การทดสอบสมรรถภาพทางกาย
การทดสอบสมรรถภาพทางกาย ทำให้ทราบระดับความสามารถของร่างกายในการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ และยังสามารถบอกถึงความเสี่ยงของร่างกายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วย
1. ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
ทดสอบการลุกจากเก้าอี้ในเวลา 30 วินาที
วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าทำได้น้อยกว่า 8 ครั้ง ถือว่ากล้ามเนื้อขาไม่แข็งแรง
2. ทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน
ทดสอบการการงอข้อศอก ในเวลา 30 วินาที
วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนและลำตัวส่วนบน
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าทำได้น้อยกว่า 11 ครั้ง ถือว่ากล้ามเนื้อแขนไม่แข็งแรง
3. ทดสอบความอ่อนตัว
3.1 ทดสอบแตะมือด้านหลัง
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความอ่อนตัวของหัวไหล่
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเพศชายได้น้อยกว่า 4 นิ้ว และเพศหญิงได้น้อยกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ
3.1 ทดสอบแตะมือด้านหลัง
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความอ่อนตัวของหัวไหล่
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเพศชายได้น้อยกว่า 4 นิ้ว และเพศหญิงได้น้อยกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ
3.2 ทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้า
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความอ่อนตัวของหลัง สะโพก และกล้ามเนื้อขาด้านหลัง
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเพศชายได้น้อยกว่า 4 นิ้ว และเพศหญิงได้น้อยกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ
วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินความอ่อนตัวของหลัง สะโพก และกล้ามเนื้อขาด้านหลัง
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเพศชายได้น้อยกว่า 4 นิ้ว และเพศหญิงได้น้อยกว่า 2 นิ้ว ถือว่าความยืดหยุ่นต่ำ
4. ทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว
ทดสอบการลุกขึ้นจากเก้าอี้ เดินไป 8 ฟุต และเดินกลับมานั่ง
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบความคล่องแคล่ว และการทรงตัวเมื่อเคลื่อนไหว
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลามากกว่า 9 วินาที ถือว่าความคล่องแคล่ว หรือทรงตัวไม่ดี เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการล้ม
ทดสอบการลุกขึ้นจากเก้าอี้ เดินไป 8 ฟุต และเดินกลับมานั่ง
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบความคล่องแคล่ว และการทรงตัวเมื่อเคลื่อนไหว
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าผู้สูงอายุใช้เวลามากกว่า 9 วินาที ถือว่าความคล่องแคล่ว หรือทรงตัวไม่ดี เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการล้ม
5. ทดสอบความทนทานของระบบหัวใจและไหลเวียนโลหิต
ทดสอบการเดิน 6 นาที
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบความทนทานของหัวใจและระบบหายใจ
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเดินได้ระยะทางน้อยกว่า 320 เมตร (350 หลา) ถือว่าหัวใจและการหายใจมีความทนทานน้อย หรือทนทานต่ำ
ทดสอบการเดิน 6 นาที
วัตถุประสงค์ : เพื่อทดสอบความทนทานของหัวใจและระบบหายใจ
เกณฑ์การทดสอบ : ถ้าเดินได้ระยะทางน้อยกว่า 320 เมตร (350 หลา) ถือว่าหัวใจและการหายใจมีความทนทานน้อย หรือทนทานต่ำ
เรียบเรียงจาก หนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : นายกฤษณะ นิลสาย และนางสาวจุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เขียน : นายกฤษณะ นิลสาย และนางสาวจุฑารัตน์ ภัทรเกษวิทย์
นักวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่เกี่ยวข้อง