ป้องกันการบาดเจ็บจากการดูแล

ระหว่างการดูแล ผู้ดูแลอาจต้องพยุง ประคอง หรือยกตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะในระยะอาการที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมช่วยเหลือตัวเองได้น้อย อาจเกิดการบาดเจ็บ หรือเกิดอาการปวดหลัง ไหล่ บ่า คอ แขน ข้อมือ จึงควรเพิ่มความระมัดระวัง
การป้องกันอาการปวด/บาดเจ็บจากการดูแลผู้ป่วย
การป้องกันอาการปวด/บาดเจ็บจากการดูแลผู้ป่วย

ข้อแนะนำ

1. ตอนยกตัวหรือพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อม

แขม่วท้อง หลังตรง ควรงอเข่าแทนการก้มตัวมาก ๆ ก้าวเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้า ก้มเล็กน้อยคล้ายการยกของหนัก

2. เตียงที่ปรับความสูงได้

ก่อนพยุงตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อม ปรับความสูงของเตียงให้อยู่ระดับเดียวกับลิ้นปี่ของผู้ดูแล จะได้ไม่ต้องก้มมาก พลิกตะแคงตัวให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอยู่ใกล้ตัวผู้ดูแลจะได้ไม่ต้องเอื้อมมาก ป้องกันการเกิดอาการปวดต่าง ๆ

3. เตรียมพร้อมก่อนพยุง

ผู้ดูแลยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อน จัดท่าให้พร้อม เอาตัวชิดเตียงก่อนพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อม

4. ออกกำลังกาย

ยืดกล้ามเนื้อหลัง ไหล่ แขม่วท้อง ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้อง และหลังเป็นประจำ

5. ฝึกผู้มีภาวะสมองเสื่อมเดิน

ดูสภาวะอาการผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นหลัก ถ้ายังพอจำได้ ฝึกให้เดิน เพื่อช่วยผ่อนแรงไม่ทิ้งน้ำหนักตัวทั้งหมดที่ผู้ดูแล

6. ตอนช่วยพยุงเดิน

อย่าอยู่ท่าเดียวนาน ๆ เปลี่ยนมือสลับ หรือเปลี่ยนข้างพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อม
วิธีผ่อนคลายจิตใจ
ผู้ดูแลได้พักผ่อนพอเพียง จิตใจสบาย อารมณ์จะดีขึ้น รับมือกับการดูแลได้ดีกว่า อดทน เข้าใจ ...
จากผู้ดูแลถึงผู้ดูแล
ข้อแนะนำการดูแลรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมในมุมมองของผู้ดูแล
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ด้วยรักและเข้าใจ
พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือสามีภรรยา ...
การสระผมผู้ป่วยบนเตียง
การสระผมเป็นการขจัดสิ่งสกปรกบริเวณหนังศีรษะ ลดเหงื่อและสิ่งสกปรก ...
หวานไปก็อ่อนหวานได้
ถ้าเราเป็นเบาหวานแล้ว ไม่ต้องกลัว ต้องดูแลรูปร่างไม่ให้อ้วน ...
ระบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดเป็น “สังคมเพื่อคนทุกวัย” และให้ผู้สูงอายุที่แข็งแรง ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.