การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่น

ได้แก่ โยคะ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ เป็นต้น ความอ่อนตัวจะทำให้การเคลื่อนไหวดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากการหกล้มได้
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ทุกวัน ทุกหนึ่งชั่วโมง สำหรับผู้ที่นั่งทำงานนาน ๆ หรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ ต้องมีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 
สำหรับผู้สูงอายุควรยืดกล้ามเนื้อค้างไว้ 60 วินามีต่อหนึ่งท่า เริ่มต้นเท่าที่ทำได้และค่อยเพิ่มระยะเวลาจนถึงเป้าหมาย ยืดกล้ามเนื้อให้รู้สึกตึงแต่ไม่เจ็บ
ประเภทการยืดเหยียดมี 2 แบบ คือ
1. ยืดเหยียดแบบค้างไว้
2. ยืดเหยียดแบบเคลื่อนที่
สำหรับผู้สูงอายุแนะนำการยืดเหยียดแบบค้างไว้ ทำซ้ำ 2-4 ครั้งในแต่ละมัดกล้ามเนื้อ
เรียบเรียงจาก หนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : นายกฤษณะ นิลสาย และนางสาวจุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์  
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี   
การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ
เป็นการใช้กล้ามเนื้อในการออกแรงโดยมีน้ำหนักภายนอกเป็นแรงต้าน หรือน้ำหนักของตัวเองเป็นแรงต้าน ได้แก่ ...
ออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัว
เช่น โยคะ ไทชิ ฝึกการทรงตัว ฝึกเดินต่อเท้า เป็นต้น เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหกล้ม
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของ
สิทธิประโยชน์ "คนพิการ" ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ...
การเพิ่มสมรรถนะและวิธีการผ่อนคลายร่างกาย
ผู้ดูแลอาจมีความเหนื่อยล้าสะสม เครียดกับอาการผู้มีภาวะสมองเสื่อม ...
โรคความดันโลหิตสูง
โปรดอย่านิ่งนอนใจ !! ความดันโลหิตสูง…หากไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิด ...
การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนอาจมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.