การสร้างภูมิต้านทานโรค

การสร้างภูมิต้านทานโรค

สร้างภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมักจะอยู่ในวัยสูงอายุ ร่างกายอ่อนแอกว่าวัยหนุ่มสาว เสี่ยงรับเชื้อโรคสูงตามวัย เมื่อเจ็บป่วยมีโอกาสอาการรุนแรง การรับวัคซีนเสริมภูมิคุ้มกันจะช่วยปกป้องสุขภาพและชีวิตได้
 

ทำไมอายุมากภูมิต่ำ ติดเชื้อง่าย

1. เป็นหลายโรครุมเร้า โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจและหลอดเลือด ขาดสารอาหาร โรคต่อมลูกหมากโต
2. อวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง ผู้หญิง-ขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะง่าย หลอดลมขับไล่สิ่งแปลกปลอมได้ไม่ดีเหมือนก่อน
3. ภูมิคุ้มกันลดลง มีโอกาสติดเชื้ออย่าง วัณโรค หรือเป็นโรคงูสวัดได้ง่าย
4. ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ยาสเตียรอยด์ที่จำเป็นต้องใช้รักษาโรคบางอย่าง หรือแฝงอยู่ในยาหม้อ ยาไทย ยาชุด ยาลูกกลอน
5. การตรวจรักษาที่อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น ใส่สายสวนปัสสาวะ ส่องกล้องตรวจในร่างกาย
6. ติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อดื้อยา จากโรงพยาบาลระหว่างการเข้ารักษาตัว

 

วัคซีนที่แนะนำ 

1. วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (ฉีด 1 เข็มทุกปี) ป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ที่จะทำให้ภาวะสมองเสื่อมอาการรุนแรงมากขึ้น
2. วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ IPD (ฉีด 2 เข็ม : เข็มแรก - วัคซีน 13 สายพันธุ์ >> 6 เดือนถึง 1 ปีฉีดเข็มที่ 2 - วัคซีน 23 สายพันธุ์) ป้องกันปอดบวม ปอดอักเสบ จากเชื้อนิวโมคอคคัส วัยสูงอายุหากเชื้ออาจเข้ากระแสเลือด หรือทำลายเยื่อหุ้มสมองจะมีอาการรุนแรงมาก
    **โรคปอดบวมเป็นสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยที่อยู่ในวัยสูงอายุเสียชีวิต**
3. วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน (ฉีดวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ-ไอกรน 1 เข็ม ตลอดชีพ และวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก-คอตีบ ทุก 10 ปี) ถ้ามีบาดแผลในวัยสูงอายุจะติดเชื้อบาดทะยักง่าย เมื่อติดเชื้อกล้ามเนื้อจะแข็งเกร็งหายใจลำบาก โรคไอกรนทำให้ไออย่างรุนแรง โรคคอตีบที่รุนแรงทำให้หายใจลำบาก หากอาการรุนแรงอาจเสียชีวิต 
4. วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส  ควรฉีดกรณีไม่เคยเป็นโรค หรือตรวจแล้วไม่พบว่ามีภูมิคุ้มกัน ฉีด 2 เข็ม
5. วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี ควรฉีดกรณีไม่มีภูมิคุ้มกัน ฉีด 3 เข็ม 

วัคซีนทางเลือก

1. วัคซีนป้องกันโรคงูสวัด ฉีด 1 เข็มตลอดชีพ หลังจากอายุมากกว่า 60 ปี หากเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน วัยสูงอายุภูมิต้านทานลดต่ำลง มีโอกาสเป็นงูสวัด มีอาการปวดแสบปวดร้อนตามผิวหนัง ปลายประสาท
2. วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบเอ ฉีดกรณีไม่มีภูมิคุ้มกัน ฉีด 2 เข็ม
วัคซีนและยาที่ใช้ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
วัคซีนและยาที่ใช้ในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม
นอกจากวัคซีน การดูแลให้ได้อาหารปริมาณพอเพียง ครบ 5 หมู่ อย่าขาดโปรตีน ออกกำลังกายเหมาะสม พักผ่อนพอเพียง ช่วยเสริมความแข็งแรงของภูมิต้านทานโรคได้
สุขภาพช่องปาก
เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีสุขภาพช่องปากที่ดี กินข้าวได้อร่อย ย่อมส่งผลดีต่อสุขภาพและชีวิตโดยรวม
การเตรียมพบแพทย์
การพาผู้มีภาวะสมองเสื่อมไปพบแพทย์ตามนัดมีความสำคัญ แต่การพบแพทย์แต่ละครั้งอาจไม่ง่ายนัก ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
มาเข้าใจเรื่องฟันกันเถอะ
เป้าหมายในชีวิตของคนเราในวัยสูงอายุ มักตอบว่า ...
เมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมมีอาการประสาทหลอน
อาการหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยสมองเสื่อมนั่นก็คือ ...
ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
Intro ทำไมต้องเป็น “วันวาน ณ ปัจจุบัน”
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั้น ลืมเลือนสิ่งใหม่ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.