พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน

พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำๆ วนแล้ววนอีกเพิ่งเล่าจบไปก็เริ่มต้นเล่าเรื่องเดิมใหม่อีกแล้ว หรือถามคำถามเดิมซ้ำหลายรอบทั้งๆ ที่ตอบไปแล้วหลายรอบเช่นกัน ผู้ดูแลหงุดหงิดอดปรี๊ดแตกไม่ได้ แล้วก็ทะเลาะกันใหญ่โต เสียอารมณ์ เสียบรรยากาศ จบจากปรี๊ดใส่กันแล้วผู้ดูแลอาจนึกเสียใจภายหลังว่าไม่น่าเลย  
พูดซ้ำถามซ้ำอาการเริ่มต้น
อายุมากแล้วขี้หลงขี้ลืมเล็กน้อยเป็นธรรมดา แต่เมื่อใดก็ตามหากผู้สูงอายุพูดซ้ำหรือถามซ้ำบ่อยจนรู้สึกผิดปกติ เป็นไปได้ว่าอาการของภาวะสมองเสื่อมในระยะแรกอาจมาเยือนเสียแล้ว จึงควรพาไปตรวจเพื่อหาสาเหตุ หากเริ่มเป็นการรักษาจะช่วยชะลอสมองให้เสื่อมช้าลง
ใจเย็นลงสักนิดพอมีทางแก้ไข
แน่นอนว่าเวลาถูกถามอะไรซ้ำๆ เมื่อเกิดขึ้นหลายครั้งผู้ดูแลมักจะโกรธ ขอให้ใจเย็นลงสักนิด คิดไว้เสมอว่าเป็นอาการป่วยของโรค ทำความเข้าใจ และทำใจของเราให้รับรู้เฉยๆ โดยไม่ใช้อารมณ์ดูบ้าง การที่ผู้ดูแลลดการใช้อารมณ์ จะช่วยให้ผู้ป่วยสงบลงตาม บรรยากาศการอยู่ร่วมกันก็จะดีขึ้น
มีข้อแนะนำ 5 ข้อมาฝาก
1. ถ้าพูดหรือเล่าอะไรซ้ำๆ ให้เออออไป ฟังแล้วตอบรับบ้าง แสดงท่าทางรับรู้บ้าง ไม่ไปขัดว่าเพิ่งเล่าไปเมื่อครู่ เพื่อผู้ป่วยจะได้ไม่โกรธ เนื่องจากจำไม่ได้ว่าเล่าไปแล้ว
2. ถ้าถามซ้ำ ให้ตอบคำถามด้วยประโยคง่ายๆ สั้นๆ เข้าใจง่าย ถามมาก็ตอบไปด้วยน้ำเสียงธรรมดา 
3. ถ้าถามถึงคนที่เสียชีวิตไปแล้ว หรือถามแล้วตอบตามความจริงหรือพยายามอธิบายจะก่อปัญหา ไม่จำเป็นต้องตอบความจริง ตอบในสิ่งที่ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยฟังแล้วสบายใจ ฟังแล้วรู้สึกว่าจบ
4. ถ้าต้องตอบคำถามบ่อยๆ อาจเขียนคำตอบในกระดาษให้อ่านแทนพูด  
5. เบี่ยงเบนความสนใจ ชวนคุยเรื่องอื่น ชวนไปทำในสิ่งที่ชอบ ชวนรับประทานของว่างอาหารจานโปรด หรือเครื่องดื่ม
การปรับตัวและปรับใจจะช่วยคลี่คลายปัญหาง่ายขึ้น ลดการทะเลาะกับผู้ป่วยลง ได้ความสงบสุขกลับคืนมา 

อ่านเพิ่มเติม : ผู้ดูแลอยากจะกรี๊ด
ช่วยด้วย ! ผู้ป่วยด่าหยาบคาย
พฤติกรรมหนึ่งที่สร้างความเครียดให้กับผู้ดูแลนั่นก็คือ ผู้ป่วยอาละวาดด่าว่าหยาบคาย ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
นอนไม่พอเสี่ยงสมองเสื่อม
15 ข้อลดเสี่ยงสมองเสื่อม 21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก
21 กันยายน วันอัลไซเมอร์โลก (World Alzheimer s Day) เว็บไซต์ Caregiverthai.com ...
มาลองลดน้ำหนักกันดูอีกสักครั้งไหม
ใครเคยลดน้ำหนักแล้วไม่ได้ผลบ้าง อย่าเพิ่งท้อใจ มาลองกันใหม่ ...
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
อายุ 65 ปี+ เสี่ยงหกล้ม 28-35% อายุ 70 ปี+ เสี่ยงหกล้ม ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.