นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3

นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
การดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมคล้ายการดูแลเด็ก แต่ความจริงแล้วผู้มีภาวะสมองเสื่อมไม่ใช่เด็ก จึงควรปฏิบัติด้วยความเคารพ และให้เกียรติเช่นที่เคยเป็นมา
อาการของภาวะสมองเสื่อม 3 ระยะ สมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะถดถอยไปเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น อาการจะมากหรือน้อยเป็นไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม เช่น หากเป็นโรคอัลไซเมอร์อาการจะเป็นไปอย่างช้า ๆ กินเวลาหลายปี กว่าผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง ในขณะที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจากพิษสุรา อาการจะดำเนินอย่างรวดเร็ว

ระยะที่ 1

– ความสามารถของสมองที่ลดลง กระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังสามารถดูแลสุขลักษณะของตนเองได้
– ใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ แต่อาจต้องการเครื่องมือหรือการสนับสนุนเล็กน้อย ยังไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแลมากนัก
– ปัญหาในการดูแลมักจะมาจากอาการลืม ถามซ้ำบ่อย หรือเกิดความขัดแย้งกัน หรือความสามารถที่ลดลงทำให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมหงุดหงิด

ระยะที่ 2

– อาการลืมเป็นมากขึ้น ทำอะไรไม่นานก็ลืม
– เริ่มทำกิจวัตรประจำวันที่มีความซับซ้อนหลายขั้นตอนลำบากขึ้น เช่น อาบน้ำ แต่งตัว เตรียมหาอาหารเมื่อหิว ใช้โทรศัพท์ไม่ได้
– สื่อสารกันด้วยคำพูดยากขึ้น หากพูดอะไรยาว ๆ ซับซ้อนจะตามไม่ทัน ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเองก็สื่อสารให้คนรอบข้างเข้าใจความต้องการได้ยากขึ้นเช่นกัน
– มีโอกาสเกิดปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ได้มาก จากการที่ไม่สามารถสื่อสารได้ดังเคย และการเสื่อมของเซลล์สมองที่ทำให้เกิดพฤติกรรมไม่เหมาะสม และอาการทางจิตเวช เช่น หลงผิด และเห็นภาพหลอน

ระยะที่ 3

– ความจำถดถอยลงจนจำทั้งเรื่องราวในอดีตและปัจจุบันไม่ได้ อาจลืมคนใกล้ชิด คนในครอบครัว
– ทำกิจวัตรประจำวันเองไม่ได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องพึ่งพิงผู้ดูแลตลอดเวลา ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานจะค่อย ๆ ลดลง เช่น ลืมกิน ลืมการกลืน เป็นต้น
– พูดคุยสื่อสารได้น้อยลงเรื่อย ๆ
– อาจกระทบเคลื่อนไหวไม่ปกติ แขนขาเกร็งหงิกงอ

ข้อแนะนำ

ณ จุดที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเข้าสู่ระยะที่อาการหนักขึ้น เช่น กลืนอาหารไม่ได้ กินอาหารไม่ได้ ครอบครัวจะต้องมีการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษา เช่น จะใส่สายให้อาหาร หรือจะใส่ท่อช่วยหายใจหรือไม่ ปัจจุบันผู้สูงอายุอาจจะมีการทำพินัยกรรมชีวิตที่ระบุความต้องการของตนเองแล้ว แต่หากไม่ได้ทำ ครอบครัวควรมีการปรึกษากันล่วงหน้าว่าจะดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไรโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วยเป็นหลัก
ภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิต
ผู้สูงอายุ 10-13% มีอาการโรคซึมเศร้า สารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ ไม่ใช่เศร้าหรือเบื่อธรรมดาทั่วไป ...
สมองเสื่อมก็พาเที่ยวได้
เมื่อถึงเทศกาลเฉลิมฉลองหลายครอบครัวพากันไปเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ปรับบ้านให้สงบลดป่วนสมองเสื่อม
บรรยากาศภายในบ้านส่งผลต่ออารมณ์ของผู้ป่วยสมองเสื่อม ...
ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ
ถ้าพบว่าคนในครอบครัวเริ่มมีอาการสมองเสื่อม ควรเตรียมตัวเตรียมใจ ...
การรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบใช้ยา
ยาสำหรับรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ...
โกหกไม่ดี แต่...
เราได้รับการปลูกฝังมาโดยตลอดว่าการโกหกเป็นสิ่งไม่ดี ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.