การจัดยา

การจัดยาในแต่ละวันใส่กล่อง จะลดการที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อม กินยาผิดหรือกินยาเกินขนาดได้ จัดสำหรับก่อน/หลังอาหาร มือเช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน นอกจากนี้ควรทราบว่า ยาใดไม่ควรบด ยาใดควรกินพร้อมมื้ออาหาร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยา

1. ลักษณะของยาเม็ดทั่ว ๆ ไปที่ขายในบ้านเรามี 4 แบบคือ
  - ยาที่จะทนแสงและความชื้นพอได้ อยู่ในขวดหรือแผงพลาสติก
  - ยาที่ทนแสงได้ แต่ไม่ชอบความชื้น อยู่ในแผงฟอยล์ และ พลาสติกใส
  - ยาที่ไม่ชอบแสง แต่ทนความชื้นพอได้ อยู่ในขวดหรือแผงสีชา
  - ยาที่ไม่ชอบทั้งแสงและความชื้น อยู่ในแผงฟอยล์และพลาสติกมิดชิด
2. ยาทั่วไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ อุณหภูมิห้องคือในห้องประมาณ 28 องศา ไม่ใช่ห้องตากแดดทั้งวัน เก็บในที่ไม่โดนแสงสว่าง ไม่วางไว้บนหลังตู้เย็น
3. ยาไม่ได้บอกว่าต้องเก็บในที่เย็น ไม่ต้องใส่ตู้เย็น สำหรับยาที่ต้องเก็บในตู้เย็นเอาไว้กลางๆ ตู้เย็น (2-8 องศา)
4. อย่าเก็บยาไว้กับของที่กินไม่ได้ ยาคล้ายกันต้องแยกให้ชัดเจนป้องกันอันตรายการจากการหยิบผิด
5. ยาน้ำที่เปิดขวดแล้ว เช่น ยาฆ่าเชื้อที่ต้องผสมน้ำก่อนใช้ ยาหยอดตา และ ยาฉีดอินซูลินชนิดปากกาที่ไม่ต้องแช่ตู้เย็น มีอายุ 28 วัน ยาใช้ภายนอก       มีอายุ 1 ปี
6. ปริมาตรการตวงยา 5 ซีซี = 1 ช้อนชา; 15 ซีซี = 1 ช้อนโต๊ะ

แนวทางจัดการเรื่องยาให้กับผู้ป่วย


1. แบบที่เหมาะสมที่สุด อยู่ที่การใช้ชีวิต ความสามารถในการดูแลตัวเองของแต่ละคน ให้ได้ยาครบและผู้ดูแลไม่ลำบากเกินไป เช่น
  - ผู้ดูแลจัดให้ ดูว่าผู้ป่วยได้กิน อาจจะจัดยาตามมื้อ โดยไม่ต้องจัดใส่กล่องก่อนก็ได้
  - ผู้ป่วยพอรู้เรื่องแต่ผู้ดูแลไปทำงานไม่มีเวลา จัดใส่ซอง หรือกล่องเป็น ยาประจำมื้อ เขียนวันและเวลากินไว้หน้าซองให้ชัดเจน เรียงเป็นวัน ๆ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน (ก่อน/หลังอาหาร)
  - อย่าจัดยานานเกินไป เช่น จัดไว้ทั้งเดือน
2. ยาที่อยู่ในแผงฟลอย อย่าแกะจากฟลอย ให้แกะก่อนกิน ไม่เกิน 1 วัน
3. ตรวจสอบว่ากินตรงกับที่แพทย์สั่ง ทั้งขนาดและวิธีกินหรือใช้
4. หากมีช่วงเวลาที่ไม่สะดวกให้ยา เช่น กลางวันไม่มีคนดูแล ไม่มีคนให้ยา ให้แจ้งแพทย์เพื่อจะได้เลือกยาที่เหมาะสม
5. รายงานผลข้างเคียง ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้ไม่อยากกินยา เช่น กินแล้วคลื่นไส้ แพทย์จะได้ปรับเปลี่ยนเป็นยาอื่นแทน
6. ยาของใครของมัน ตามอาการและร่างกายของแต่คน แบ่งกัน แลกกัน แจกกันกินไม่ได้

การเตือนการกินยา

- ตั้งเวลาใน มือถือ
- ทำสมุดบันทึกรายการยา

ถ้ากลืนยาทั้งเม็ดไม่ได้ทำอย่างไร

- ยาน้ำดีสุด แต่ความข้นหนืดอาจจะทำให้เกิดท้องอืด ท้องเสียหรือไปจับตัวกับ อาหารในสายยางทำให้อุดตัน ให้เจือจางก่อน เล็กน้อยด้วยน้ำ ประมาณ 10 ซีซี- ยาเม็ดที่บดได้ ใช่โกร่งบด (หรือที่ถนัด) บดให้ละเอียดแล้วผสมน้ำ 10-15 ซีซี
- ยาแคปซูลเจลาตินแข็ง เปิดแคปซูลเอาผงออกมาละลายน้ำ 10-15 ซีซี
- ยาแคปซูลเจลาตินนิ่ม เอาเข็มเจาะ แล้ว บีบเอายาข้างในออกมา ผสมน้ำ 10-15 ซีซี
- ยาผง ละลายน้ำ 15-30 ซีซี คนให้ละลายแล้วรีบให้เพราะยาจะพองตัวแล้วหนืด และ ต้องกินห่างยาจากอื่นประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ยาอื่นไม่ดูดซึม

กรณีให้อาหารทางสายยาง

- ก่อนให้ยา ให้น้ำ 30-60 ซีซี ไล่อาหารที่ตกค้างในสายยาง
- ไม่ผสมยาในอาหารเพราะมีโอกาสเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาและอาหาร หรือการจับตัวทำให้สายอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะไม่ได้รับยาตามขนาดที่แพทย์สั่ง
- เว้นระยะเวลาการให้ยาและ อาหาร 15 นาที ถึง 2 ชั่วโมง

ยาที่ห้ามบด

- ยาเม็ดเคลือบที่ออกแบบมาไม่ให้ระคายเคืองกระเพาะ เช่น Aspirin ชนิดเคลือบ 
- ยาลดการสร้างกรดในกระเพาะอาหารบางชนิด (Omeprazole) ต่าง ๆ
- ยาที่ออกฤทธิช้า ๆ นาน ๆ มักเป็นยาที่มีนามสกุลต่อท้าย เช่น SR CR XR HBS ยาจะแข็งทุบไม่แตก มีรูเล็ก ๆ ข้างหลัง ยาจะค่อยๆ ออกมาจากรูนั้น แล้ว เปลือกยาจะออกมาทางอุจจาระ ตัวอย่าง เช่น Madopar HBS, Diamicrom MR
- ยาที่ไม่มีนามสกุลแต่ ก็บดไม่ได้ มักมาเป็บแคปซูล • Pristiq 50 mg • Cymbalta (30,60 mg) • Invega (3,6,9 mg) • Dilantin Kapseal
- ยาอมใต้ลิ้น ดูดซึมทางหลอดเลือดดำใต้ลิ้น อย่าเคี้ยว
- ยาวางบนลิ้น ละลายในปาก ไม่ลายในมือ เจอน้ำจะแตกตัวง่าย ออกแบบสำหรับคนกลืนลำบากไม่ต้องบด แต่ถ้าผู้ป่วยกลืนได้ ก็กินแบบยาทั่วไปได้ ต้องระวังหากต้องตัดยา เพราะเมื่อโดนความชื้นภายนอก ยาจะสลายอย่างรวดเร็ว
- ยาผงฟู่ ละลายน้ำแล้วกินได้เลย
- ยาเคมีบำบัด มีคุณสมบัติทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำลายเซลดี ๆ ด้วย ดังนั้น คนให้ยาก็ต้องระวัง อย่าสัมผัสสูดดมโดยตรง เพราะจะอันตรายกับผู้ดูแลเอง ต้องบดหรือตัดยาในถุง ไม่ให้ฟุ้งกระจาย ผู้เตรียมต้องใส่ถุงมือ และผ้าปิดปากทุกครั้ง หากจะให้ดี ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกร หรือศึกษาเอกสารกำกับยาก่อนว่า ยาที่ได้รับบดได้หรือไม่

เมื่อลืมกินยา

1. ให้ข้ามมื้อต่อไปเลย ห้ามกินเพิ่มทบต้น
2. ยาที่กินวันละครั้ง ถ้าลืมแล้วนึกได้ภายใน 12 ชม กินได้เลย
3. ถ้าอาเจียน ดูว่ามียาออกมาไหมถ้ามีกินเพิ่มได้ ถ้าไม่แน่ใจ อย่ากินเพิ่ม


ที่มา: สรุปเรื่องการจัดยา จากการอบรมญาติผู้มีภาวะสมองเสื่อม
โดย ภญ กรองทอง พุฒิโภคิน
เมื่อลืมกินยา

1. ให้ข้ามมื้อต่อไปเลย ห้ามกินเพิ่มทบต้น

2. ยาที่กินวันละครั้ง ถ้าลืมแล้วนึกได้ภายใน 12 ชม กินได้เลย

3. ถ้าอาเจียน ดูว่ามียาออกมาไหมถ้ามีกินเพิ่มได้ ถ้าไม่แน่ใจ อย่ากินเพิ่ม

อาการข้างเคียงของยารักษาสมองเสื่อม
ถ้าการรักษาอาการด้านพฤติกรรม อารมณ์และจิตใจโดยไม่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผลดี ...
สมุนไพรช่วยบำบัดอาการสมองเสื่อมได้หรือไม่
มีการกล่าวถึงพืชและสมุนไพรบางชนิดว่าช่วยรักษาอาการสมองเสื่อมได้ แต่ในความเป็นจริง ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
อายุ 65 ปี+ เสี่ยงหกล้ม 28-35% อายุ 70 ปี+ เสี่ยงหกล้ม ...
โซนอันตราย
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะหลงลืม ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ ...
การสังเกตภาษากายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ดูแลด้วยความเคารพ ให้เกียรติ อ่อนโยน มีเมตตา รักและเข้าใจ ...
สูงวัยกล้ามเนื้อหาย อันตรายนะ
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายของเราจะเสียมวลกล้ามเนื้อ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.