การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
How to การลงทะเบียนเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียม

การลงทะเบียนผู้สูงอายุเพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

“เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” หรือ “เบี้ยยังชีพคนชรา” เป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่สัญชาติไทยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการดำรงชีวิตในแต่ละเดือน เมื่อลงทะเบียนแล้วจะได้รับเบี้ยยังชีพเป็นรายเดือนแบบขั้นบันไดตามช่วงวัย ดังนี้

อายุ 60 - 69 ปี 600 บาท/เดือน
อายุ 70 - 79 ปี 700 บาท/เดือน
อายุ 80 - 89 ปี 800 บาท/เดือนอายุ 90 ปีขึ้นไป 1,000 บาท/เดือน

แต่ละปีจะมีการลงทะเบียนของผู้สูงอายุรายใหม่ ๆ ที่อายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว ดังนั้น ควรศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ

ตรวจสอบคุณสมบัติ

ตรวจสอบคุณสมบัติผู้สูงอายุให้ครบตามเกณฑ์ก่อน ดังนี้

1. สัญชาติไทย
2. มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
3. ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ รวมถึงเงินอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เช่น ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ที่ได้รับเงินเดือน ค่าตอบแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่รัฐจัดให้เป็นประจำ

เอกสารที่ต้องเตรียม

เตรียมเอกสารใช้ในการลงทะเบียนให้พร้อม
1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้สูงอายุหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน) ที่ผู้สูงอายุมีรายชื่ออยู่
3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารตัวจริง ในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับกรณี ประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)
*ในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้ โดยผู้รับมอบอำนาจต้องเตรียมบัตรประชาชนของตนเอง และหนังสือมอบอำนาจไปด้วย


ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ที่ไหน

สามารถติดต่อได้ที่ เทศบาล องค์การบริการส่วนตำบล (อบต.) สำนักงานเขต ในพื้นที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน เป็นการลงทะเบียนครั้งเดียว โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน

กรณีย้ายภูมิลำเนา กรณีย้ายภูมิลำเนาต้องลงทะเบียนใหม่โดยเร็ว หากผู้สูงอายุมีการย้ายภูมิลำเนาไปพื้นที่อื่น มีการย้ายทะเบียนบ้าน จะต้องไปลงทะเบียนเพื่อขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุกับสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้ย้ายทะเบียนบ้านไปอยู่โดยเร็ว เพื่อจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่เชียงใหม่ ต่อมาย้ายทะเบียนบ้านมาที่กาญจนบุรี ก็ต้องรีบไปลงทะเบียนขอเบี้ยยังชีพผุ้สูงอายุใหม่ในหน่วยงานในจังหวัดกาญจนบุรี
ถ้าผู้สูงอายุที่ย้ายทะเบียนบ้านแล้วยังไม่ลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตแห่งใหม่ จะทำให้ไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพจากแห่งเดิมและแห่งใหม่ จนกว่าจะยื่นคำขอลงทะเบียนใหม่


การยกเลิกรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กรณีเสียชีวิต

ผู้ดูแลต้องไปติดต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตที่ผู้สูงอายุใช้สิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยนำใบมรณบัตรไปแสดง เพื่อแจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ป้องกันการถูกเรียกคืนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่เกินในภายหลัง

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุงเทพมหานครที่สำนักงานเขต ส่วนต่างจังหวัดสอบถามได้ที่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในท้องถิ่น หรือติดต่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เบอร์ 0 2241 9000 ต่อ 4131

ที่มา กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุจากภาครัฐ
เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์และมีสัญชาติไทย รัฐเตรียมสวัสดิการตามสิทธิของผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง
สิทธิประโยชน์ด้านสาธารณสุขของ
สิทธิประโยชน์ "คนพิการ" ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ ...
น่ารู้เกี่ยวกับไขมัน
การขาดกรดไขมันที่จำเป็น ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานไม่สมบูรณ์ ...
อุปกรณ์ให้อาหารทางสายยาง
การให้อาหารทางสายยาง ซึ่งสามารถเลือก ให้อาหารทางสายยางได้ 3 ช่องทาง ...
อุปกรณ์ดูแลช่องปาก
เมื่ออาการผู้มีภาวะสมองเสื่อมมาถึงระยะที่ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.