รักสมองต้องดูแล 22 กรกฎา วันสมองโลก
22 July 2023
รักสมองต้องดูแล
22 กรกฎา วันสมองโลก
22 กรกฎา วันสมองโลก
สาเหตุหลักของสมองเสื่อมที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้นั่นก็คือ ความเสื่อมของหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs
สหพันธ์ประสาทวิทยาโลกและสหพันธ์เพื่อการฟื้นฟูระบบประสาทโลกจึงร่วมกันกำหนดให้วันที่ 22 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันสมองโลก (International Brain Day) เพื่อให้ประชาชนทั่วโลกตระหนักรู้ถึงความสำคัญ รู้วิธีป้องกัน ปฎิบัติต่อผู้พิการทางสมองอย่างเท่าเทียม และผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม แม้สมองบกพร่องก็จะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง
สมองเสื่อมเป็นปัญหาใหญ่อีกหนึ่งที่ทุกคนควรตระหนักเช่นกัน
เนื่องจากประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 6.8 แสนคน จากประชากรรวม 66.7 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้มีภาวะสมองเสื่อม 1 คนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในครอบครัว
สาเหตุหลักของสมองเสื่อมที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้นั่นก็คือ ความเสื่อมของหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วนลงพุง) ซึ่งเราสามารถป้องกันและชะลอได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
เนื่องจากประเทศไทยมีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมถึง 6.8 แสนคน จากประชากรรวม 66.7 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งผู้มีภาวะสมองเสื่อม 1 คนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนในครอบครัว
สาเหตุหลักของสมองเสื่อมที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้นั่นก็คือ ความเสื่อมของหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs : ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ และภาวะอ้วนลงพุง) ซึ่งเราสามารถป้องกันและชะลอได้ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
8 วิธีดูแลและป้องกันสมองเสื่อม
1. ลดปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมที่สำคัญ - ควบคุมโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่สูบบุหรี่
2. ป้องกันศีรษะ - เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงสมองกระแทกกระทือน สวมหมวกกันน็อกหรือคาดเข็มคัดนิรภัยเมื่อขับขี่
3. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ - เลือกที่เหมาะสมกับวัยและสภาวะร่างกาย
4. ออกกำลังใจ - มองโลกในแง่ดี ทำกิจกรรมที่ชอบเลี่ยงความเครียด เศร้า วิตกกังวล ถ้านานไปไม่หายแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
5. ทำกิจกรรมฝึกสมอง - เล่นเกมฝึกสมอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
6. ดูแลอาหารการกิน -กินอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ปริมาณและสัดส่วนเหมาะสม
7. นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง - การได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น ไม่อ่อนล้าหรือง่วงนอน
8. มีเพื่อนมีสังคม - ติดต่อกับคนในครอบครัว คบหาเพื่อน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกัน
1. ลดปัจจัยเสี่ยงสมองเสื่อมที่สำคัญ - ควบคุมโรคประจำตัว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ควบคุมน้ำหนักตัว ไม่สูบบุหรี่
2. ป้องกันศีรษะ - เลี่ยงกิจกรรมเสี่ยงสมองกระแทกกระทือน สวมหมวกกันน็อกหรือคาดเข็มคัดนิรภัยเมื่อขับขี่
3. ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ - เลือกที่เหมาะสมกับวัยและสภาวะร่างกาย
4. ออกกำลังใจ - มองโลกในแง่ดี ทำกิจกรรมที่ชอบเลี่ยงความเครียด เศร้า วิตกกังวล ถ้านานไปไม่หายแนะนำให้ปรึกษาแพทย์
5. ทำกิจกรรมฝึกสมอง - เล่นเกมฝึกสมอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
6. ดูแลอาหารการกิน -กินอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ปริมาณและสัดส่วนเหมาะสม
7. นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง - การได้นอนอย่างเต็มอิ่ม ตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่น ไม่อ่อนล้าหรือง่วงนอน
8. มีเพื่อนมีสังคม - ติดต่อกับคนในครอบครัว คบหาเพื่อน เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่มีความสนใจคล้ายกัน
อ่าน เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม ได้ที่นี่