วิธีผ่อนคลายจิตใจ

วิธีผ่อนคลายจิตใจ
ผู้ดูแลมีโอกาสเครียดสูงเพราะเหนื่อยทั้งกายใจ ดูแลกลางวันแล้วกลางคืนยังอดนอนเพราะผู้มีภาวะสมองเสื่อมตื่น หรือมีอาการป่วน ต้องดูแลตามลำพังไม่มีคนมาผลัดเปลี่ยน กังวลเรื่องการเงิน

เทคนิคช่วยผ่อนคลาย

– ทำสมาธิวันละ 5-10 นาที
– ฝึกหายใจเข้าออกช้า ๆ ลึก ๆ
– ฝึกเกร็งและคลายกล้ามเนื้อแต่ละส่วน
– ฟังเพลง
– นวด
– ทำสมาธิ
– อ่านหนังสือธรรมะ หรือหนังสือที่ชอบ
– ทำงานอดิเรกที่ชอบ
– ดูโทรทัศน์
– ระบายความรู้สึกกับคนใกล้ชิด
– หาคนผลัดเปลี่ยนอาจหยุดพักสัก 2-3 วัน
เคล็ดลับกำจัดเครียด
เคล็ดลับกำจัดเครียด

เคล็ดลับกำจัดเครียด

– ครอบครัวช่วยกัน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การเงิน มีผู้ดูแลหลัก ผลัดกันดูแล
– ออกกำลังกาย ช่วยลดฮอร์โมนความความเครียดได้ดี เวลาน้อยให้ออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เดิน ขี่จักรยาน เต้นรำ เต้นแอโรบิค โยคะ ไทเก็ก
– บริหารเวลา ช่วยให้การดูแลง่ายขึ้น มีเวลาว่างมากขึ้น เหนื่อยน้อยลง เช่น ทำตารางเวลาสิ่งที่ต้องทำ นัดหมาย ซื้อของ กำหนดกิจวัตรผู้ป่วยเป็นเวลา ทำอาหารเผื่อไว้หลายมื้อ จัดเก็บข้าวของเป็นระเบียบ
– หาเวลาให้ตัวเอง เมื่อว่างอย่ารู้สึกผิด ให้พักผ่อน นอน ทำสิ่งที่ชอบ ออกกำลังกาย
– หาความรู้ เกี่ยวกับโรค อาการของโรค การดูแล และการดูแลตัวเองของผู้ดูแล เมื่อเข้าใจจะรู้วิธีจัดการและยอมรับผู้ป่วยมากขึ้น
– หาที่ปรึกษา แพทย์ โรงพยาบาล หน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ
– รวมกลุ่ม เข้าสมาคม ชมรมผู้ดูแลด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ เป็นกำลังใจกัน
– หายใจก็ผ่อนคลายแล้ว ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที

ขั้นตอน

- นั่งหรือยืนหลังตรง วางเท้าราบกับพื้น
- เริ่มต้นหายใจแบบที่เคยทำปกติ
- เพ่งความสนใจอยู่ที่การหารใจ
- วางมือบนหน้าท้องรับรู้ถึงการหายใจเข้าออก
- หายใจเข้าให้ท้องป่องออก
- หายใจออกทางปาก ให้หน้าท้องยุบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ทำ 2-3 ครั้ง
* วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับบางคนที่ทำแล้วอึดอัดไม่สบายตัว
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ค่อย ๆ เกร็งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนให้ตึงที่สุด 5 วินาทีและค่อย ๆ คลายออกให้มากที่สุดเริ่มจากมือ กำให้แน่นมากขึ้นทีละน้อย แล้วค่อย ๆ คลาย ทำ 3 รอบ
แขน ยืดแขนไปข้างหน้าทั้งสองข้าง กำมือ เกร็งให้มากที่สุด นับ 1-5 แล้วคลาย ทำ 3 รอบ
คิ้ว เลิกคิ้วให้สูงที่สุด นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
ตา หลับตาแน่น ๆ นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
จมูก โยกจมูก นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
ขากรรไกร ขบฟันให้แน่น นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
ลิ้น ลิ้นดันเพดานปากให้แน่นที่สุด ค่อย ๆ คลายออก นับ 1-5 ทำ 3 รอบ
ปาก เม้มปากให้แน่น นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
คอ ก้มให้มากที่สุด นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ - เงยหน้ามากที่สุด นับ -5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
ไหล่และหลัง ยกไหล่ให้สูงที่สุดพร้อมเกร็งกล้ามเนื้อหลัง นับ-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
หน้าท้องและก้น เกร็งหน้าท้องพร้อมขมิบก้น นับ-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ
ขาและเท้า นั่งเก้าอี้ยกขาสองข้างขึ้นและกระดกปลายเท้าขึ้น นับ 1-5 ค่อย ๆ คลายออก ทำ 3 รอบ

เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยคนเดียวทำยังไงดี

– หากิจกรรมที่ทำไปพร้อมกับการดูแลผู้ป่วย
– รวมกลุ่มแลกเปลี่ยนผู้ดูแลอื่น ๆ โรงพยาบาลบางแห่งมีกลุ่มผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม หน่วยเยี่ยมบ้าน ไม่ให้ความสนใจกับปัญหามากเกินไป คิดว่าเดี๋ยวก็หมดวันแล้ว
– ทำกิจกรรมผ่อนคลาย งีบหลับตอนผู้ป่วยหลับ
ผู้ดูแลได้พักผ่อนพอเพียง จิตใจสบายอารมณ์จะดีขึ้น รับมือกับการดูแลได้ดีกว่า อดทน เข้าใจ และปฏิบัติกับผู้ป่วยอย่างอ่อนโยนมากขึ้น ปัญหาต่าง ๆ ลดน้อยลง
10 สัญญานเตือนผู้ดูแลเครียด
ผู้ดูแลมีโอกาสเครียดสูง ลองมาสำรวจสัญญานเตือน ที่จะบอกว่าผู้ดูแลเครียดมากแล้วหรือยัง
ป้องกันการบาดเจ็บจากการดูแล
ระหว่างการดูแล ผู้ดูแลอาจต้องพยุง ประคอง หรือยกตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อม ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
มาลองลดน้ำหนักกันดูอีกสักครั้งไหม
ใครเคยลดน้ำหนักแล้วไม่ได้ผลบ้าง อย่าเพิ่งท้อใจ มาลองกันใหม่ ...
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เคลื่อนไหวลำบาก ต้องการการดูแล ...
การสังเกตภาษากายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ดูแลด้วยความเคารพ ให้เกียรติ อ่อนโยน มีเมตตา รักและเข้าใจ ...
อาการของโรคซึมเศร้า
สังเกตอาการของโรคซึมเศร้าได้จากปัญหาการกินการนอน ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.