อุปกรณ์การดูแลแผลกดทับ
ประเภทของระดับแผลกดทับ
แผลกดทับระดับที่ 1 ผิวหนังเป็นรอยแดง ยังไม่ฉีกขาด เมื่อใช้นิ้วกดและปล่อยรอยแดงไม่จางหายไปแผลกดทับระดับที่ 2 ลึกถึงชั้นหนังแท้ ผิวสีแดงหรือชมพู ผิวหนังเปิดออก หรือมีตุ่มน้ำใส
แผลกดทับระดับที่ 3 ลึกถึงชั้นไขมัน อาจมองเห็นเนื้อตาย โพรงใต้ขอบแผล ผิวหนังเปิดออก
แผลกดทับระดับที่ 4 มองเห็นกระดูก กล้ามเนื้อ หรือเส้นเอ็น
การดูแลแผลกดทับระดับที่ 1
อุปกรณ์การดูแล แผ่นโพลียูริเทนโฟม ปลาสเตอร์การดูแลแผลกดทับระดับที่ 2 และ 3
อุปกรณ์ทำความสะอาดแผลที่นิยมใช้ดูแลแผลกดทับระดับที่ 2-3แบบที่ 1 ไม้พันสำลีปลอดเชื้อ
ประกอบด้วย ไม้พันสำลีปลอดเชื้อ ผ้าก๊อซปลอดเชื้อ ปลาสเตอร์ กรรไกร น้ำเกลือปลอดเชื้อ (Saline) ถุงขยะ ถุงมือสะอาด (มีหรือไม่มีก็ได้)แบบที่ 2 ชุดทำความสะอาดสำเร็จรูปปลอดเชื้อ
ประกอบด้วย สำลี ผ้าก๊อซ คีมคีบ น้ำเกลือปลอดเชื้อ (Saline) ถาดพลาสติก ถุงมือสะอาด (มีหรือไม่มีก็ได้)การดูแลแผลกดทับระดับที่ 4
อุปกรณ์ทำความสะอาดแผลที่นิยมใช้ดูแลแผลกดทับระดับที่ 4 แนะนำให้ใช้ชุดทำความสะอาดแบบที่ 3 ชุดถาดโลหะเพื่อความสะดวกและประหยัดแบบที่ 1 ไม้พันสำลีปลอดเชื้อ
ประกอบด้วย ไม้พันสำลีปลอดเชื้อ ผ้าก๊อซปลอดเชื้อ ปลาสเตอร์ กรรไกร น้ำเกลือปลอดเชื้อ (Saline) ถุงขยะ ถุงมือสะอาด (มีหรือไม่มีก็ได้)แบบที่ 2 ชุดทำความสะอาดสำเร็จรูปปลอดเชื้อ
ประกอบด้วย สำลี ผ้าก๊อซ คีมคีบ น้ำเกลือปลอดเชื้อ (Saline) ถาดพลาสติก ถุงมือสะอาด (มีหรือไม่มีก็ได้)แบบที่ 3 ชุดถาดโลหะที่สามารถต้มทำความสะอาดได้
ประกอบด้วย ถาด ถ้วย คีมคีบ ถุงมือสะอาด (มีหรือไม่มีก็ได้) น้ำเกลือปลอดเชื้อ (Saline) ผ้าก๊อซ สำลีกรรไกร ปลาสเตอร์ ถุงขยะ*หลังใช้อุปกรณ์แล้ว ล้างชุดขัดโลหะให้สะอาดและต้มในน้ำเดือด 30 นาที ผึ่งให้แห้ง *ถ้าแผลมีความรุนแรง เช่น มีกลิ่น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีอาการไข้ แนะนำให้พามาโรงพยาบาล
บทความที่เกี่ยวข้อง