ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีอนามัยช่องปากที่ดี
การดูแลผู้สูงอายุให้มีอนามัยช่องปากที่ดี มีส่วนช่วยในการดูแลสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุให้แข็งแรง
เลือกรับประทานอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาการหวานเหนียว ติดฟัน เพราะทำความสะอาดยาก
- หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งกรอบ ที่ทำให้ฟันแตกหักได้
- ควบคุมรักษาระบบทางเดินอาหารให้ดีอยู่เสมอ
- พบทันตแพทย์สม่ำเสมอ
การทำความสะอาดช่องปากในผู้สูงอายุ ที่ความสามารถในการดูแลตัวเองลดลง
1. กรณีนี้จำเป็นต้องมีทีมผู้ช่วยเหลือ เช่น ลูก-หลาน ในครอบครัว ผู้ดูแล ช่วยทำให้
2. ความสามารถในการใช้มือลดลง ดังนั้น ต้องเลือกแปรงสีฟันที่ช่วยให้จับได้ถนัดมือ
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฟูลออไรด์ เพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุสู่ผิวฟัน
4. หากผู้สูงอายุปฏิเสธการอ้าปาก ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยอ้าปาก
5. หากผู้สูงอายุกัดแปรงสีฟัน ไม่ยอมบ้วนปาก ไม่เข้าใจคำอธิบาย ให้ใช้คำที่สั้น และง่าย
6. ทำความสะอาดช่องปากในสถานที่และเวลาเดิมทุกวันเพื่อให้เกิดความเคยชิน และไม่ต่อต้าน
7. พึงระลึกไว้เสมอว่า น้ำเสียง สีหน้า ภาษากาย สัมผัส ของผู้ดูแล/ญาติ มีผลต่อความร็สึกของผู้สูงอายุ ควรแสดงออกด้วยความอ่อนโยน และนุ่มนวลอยู่เสมอ
1. กรณีนี้จำเป็นต้องมีทีมผู้ช่วยเหลือ เช่น ลูก-หลาน ในครอบครัว ผู้ดูแล ช่วยทำให้
2. ความสามารถในการใช้มือลดลง ดังนั้น ต้องเลือกแปรงสีฟันที่ช่วยให้จับได้ถนัดมือ
3. ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฟูลออไรด์ เพิ่มการคืนกลับแร่ธาตุสู่ผิวฟัน
4. หากผู้สูงอายุปฏิเสธการอ้าปาก ให้ใช้อุปกรณ์ช่วยอ้าปาก
5. หากผู้สูงอายุกัดแปรงสีฟัน ไม่ยอมบ้วนปาก ไม่เข้าใจคำอธิบาย ให้ใช้คำที่สั้น และง่าย
6. ทำความสะอาดช่องปากในสถานที่และเวลาเดิมทุกวันเพื่อให้เกิดความเคยชิน และไม่ต่อต้าน
7. พึงระลึกไว้เสมอว่า น้ำเสียง สีหน้า ภาษากาย สัมผัส ของผู้ดูแล/ญาติ มีผลต่อความร็สึกของผู้สูงอายุ ควรแสดงออกด้วยความอ่อนโยน และนุ่มนวลอยู่เสมอ
เรียบเรียงจากหนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : ทพญ.นันทนา ศรีอุดมพร
งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เขียน : ทพญ.นันทนา ศรีอุดมพร
งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่เกี่ยวข้อง
ฟันดี..มีสุข
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลต่อสุขภาพร่างกาย เนื่องจากวัยนี้ภูมิต้านทานลดต่ำลง ...