สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของ

สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อม ลงทะเบียน "คนพิการ" เพื่อรับสิทธิประโยชน์บริการสาธารณสุขของรัฐ กับ สปสช. ได้ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ

สิทธิประโยชน์ "คนพิการ" ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม สามารถยื่นขอลงทะเบียนเป็นผู้พิการ หากมีความต้องการและจะได้รับสิทธิหรือ สวัสดิการเหมือนคนพิการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งคุ้มครองสิทธิการรักษาพยาบาลของคนพิการ ครอบคลุมบริการทางการแพทย์ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขของรัฐได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีใบส่งต่อ ดังนี้

บริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์

• การตรวจวินิจฉัยโรค
• การรักษาพยาบาล
• การคลอดบุตร
• บริการทันตกรรม
• บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
โดยสามารถรับบริการได้ที่ สถานีอนามัย ศูนย์บริการสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง และโรงพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

บริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์

• การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็น
• การฟื้นฟูการได้ยิน
• กายภาพบำบัด
• กิจกรรมบำบัด
• พฤติกรรมบำบัด
• จิตบำบัด
• การได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยตามประเภทความพิการ
โดยเป็นสิทธิเฉพาะสำหรับคนพิการเพื่อเข้ารับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพได้ทั้งในและนอกหน่วยบริการ และยังรวมถึงการพัฒนาศักยภาพในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การเข้ารับบริการการฝึกการใช้ไม้เท้าขาวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเห็น เป็นต้น

คนพิการประเภทใดบ้าง ที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ สำหรับคนพิการ

คนพิการที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิหลักประกันสุขภาพฯ สำหรับคนพิการ ได้แก่ คนที่ได้รับสิทธิการรักษาพยาบาลตามกฎหมายหรือระเบียบอื่น ๆ ที่รัฐกำหนดอยู่ก่อนแล้ว เช่น ข้าราชการและลูกจ้างประจำของรัฐ พนักงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งบิดา มารดา คู่สมรสและบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย บุคคลผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม

หากมีข้อสงสัย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทรสายด่วน สปสช. 1330 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
ที่มา: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
How to การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม
แนะนำสถานที่ให้คำปรึกษา
เมื่อเกิดปัญหาด้านกฏหมาย/สิทธิ/สวัสดิการ เราปรึกษาหน่วยงานไหนได้บ้าง
บทความอื่นที่น่าสนใจ
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ...
หกล้มอันตรายกว่าที่คิด
อายุ 65 ปี+ เสี่ยงหกล้ม 28-35% อายุ 70 ปี+ เสี่ยงหกล้ม ...
ป่วนตอนพระอาทิตย์ตกทำไงดี
ผู้ดูแลหลายท่านพบว่าเมื่อถึงช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกหรือพลบค่ำ ...
ประเด็นที่ต้องระวังในเรื่องการขับรถ
หลีกเลี่ยงอย่าเสี่ยงขับรถ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดอาการหลงลืม ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.