การให้ออกซิเจนที่บ้าน

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีภาวะเหนื่อย เพลียจากการหายใจไม่อิ่ม แพทย์อาจพิจารณาให้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนที่บ้าน ชนิดถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน เพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมหายใจเข้า ให้สูงกว่าปกติ ลดการใช้แรงในการหายใจสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อมขณะอยู่ที่บ้าน

วิธีใช้งาน

1. กรณีใช้ถังออกซิเจน ดูให้แน่ใจว่าต่ออุปกรณ์ควบคุมการไหลออกซิเจนเข้ากับถังออกซิเจนให้แน่นด้วยประแจ กรณีใช้เครื่องผลิตออกซิเจนให้เสียบปลั๊กไฟพร้อมใช้งาน
2. ต่อกระป๋องออกซิเจนเข้ากับถังออกซิเจนหรือเครื่องผลิตออกซิเจน
3. ต่อสายออกซิเจนเข้ากับรูกระป๋องออกซิเจน
4. เปิดวาล์วถังออกซิเจน หรือกดปุ่มเปิดเครื่องผลิตออกซิเจน
5. หมุนปุ่มให้ลูกลอยของมาตรวัดอัตราการไหลของออกซิเจน ขึ้นหรือลงตามที่แพทย์กำหนด เช่น 3 หรือ 4 ลิตร ต่อนาที เป็นต้น
6. ต่อสายออกซิเจนเข้ากับผู้ป่วยตามความเหมาะสม
7. สังเกตอาการของผู้มีภาวะสมองเสื่อมขณะให้ออกซิเจน เช่น ซึมลง สับสน ริมฝีปากคล้ำ หายใจผิดปกติ ควรรีบพามาพบแพทย์
สังเกตอาการของผู้มีภาวะสมองเสื่อมขณะให้ออกซิเจน เช่น ซึมลง สับสน ริมฝีปากคล้ำ หายใจผิดปกติ ควรรีบพามาพบแพทย์

ข้อแนะนำหรือข้อควรระวัง

- ระวังลูกลอยชนหลอดแก้วแตก ขณะเปิดวาล์วถังออกซิเจน โดยเปิดวาล์วเปิด-ปิดออกซิเจนอย่างช้า ๆ
- ใส่น้ำสะอาด (น้ำดื่มหรือน้ำกรอง) ให้ระดับน้ำอยู่ในระดับเครื่องหมายที่กำหนดไว้ข้างกระป๋อง
- ไม่ควรเปิดออกซิเจนใกล้แหล่งให้ความร้อนหรือเปลวไฟ
- เครื่องผลิตออกซิเจนควรวางห่างจากผนัง อย่างน้อย 0.5 เมตร เพื่อระบายความร้อนจากตัวเครื่อง
- การเลือกใช้ถังออกซิเจน ควรมีแหล่งเติมออกซิเจนใกล้บ้านเพื่อความสะดวก

อุปกรณ์

1. ถังออกซิเจน ประกอบด้วย
1.1 วาล์วเปิด-ปิดออกซิเจน
1.2 อุปกรณ์ควบคุมการไหลออกซิเจน ได้แก่ มาตรวัดแรงดัน มาตรวัดอัตราการไหลของออกซิเจน
1.3 สายออกซิเจน
1.4 กระป๋องออกซิเจนพร้อมน้ำสะอาด
เครื่องผลิตออกซิเจนมีหลายขนาด เช่น 5 ลิตร 10 ลิตร สามารถซื้อ เช่า หรือ ยืมจากธนาคารอุปกรณ์ได้ ควรเลือกเครื่องที่มีเสียงเบา เพื่อให้รบกวนผู้มีภาวะสมองเสื่อมน้อยที่สุด
2. เครื่องผลิตออกซิเจน ประกอบด้วย
2.1 เครื่อง
2.2 สายออกซิเจน
2.3 กระป๋องออกซิเจนพร้อมน้ำสะอาด
การสระผมผู้ป่วยบนเตียง
การสระผมเป็นการขจัดสิ่งสกปรกบริเวณหนังศีรษะ ลดเหงื่อและสิ่งสกปรก ทำให้ไม่รู้สึกคัน เกิดความสบาย ...
การดูแลสิ่งแวดล้อมและการปูเตียง
การดูแลสิ่งแวดล้อมรอบเตียง และการดูแลผ้าปูเตียงให้สะอาด ป้องกันการก่อโรค และส่งเสริมสุขอนามัย...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
5 วิธีดูแลผู้สูงอายุห่างไกลซึมเศร้า-สมองเสื่อม
วัยสูงอายุมักจะพบกับความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ...
ภาวะกลืนลำบากในผู้ป่วยสมองเสื่อม
ในสมองของผู้มีภาวะสมองเสื่อม ...
กินแล้วบอกไม่ได้กิน
กินแล้วบอกไม่ได้กิน พบบ่อย ๆ ...
ชวนหนูๆ ดูแลปู่ย่าตายาย
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.