โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

คนไข้คนหนึ่งมาโรงพยาบาล พยาบาลบอกว่าหมอไม่ออกตรวจมีการแจ้งทางจดหมายแล้ว คนไข้โวยวายทันทีบอกว่าไม่ได้รับจดหมาย มันเป็นความเครียดที่ต้องตื่นเช้ามาหาหมอเดินทางมาไกล แล้วทำไมเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับเค้า พยาบาลพยายามจะอธิบายคนไข้ก็ไม่ฟัง ถ้ามองเหตุการณ์นี้ คือคนไข้เรื่องเยอะ เมื่อได้มานั่งคุยกัน มันเป็นลักษณะนิสัยของคนไข้อยู่แล้วว่า เมื่อหงุดหงิด อารมณ์จะขึ้นสุด ๆ ปัจจัยนำคือภรรยาเป็นสมองเสื่อม แบบพาร์กินสัน เพิ่งเสียไปได้ไม่นาน ลูกสาวได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย เริ่มทานข้าวไม่ได้ คนไข้ค่อนข้างมั่นใจว่าจะเป็นการนอนโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย ไม่แน่ใจว่าจะมีชีวิตอยู่รอดไปถึงเมื่อไร






ถ้าเราไม่เข้าใจคน ๆ หนึ่ง ดูแต่พฤติกรรมภายนอก จะโกรธมาก ว่าทำไมโวยวาย หงุดหงิด แต่จริง ๆ คนส่วนใหญ่มีที่มาที่ไป ซึ่งหากปรับตัวไม่ได้ จะทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ปัจจัยป้องกันในรายนี้ คือ ลูกสาวอีกคนหนึ่งที่คุยได้ แต่คนไข้ก็ยังไม่สามารถผ่านพ้นภาวะที่เกิดขึ้นตอนนี้ได้ ถ้าปรับตัวไม่ได้มองไม่เห็นทางออก จนอารมณ์ดำดิ่งมาก ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้า


โรคซึมเศร้า 
จะเป็นโรคที่พบบ่อยกว่าในผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยทำงาน มักเป็นเรื้อรังมากกว่าในวัยอื่น ๆ อาการอาจจะไม่ตรงไปตรงมา สังเกตได้ยากกว่าวัยอื่น ผลการรักษาอาจจะไม่ดีเท่าวัยอื่น หากเป็นนาน ๆ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อมตามมาได้
ตัวกระตุ้นความเสี่ยงสูงต่อโรคซึมเศร้า
- สูญเสียคู่ชีวิต
- สูญเสียลูก ญาติ พี่น้อง
- เจ็บป่วยรุนแรง
- เกษียณอายุ
- ลูกแยกครอบครัว

* (ฮอร์โมนคอร์ติซอล = ฮอร์โมนแสดงความเหนื่อยล้าในกระแสเลือด)
เรียบเรียงจาก หนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : ผศ.พญ.ภาพันธ์ ไทยพิสุทธิกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเมื่อเกิดความเครียด
วัยสูงอายุ เป็นวัยของการเปลี่ยนแปลงทั้งทางกายและใจ หากผู้สูงอายุไม่สามารถปรับตัวได้ ...
อาการของโรคซึมเศร้า
สังเกตอาการของโรคซึมเศร้าได้จากปัญหาการกินการนอน อารมณ์เปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้าลง ฯลฯ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ไขมันในเลือดผิดปกติ
ไขมันอุดตันในหลอดเลือดขนาดกลางและใหญ่ มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน
ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ
ถ้าพบว่าคนในครอบครัวเริ่มมีอาการสมองเสื่อม ควรเตรียมตัวเตรียมใจ ...
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
อายุ 65 ปี+ เสี่ยงหกล้ม 28-35% อายุ 70 ปี+ เสี่ยงหกล้ม ...
ฉลองตรุษจีนแบบสุขภาพดี หนีสมองเสื่อม (และปัญหาหลอดเลือด)
เทศกาลตรุษจีนเป็นวันที่ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.