ข้อควรระวังเมื่อใช้ยาในผู้มีภาวะสมองเสื่อม

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยาในผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ข้อควรระวังเมื่อใช้ยาในผู้มีภาวะสมองเสื่อม 
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนอกจากเป็นผู้ป่วยแล้วส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้สูงอายุด้วย การใช้ยาจึงจำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ
- เมื่ออายุมากขึ้นการตอบสนองต่อยาเปลี่ยนไป 
- วัยสูงอายุร่างกายเสื่อมลง มีโรคแทรก เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง บางท่านอาจเป็นโรคอื่น เช่น พาร์กินสัน หรือได้รับการเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งภาวะต่างๆ เหล่านี้เป็นข้อจำกัดในการเลือกใช้ยา
- ภาวะความจำที่ไม่เท่ากันของผู้ป่วยแต่ละคน มีผลต่อการเลือกใช้ยา จึงควรอยู่ในดุลพินิจของแพทย์  
- ในวัยสูงอายุความสามารถในการกำจัดยาออกจากร่างกายถดถอยลง ยาบางชนิดอยู่ในร่างกายคนวัยผู้ใหญ่ 1 วันร่างกายจึงขับออก แต่อาจอยู่ในร่างกายผู้สูงอายุบางท่านนานถึง 4 วัน 
*ยามักจะสะสมอยู่ในไขมัน ผุ้สูงอายุที่มีไขมันมากยาก็จะสะสมอยู่มากและถูกนำกลับมาสู่ร่างกายใหม่ 
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจไม่สามารถบอกได้ว่ามีอาการอย่างไรเมื่อใช้ยาแล้วรู้สึกอย่างไรบ้าง   
ผู้ดูแลจึงควรสังเกตอาการต่างๆ เหล่านี้ 
เช่น น้ำหนักลด · อาเจียนมาก · ไม่กลืนอาหาร · ไม่นอน · พลุ่งพล่านวุ่นวาย 
ปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลการใช้ยาอย่างเหมาะสม 
ข้อควรระวังเมื่อใช้ยา 
1. ยาที่มีผลต่อการรับรู้และความจำ 
- ยาบางชนิดที่ทำให้สารสื่อประสาท acetylcholine หายไป ควรหลีกเลี่ยง 
- ยาที่ใช้เป็นประจำแล้วเสี่ยงต่อสมองเสื่อม เช่น  ยาแก้แพ้บางชนิดที่กินแล้วง่วง เลือกใช้ชนิดที่กินแล้วไม่ง่วงจะปลอดภัยมากกว่า

2. ยาตีกัน 
การกินยามากกว่า 1 ชนิดอาจมีโอกาสที่ยาตีกันได้ ผู้สูงอายุมักจะมียาประจำตัวหลายชนิด ยาตีกันอาจเกิดจากยาออกฤทธิ์ตรงกันข้ามทำให้ไม่ได้ผล และ ออกฤทธิ์เสริมกันทำให้ฤทธิ์ของยามากเกินไป ส่งผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ 
*ควรบอกกับแพทย์ว่าผู้ป่วยใช้ยาอะไรอยู่บ้าง 

3. ยาและอาหารเสริม 
หากผู้ป่วยกินยาบางชนิด เช่น วาร์ฟาริน (warfarin) ซึ่งเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาแอสไพริน ไม่ควรกินใบแปะก๊วยสกัด กระเทียมสกัด หรือโสม เนื่องจากเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกได้ 
*ก่อนให้ผู้ป่วยกินวิตามินควรปรึกษาแพทย์

4. ผลข้างเคียงของการกินยา 
- ยาบางประเภท เช่น แอนตี้โคลิเนอร์จิก (anticholinergic) กินแล้วอาจทำให้ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูกตาพร่า ปัสสาวะไม่ออก ความจำเสื่อม เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 
- กลุ่มยาแก้แพ้ ยาแก้เวียนศีรษะ ยาแก้อาเจียน ยาแก้เมารถ ยาคลายกล้ามเนื้อ ต้องระวังการพลัดตกหกล้ม
- ยารักษาพาร์กินสันมีผลทำให้สมองเสื่อมได้ 
- ยาบางประเภทกินแล้วมีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูก ซึ่งผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาท้องผูกได้ง่าย 

ประเมินประสิทธิภาพและอาการข้างเคียงอย่างสม่ำเสมอ 
สังเกตอาการเมื่อผู้ป่วยได้รับยา และสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อได้รับยาใหม่ทุกครั้ง คือยานั้นสำหรับรักษาอาการใด มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยเฉพาะอาการข้างเคียงที่เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มและสภาวะจิตใจ
เมื่อมีข้อสงสัยใดๆ ก็ตามควรปรึกษาแพทย์เพื่อการใช้ยาอย่างเหมาะสม 
อ่านเพิ่มเติมเรื่อง การจัดยา ได้ที่นี่
เรีบบเรียงจาก : การอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม โดยสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม หัวข้อ ยากับผู้ป่วยสมองเสื่อม  
ผู้บรรยาย : ภญ.พาขวัญ ปุณณุปูรต และ ภญ.กรองทอง พุฒิโภคิน 
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ผู้สุงอายุต้องเผชิญอะไรบ้าง
ผู้สูงอายุ ...
การประเมินความหนักของการออกกำลังกาย
ออกกำลังกายต้อง “ไม่หักโหม” อยากรู้ว่าหักโหมไปหรือไม่มาทดสอบกัน
โรคสมองเสื่อม
อาการเข้าเกณฑ์โรคสมองเสื่อม คือ ...
ฉลองตรุษจีนแบบสุขภาพดี หนีสมองเสื่อม (และปัญหาหลอดเลือด)
เทศกาลตรุษจีนเป็นวันที่ทุกคนอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.