ชวนหนูๆ ดูแลปู่ย่าตายาย
ช่วยสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว และเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้พร้อมยื่นมือช่วยเหลือผู้มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมต่อไป ความน่ารักของเด็กๆ ยังช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสดชื่นแจ่มใส อารมณ์ดีขึ้น
การสร้างสังคมเป็นมิตรกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมเริ่มต้นได้ตั้งแต่ในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ สามารถสอนลูกหลานของเรา ให้เรียนรู้เรื่องการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจโอบอ้อมอารีได้จากการเป็นผู้ช่วยตัวเล็ก คอยดูแลคุณตาคุณยาย
นอกจากนี้ยังช่วยสร้างความรักความผูกพันในครอบครัว และเป็นการปลูกฝังคนรุ่นใหม่ให้พร้อมยื่นมือช่วยเหลือผู้มีภาวะสมองเสื่อมในสังคมต่อไป ความน่ารักของเด็ก ๆ ยังช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสดชื่นแจ่มใส อารมณ์ดีขึ้น
ศูนย์ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมหลายแห่งในต่างประเทศ จัดให้เด็กเล็ก มีโอกาสเยี่ยมเยียนและทำกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากการใช้เวลาร่วมกับเด็กๆ ช่วยปรับอารมณ์และช่วยเยียวยาจิตใจให้กับผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้
ประเมินอย่างไรว่าลูกช่วยได้
1. ผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังรู้เรื่อง ไม่มีพฤติกรรมป่วน โมโหง่าย หรือหวาดระแวง
2. เด็กโตพอเข้าใจเมื่ออธิบายถึงภาวะสมองเสื่อม และทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้
3. ดูลูกว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ค่อนข้างสงบ ไม่ใช่เด็กซนอยู่ไม่สุข หรือเอะอะเสียงดัง
1. ผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังรู้เรื่อง ไม่มีพฤติกรรมป่วน โมโหง่าย หรือหวาดระแวง
2. เด็กโตพอเข้าใจเมื่ออธิบายถึงภาวะสมองเสื่อม และทำตามคำแนะนำของพ่อแม่ได้
3. ดูลูกว่าเป็นเด็กเรียบร้อย ค่อนข้างสงบ ไม่ใช่เด็กซนอยู่ไม่สุข หรือเอะอะเสียงดัง
เด็กๆ ช่วยได้อย่างไร
อ่านหนังสือ หากหลานๆ ช่วยอ่านเรื่องราวที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสนใจจะช่วยกระตุ้นสมองเตือนความจำ หรือผู้ป่วยที่ยังสามารถอ่านหนังสือได้ อ่านนิทานให้หลานฟัง
ใช้เสียงดนตรี การฟังเพลง ร้องเพลงด้วยกัน หรือเต้นไปตามจังหวะเพลง ช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีความสุขสนุกสนาน อารมณ์ดีมีความสุข
เล่นเกมด้วยกัน หาเกมง่ายๆ ที่ผู้ป่วยและเด็กชอบ ให้ลูกชวนคุณตาคุณยายเล่น
ทำงานศิลปะ เลือกงานศิลปะที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเคยชอบทำมาก่อน หรือตามความสนใจในขณะนี้
ชวนดูภาพถ่าย การชวนดูภาพถ่าย ช่วยกระตุ้นความทรงจำ ช่วยให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีเมื่อนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขและอยากพูดคุยมากขึ้น อารมณ์ดีขึ้น
เป็นผู้ช่วยพ่อแม่ ช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น ช่วยนำผลไม้ไปให้ ช่วยจัดโต๊ะอาหาร ช่วยห่มผ้า ฯลฯ
อ่านหนังสือ หากหลานๆ ช่วยอ่านเรื่องราวที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมสนใจจะช่วยกระตุ้นสมองเตือนความจำ หรือผู้ป่วยที่ยังสามารถอ่านหนังสือได้ อ่านนิทานให้หลานฟัง
ใช้เสียงดนตรี การฟังเพลง ร้องเพลงด้วยกัน หรือเต้นไปตามจังหวะเพลง ช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีความสุขสนุกสนาน อารมณ์ดีมีความสุข
เล่นเกมด้วยกัน หาเกมง่ายๆ ที่ผู้ป่วยและเด็กชอบ ให้ลูกชวนคุณตาคุณยายเล่น
ทำงานศิลปะ เลือกงานศิลปะที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเคยชอบทำมาก่อน หรือตามความสนใจในขณะนี้
ชวนดูภาพถ่าย การชวนดูภาพถ่าย ช่วยกระตุ้นความทรงจำ ช่วยให้ผู้ป่วยอารมณ์ดีเมื่อนึกถึงช่วงเวลาแห่งความสุขและอยากพูดคุยมากขึ้น อารมณ์ดีขึ้น
เป็นผู้ช่วยพ่อแม่ ช่วยงานเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น ช่วยนำผลไม้ไปให้ ช่วยจัดโต๊ะอาหาร ช่วยห่มผ้า ฯลฯ
ข้อแนะนำสำหรับพ่อแม่
1. ชวนลูกเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของคุณตาคุณยาย
2. อย่าปล่อยให้ลูกดูแลเพียงลำพัง ถึงแม้จะเข้ากับผู้ป่วยได้ดี พ่อแม่ควรดูแลอยู่ใกล้ๆ
3. ไม่ควรให้ลูกใช้เวลาทั้งหมดกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรให้เด็กได้ใช้เวลาว่างของตัวเอง เรียนหนังสือ หรือเล่นกับเด็กคนอื่น
4. ปฏิบัติต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมด้วยความอ่อนโยน เอาใจใส่ เป็นต้นแบบที่ดีของลูก
5. ชื่นชมลูกเมื่อช่วยดูแลคุณตาคุณยาย
1. ชวนลูกเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมของคุณตาคุณยาย
2. อย่าปล่อยให้ลูกดูแลเพียงลำพัง ถึงแม้จะเข้ากับผู้ป่วยได้ดี พ่อแม่ควรดูแลอยู่ใกล้ๆ
3. ไม่ควรให้ลูกใช้เวลาทั้งหมดกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรให้เด็กได้ใช้เวลาว่างของตัวเอง เรียนหนังสือ หรือเล่นกับเด็กคนอื่น
4. ปฏิบัติต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมด้วยความอ่อนโยน เอาใจใส่ เป็นต้นแบบที่ดีของลูก
5. ชื่นชมลูกเมื่อช่วยดูแลคุณตาคุณยาย
บทความที่เกี่ยวข้อง