ภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิต

ภาวะซึมเศร้าและสุขภาพจิต

อาการและภาวะของโรค

- ผู้สูงอายุ 10-13% มีอาการโรคซึมเศร้า
- สารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ ไม่ใช่เศร้าหรือเบื่อธรรมดาทั่วไป
- เศร้าเสียใจไม่มีเหตุผล
- ท้อแท้ สิ้นหวัง เศร้ารุนแรง เลิกสนใจสิ่งรอบตัวเป็นเวลาติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์
- นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป
- รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เอาแต่โทษตัวเอง
- เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินกว่าปกติ
- ไม่อยากทำกิจกรรมที่เคยชอบทำ
- อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- ไม่มีสมาธิ ไม่มั่นใจในตนเอง
- ขี้หลงขี้ลืม
- คิดอ่านช้าลง ทำอะไรช้าลง
- ถ้าอาการรุนแรง เกิดความคิดอยากตาย หรือพยายามฆ่าตัวตาย

เกิดจาก

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ

- ร่างกายไม่แข็งแรง ปวดตามตัว เจ็บป่วยบ่อย
- สูญเสีย คนสำคัญในชีวิต คนในครอบครัว เพื่อน
- เปลี่ยนสถานะ เกษียณจากงาน ลงจากตำแหน่ง
- อยู่อย่างเงียบเหงา
- สารพัดโรคตัวนำซึมเศร้า หลอดเลือดสมอง มะเร็ง ต่อมไทรอยด์
- การเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง ซึมเศร้าง่าย
- รับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง ยาลดกรด ยาแก้ปวด บางชนิด

นำไปสู่

สมองเสื่อม ถ้าอาการรุนแรงจะเกิดความคิดอยากตาย

ป้องกัน

- พยายามปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง พูดคุยกับคนอื่น เข้าสังคม
- ทำงานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ชอบ
- เข้าชมรม สมาคม
- ทำงานช่วยเหลือสังคม
- อ่านหนังสือ เล่นเกมลับสมอง
- เล่นกับเด็ก สัตว์เลี้ยง ปลูกต้นไม้
- ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5 วัน
สมองเสื่อมที่ป้องกันได้
ภาวะสมองเสื่อมป้องกันได้หรือไม่ มีปัจจัยเสี่ยงจากอะไร
นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
อาการของภาวะสมองเสื่อม 3 ระยะ สมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะถดถอยไปเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สมองเสื่อมก็พาเที่ยวได้
เมื่อถึงเทศกาลเฉลิมฉลองหลายครอบครัวพากันไปเที่ยวยังสถานที่ต่าง ๆ ...
กินแล้วบอกไม่ได้กิน
กินแล้วบอกไม่ได้กิน พบบ่อย ๆ ...
การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิต
การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตทำให้หัวใจและปอดแข็งแรง ...
การบริหารร่างกายผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือติดเตียง
การบริหารร่างกายให้กับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.