สมองเสื่อมก็พาเที่ยวได้
ครอบครัวอย่าอับอายในการพาผู้มีภาวะสมองเสื่อมออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านบ้าง
ถ้าผู้ป่วยมิได้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกินกว่าการยอมรับของสังคม
ถ้าผู้ป่วยมิได้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเกินกว่าการยอมรับของสังคม
เมื่อถึงเทศกาลเฉลิมฉลองหลายครอบครัวพากันไปเที่ยวยังสถานที่ต่างๆ แต่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแลต้องอยู่บ้านอย่างเหงาหงอย ความจริงแล้วผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีอาการในระยะแรกๆ นั้นครอบครัวสามารถพาออกนอกบ้านไปเที่ยวใกล้ๆ หรือแม้กระทั่งค้างคืนได้ เพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสใช้เวลาร่วมกับคนในครอบครัวโดยไม่ต้องถูกทิ้งไว้ที่บ้าน การพาผู้ป่วยออกไปเที่ยว ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุข และอารมณ์ดีขึ้น
ทุกๆ 3 วินาทีโลกเรามีผู้มีภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 1 คน สมองเสื่อมจึงเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ทุกคนจึงควรมีโอกาสทำความรู้จัก เข้าใจ และยอมรับให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นส่วนหนึ่งในสังคมของเรา โดยปรับมุมมองใหม่ ไม่ตำหนิหากทำอะไรผิดแปลกไปบ้าง และหยิบยื่นความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ
ประเมินอย่างไรว่าพาเที่ยวได้
1. ร่างกายยังแข็งแรงดี
2. ผู้ป่วยยังคงอยากออกไปเที่ยวนอกบ้านอยู่
3. โดยปกติผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมร้องกลับบ้านตอนช่วงเย็น
4. มีพฤติกรรมแปลกไปบ้างแต่ไม่มากนัก
5. ผู้ดูแลสามารถรับมือได้
6. อาจปรึกษาคุณหมอ
1. ร่างกายยังแข็งแรงดี
2. ผู้ป่วยยังคงอยากออกไปเที่ยวนอกบ้านอยู่
3. โดยปกติผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมร้องกลับบ้านตอนช่วงเย็น
4. มีพฤติกรรมแปลกไปบ้างแต่ไม่มากนัก
5. ผู้ดูแลสามารถรับมือได้
6. อาจปรึกษาคุณหมอ
เตรียมพร้อม 12 ข้อก่อนพาผู้มีภาวะสมองเสื่อมเที่ยว
1. ถ้าไม่เคยพาไปไหน เริ่มจากเที่ยวใกล้บ้านใช้เวลาน้อย ๆ ก่อน
2. เลือกสถานที่คุ้นเคยหรือผู้ป่วยชอบ
3. ประเมินว่าจะมีปัญหาอะไรบ้าง เตรียมพร้อมเพื่อรับมือ พร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
4. เลี่ยงสถานที่พลุกพล่านเสียงดัง
5. ปรับวันเวลาเที่ยวไม่ให้ตรงกับเทศกาลคนหนาแน่น
6. เตรียมของใช้จำเป็น เช่น ของกินเล่นหรือเกมที่ผู้ป่วยชอบ ยา ของคุ้นเคย เช่น หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตา
7. พยายามทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเวลาเดียวกับตอนอยู่บ้าน เช่น เวลาตื่นนอน กินอาหาร อาบน้ำ
8. เลี่ยงโปรแกรมเที่ยวหลายที่หลายกิจกรรม ไม่ควรให้เหนื่อย เน้นสงบ สบาย ๆ
9. มีเบอร์โทรติดต่อครอบครัวที่กำไล สร้อยคอ หรือเสื้อผู้ป่วย
10. แจ้งเจ้าของที่พักให้ทราบ ขอให้ช่วยดูแลในบางจุด ช่วยสอดส่องถ้าอยู่ลำพังพลัดหลงกับครอบครัว
11. พกกระดิ่งแขวนประตู หาโต๊ะเก้าอี้กั้น หรือพรางประตูห้องพัก
12. ดูว่าบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายยาหรือโรงพยาบาลเผื่อฉุกเฉิน
1. ถ้าไม่เคยพาไปไหน เริ่มจากเที่ยวใกล้บ้านใช้เวลาน้อย ๆ ก่อน
2. เลือกสถานที่คุ้นเคยหรือผู้ป่วยชอบ
3. ประเมินว่าจะมีปัญหาอะไรบ้าง เตรียมพร้อมเพื่อรับมือ พร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
4. เลี่ยงสถานที่พลุกพล่านเสียงดัง
5. ปรับวันเวลาเที่ยวไม่ให้ตรงกับเทศกาลคนหนาแน่น
6. เตรียมของใช้จำเป็น เช่น ของกินเล่นหรือเกมที่ผู้ป่วยชอบ ยา ของคุ้นเคย เช่น หมอน ผ้าห่ม ตุ๊กตา
7. พยายามทำกิจวัตรประจำวันในช่วงเวลาเดียวกับตอนอยู่บ้าน เช่น เวลาตื่นนอน กินอาหาร อาบน้ำ
8. เลี่ยงโปรแกรมเที่ยวหลายที่หลายกิจกรรม ไม่ควรให้เหนื่อย เน้นสงบ สบาย ๆ
9. มีเบอร์โทรติดต่อครอบครัวที่กำไล สร้อยคอ หรือเสื้อผู้ป่วย
10. แจ้งเจ้าของที่พักให้ทราบ ขอให้ช่วยดูแลในบางจุด ช่วยสอดส่องถ้าอยู่ลำพังพลัดหลงกับครอบครัว
11. พกกระดิ่งแขวนประตู หาโต๊ะเก้าอี้กั้น หรือพรางประตูห้องพัก
12. ดูว่าบริเวณใกล้เคียงมีร้านขายยาหรือโรงพยาบาลเผื่อฉุกเฉิน
บทความที่เกี่ยวข้อง
นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3
อาการของภาวะสมองเสื่อม 3 ระยะ สมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะถดถอยไปเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรคที่มากขึ้น ...