หยุดก่อนเบรคแตก เลี่ยงทำร้ายผู้ป่วยสมองเสื่อม 15 มิถุนายน วันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อผู้สูงอายุโลก
15 June 2024
ผู้ดูแลทุกท่านทราบดีว่าการอยู่กับผู้ป่วยสมองเสื่อมนั้นเป็นงานหนัก ทั้งดูแลความเป็นอยู่ เอาใจใส่สุขภาพร่างกาย รับมือกับความปั่นป่วนในแต่ละวัน เหนื่อยทั้งกายและใจ จึงมีโอกาสเบรคแตกได้ง่าย
พบว่าปัญหาการทำร้ายผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นในหลายครอบครัว ตั้งแต่การทำร้ายด้วยการทุบตี ทำร้ายด้วยวาจา กีดกัน ไล่ ด่าทอ ไม่ดูแล และทอดทิ้ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ผู้ดูแลไม่ได้ตั้งใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น และเมื่อทำลงไปแล้วก็รู้สึกผิดจิตตกเป็นเวลานาน
เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ดูแล นั่นก็คือ การดูแลกายใจของตนเองให้ดี
พบว่าปัญหาการทำร้ายผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นในหลายครอบครัว ตั้งแต่การทำร้ายด้วยการทุบตี ทำร้ายด้วยวาจา กีดกัน ไล่ ด่าทอ ไม่ดูแล และทอดทิ้ง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ผู้ดูแลไม่ได้ตั้งใจ ไม่อยากให้เกิดขึ้น และเมื่อทำลงไปแล้วก็รู้สึกผิดจิตตกเป็นเวลานาน
เพราะฉะนั้นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ดูแล นั่นก็คือ การดูแลกายใจของตนเองให้ดี
ทำอย่างไรจึงจะหยุดก่อนเบรคแตก
1. เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มโกรธให้เลี่ยงไปจากสถานการณ์นั้นสักครู่ค่อยกลับมาใหม่
2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของสมองเสื่อม เน้นการเรียนรู้วิธีการรับมือและการแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาเมื่อพบทางแก้อาจจดบันทึกไว้กลับมาทบทวน
3. การขัดใจผู้ป่วยเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการทะเลาะกับผู้ป่วย เลี่ยงการปะทะ ใช้วิธีเบี่ยงเบน ให้หันมาสนใจสิ่งอื่นก่อน
4. จัดหาหรือเตรียมสิ่งที่ผู้ป่วยชอบไว้ มีประโยชน์ในการชักชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น
5. ลดภาระของตนเอง ด้วยการดูแลกิจวัตรต่าง ๆ เป็นเวลาแต่ยืดหยุ่นได้ ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน เล่นเกม ออกกำลังกาย ไปเดินเล่น ชวนทำงานบ้านง่าย ๆ ที่ผู้ป่วยสามารถทำได้
6. หาเวลาพักในแต่ละวัน ถ้าโอกาสพักยาวมีน้อย แบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ ในช่วงที่ผู้ป่วยสงบหรือนอนกลางวัน หรือทำกิจกรรมผ่อนคลาย ที่ไม่ต้องใช้เวลามากนัก
7. ถ้าเป็นผู้ดูแลเต็มเวลา ครอบครัวทำความเข้าใจร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนให้ผู้ดูแลหลักได้มีเวลาพักจากความเครียดความเหนื่อยล้าบ้าง
8. ผู้ดูแลคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มสนับสนุน ชุมชน จ้างผู้ช่วยดูแล หรือผู้ช่วยทำงานอื่น เช่น ดูแลบ้าน ซื้อของ ฯลฯ
9. สำหรับผู้ดูแลทุกท่าน อย่าอยู่กับปัญหาคนเดียว ปรึกษาหารือขอความช่วยเหลือ จากคนในครอบครัว เพื่อน แพทย์ พยาบาล ชุมชน หรือเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ดูแล ประสบการณ์จากผู้ดูแลท่านอื่นและการให้กำลังใจกันและกันเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลอย่างยิ่ง
1. เมื่อรู้ตัวว่าเริ่มโกรธให้เลี่ยงไปจากสถานการณ์นั้นสักครู่ค่อยกลับมาใหม่
2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของสมองเสื่อม เน้นการเรียนรู้วิธีการรับมือและการแก้ปัญหา ปรับเปลี่ยนวิธีแก้ปัญหาเมื่อพบทางแก้อาจจดบันทึกไว้กลับมาทบทวน
3. การขัดใจผู้ป่วยเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญของการทะเลาะกับผู้ป่วย เลี่ยงการปะทะ ใช้วิธีเบี่ยงเบน ให้หันมาสนใจสิ่งอื่นก่อน
4. จัดหาหรือเตรียมสิ่งที่ผู้ป่วยชอบไว้ มีประโยชน์ในการชักชวนผู้ป่วยทำกิจกรรมได้ง่ายขึ้น
5. ลดภาระของตนเอง ด้วยการดูแลกิจวัตรต่าง ๆ เป็นเวลาแต่ยืดหยุ่นได้ ทำกิจกรรมบางอย่างร่วมกัน เล่นเกม ออกกำลังกาย ไปเดินเล่น ชวนทำงานบ้านง่าย ๆ ที่ผู้ป่วยสามารถทำได้
6. หาเวลาพักในแต่ละวัน ถ้าโอกาสพักยาวมีน้อย แบ่งเป็นช่วงสั้น ๆ ในช่วงที่ผู้ป่วยสงบหรือนอนกลางวัน หรือทำกิจกรรมผ่อนคลาย ที่ไม่ต้องใช้เวลามากนัก
7. ถ้าเป็นผู้ดูแลเต็มเวลา ครอบครัวทำความเข้าใจร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนให้ผู้ดูแลหลักได้มีเวลาพักจากความเครียดความเหนื่อยล้าบ้าง
8. ผู้ดูแลคนเดียว ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มสนับสนุน ชุมชน จ้างผู้ช่วยดูแล หรือผู้ช่วยทำงานอื่น เช่น ดูแลบ้าน ซื้อของ ฯลฯ
9. สำหรับผู้ดูแลทุกท่าน อย่าอยู่กับปัญหาคนเดียว ปรึกษาหารือขอความช่วยเหลือ จากคนในครอบครัว เพื่อน แพทย์ พยาบาล ชุมชน หรือเข้าร่วมกลุ่มแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ดูแล ประสบการณ์จากผู้ดูแลท่านอื่นและการให้กำลังใจกันและกันเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลอย่างยิ่ง