สุขอนามัยส่วนบุคคล

การดูแลสุขอนามัย
การดูแลสุขอนามัย

การดูแลสุขอนามัย

เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีสุขอนามัยที่ดี จะช่วยป้องกันปัญหาแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจตามมาได้
ควรดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย และสิ่งแวดล้อมรอบตัว

ผม - สระผมสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ใช้แชมพูเด็ก บางรายอาจไม่ชอบสระผม ถ้ายังพอรู้เรื่องอาจพาไปร้าน ตัดสั้นดีสุด ย้อมทำสีผมได้
ผิวหนัง - ถ้าอาบน้ำไม่ได้ให้เช็ดตัว เน้นความสะอาดจุดอับชื้นและข้อพับ ดูว่ามีแผล ตุ่ม ผดผื่นไหม ทาครีมกันผิวแห้ง
ช่องปาก - พาไปทำฟันตอนภาวะสมองเสื่อมยังอยู่ในระยะแรก ดูฟันโยก ฟันผุ ฟันปลอม และปัญหาในช่องปากแต่เนิ่น ๆ
ก้น – สังเกตว่าคันรอบก้นไหม รอตอนหลับ ให้นอนตะแคง แอบดูว่ามีริดสีดวง หรือแผลจากนั่งนาน ๆ หรือเปล่า
มือและเท้า- ตัดเล็บสั้น ทาเล็บได้ถ้าชอบ เน้นล้างมือก่อนกินข้าวและหลังขับถ่าย ยิ่งช่วงโควิด หยิบจับอะไรให้ล้างมือบ่อย ๆ
เสื้อผ้า- เลือกแบบสวมใส่สบาย ใส่-ถอดง่าย ใช้ตีนตุ๊กแกแทนกระดุม เสื้อผ่าหน้า กางเกงยางยืด เตือนให้ผลัดเปลี่ยนเสื้อผ้า
สิ่งแวดล้อม - ทำความสะอาดห้องนอนและของที่ใช้ประจำ ดูบริเวณที่อยู่ไม่ให้มีสัตว์ร้าย มด แมลง หรือมีเชื้อรา
 

การดูแลช่วยเหลือให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมทำกิจวัตรประจำวันได้ราบรื่น สม่ำเสมอ

อาบน้ำ

วันละ 2 ครั้ง เวลาเดิม ให้เคยชิน วางอุปกรณ์ไว้เท่าที่จำเป็น
จำขั้นตอนไม่ได้ >> คอยกำกับ แนะนำ ว่าต้องทำยังไง ช่วยเหลือตามเหมาะสม
อาย >> ระหว่างอาบน้ำ ให้ผู้ชายสวมกางเกงขาสั้น ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง
ไม่ยอมอาบน้ำ >> อาจกลัว ให้หาสาเหตุแล้วแก้ไข เช่น กลัวเงาในกระจกก็ให้ถอดกระจกในห้องน้ำออกไป ชักชวนให้อยากอาบน้ำด้วยสิ่งที่ชอบ เช่น ขนม รูปภาพ ตุ๊กตา ผ้าขนหนูผืนโปรด ฯลฯ
อาบไม่สะอาด >> ช่วยถูสบู่และล้างให้เกลี้ยง เช็ดตัวให้แห้ง เน้นผิวตรงรอยพับหรือย่น กันมีแผลเปื่อยและเชื้อรา

แปรงฟัน

แปรงฟันและลิ้นวันละ 2 ครั้ง เป็นประจำ เช้า-เย็น ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรต์

ขับถ่าย

กำหนดเวลาพาไปห้องน้ำ แม้ยังไม่ปวด เช่น ปัสสาวะทุก 3-4 ชั่วโมง หรืออุจจาระทุก 1-2 วัน ดูแลทำความสะอาดหลังปัสสาวะหรืออุจจาระทุกครั้ง ซับให้แห้ง ไม่ต้องโรยแป้ง
บอกไม่ได้ >> สังเกต เช่น ลุกลี้ลุกลน คอยจับหรือดึงกางเกงบ่อย ๆ จับหน้าท้องดูแล้วแข็ง ควรพาเข้าห้องน้ำ
เคลื่อนไหวลำบาก >> หาเก้าอี้นั่งถ่ายไว้ใกล้เตียง หรือใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูปตอนกลางคืน
ท้องผูก >> คลำท้องดู หากหน้าท้องแข็งเป็นลำของอุจจาระ ควรให้ยาระบาย หรือสวนก้น
ให้ดื่มน้ำวันละประมาณ 1,500 ซีซี ถ้าแพทย์ไม่จำกัดน้ำ กินอาหารที่มีกากใยสูง เคลื่อนไหวร่างกาย หรือช่วยนวดท้องเพื่อป้องกันท้องผูก
6 ข้อควรระวังหนาวนี้
หน้าหนาวควรระวังสุขภาพของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นพิเศษ ...
อาหารการกินเพื่อสุขภาพ
ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่กินดีอยู่ดี กินได้ กินอิ่ม กินอร่อย กินแล้วมีแรง ไม่ซีด ไม่ล้ม ลืมช้าลง
บทความอื่นที่น่าสนใจ
แนะนำสถานที่ให้คำปรึกษา
เมื่อเกิดปัญหาด้านกฏหมาย/สิทธิ/สวัสดิการ เราปรึกษาหน่วยงานไหนได้บ้าง
เป็นโรคก็ออกกำลังกายได้
การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นยาที่ดีที่สุด ...
ฉลองตรุษจีนแบบสุขภาพดี หนีสมองเสื่อม (และปัญหาหลอดเลือด)
เทศกาลตรุษจีนเป็นวันที่ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ...
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เคลื่อนไหวลำบาก ต้องการการดูแล ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.