดต่อกัน เรียกแล้วไม่รู้สึกตัว บางรายปัสสาวะอุจจาระราด กัดลิ้น ตาเหลือกมองด้านใดด้านหนึ่ง บางรายมีเคี้ยวปาก ตากระพริบถี่ ให้สงสัยภาวะชัก เมื่อพบภาวะนี้ให้ผู้ป่วยนอนราบในที่โล่งเนื่องจากมีโอกาสกระแทกสิ่งรอบข้างได้ คลายเสื้อให้หลวม นอนกึ่งตะแคง อย่านำของแข็งเช่น ช้อนกันการกัดลิ้น ให้รีบเรียกรถฉุกเฉินอย่างรวดเร็วหรือรีบพาส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน
ตามองไม่เห็นหรือตามัวเฉียบพลัน+
ภาวะตามองไม่เห็นหรือตามัวเฉียบพลันเป็นภาวะที่เร่งด่วนเนื่องจากสาเหตุที่ทำให้ตามองไม่เห็นเฉียบพลันได้ในผู้สูงอายุ ได้แก่ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งควรได้รับการวินิจฉัยอย่างทันท่วงทีไม่เช่นมีโอกาสที่ตามองไม่เห็นถาวรได้
ปวดร้าวตามแนวซี่โครง
อุบัติเหตุ โดนน้ำร้อนหรือไฟลวก เป็นแผล
ท้องเสียรุนแรง ถ่ายเหลวเกิน 5 ครั้งใน 1 วัน
อาเจียนเกิน 5 ครั้งใน 12 ชั่วโมง หรืออาเจียนพุ่ง
พบแพทย์โดยเร็วภายใน 4-6 ชั่วโมง
ไม่ถ่ายเป็นสัปดาห์
หกล้มมีบ้างส่วนของร่างกายกระแทก
ไม่ฉี่ ฉี่แล้วแสบขัด ไม่เข้าห้องน้ำ 8 ชั่วโมง+
ปัสสาวะไม่ออก
ผู้สูงอายุบางรายมีอาการปวดท้องน้อย ปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก ต้องระวังภาวะอุดตันทางเดินท่อปัสสาวะ รวมไปถึงบางรายไม่มีปัสสาวะและไม่ปวดปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยลง 400 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง พึงระวังภาวะการทำงานของไตบกพร่อง
อุจจาระหรือปัสสาวะเป็นเลือด+
เลือดออกทางเดินอาหาร
ผู้สูงอายุมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายดำเหลว ซีดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้อง ข้อควรปฏิบัติงดน้ำงดอาหารและคอยสังเกตปริมาณที่เลือดออกและรีบมาโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน
ควรพบแพทย์ภายใน 24-48 ชั่วโมง
ไม่ถ่าย ไม่ผายลม+
ผู้สูงอายุมีอาการปวดท้อง การขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไป เดิมที่ถ่ายอุจจาระทุกวันแล้วไม่ถ่าย ไม่ผายลม บางรายมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ให้พึงระวังภาวะสำไส้อุดตัน อาจเกิดจากพังผืดในช่องท้องรัดลำไส้ มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
สับสนเฉียบพลัน+
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลัน ได้แก่ ไม่ทราบวันเวลาสถานที่ วุ่นวาย ถามตอบไม่ตรงคำถาม ผุดลุกผุดนั่ง ควรให้ญาติสังเกตและรีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อหาสาเหตุ เนื่องจากอาการดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับภาวะติดเชื้อ พยาธิสภาพในสมองเช่น เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ภาวะพร่องออกซิเจน การทำงานผิดปกติของการทำงานไตและตับ
เสมหะเปลี่ยนสีและปริมาณเพิ่มขึ้น+
ผู้สูงอายุที่มีเสมหะปริมาณที่มากขึ้นร่วมมีเสมหะเปลี่ยนสีจากสีขาวเป็นสีเขียวหรือสีเหลือง บางรายมีอาการเหนื่อย หอบ มีไข้ หรือภาวะสับสนเฉียบพลัน พึงระวังการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์
ควรไปพบแพทย์
มีอาการบวม เช่น มือบวม เท้าบวม ตาบวม