สมองเสื่อมต้องใส่ใจความปลอดภัย 8 ข้อ

สมองเสื่อมต้องใส่ใจความปลอดภัย 8 ข้อ
ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้น ๆ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย เนื่องจากมีปัญหาหลายด้าน ทั้งความจำ บกพร่องด้านความเข้าใจ บกพร่องด้าน ประสาทสัมผัส รวมทั้งการสื่อสาร จึงจำเป็นต้องใส่ใจสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ
สมองเสื่อมต้องใส่ใจความปลอดภัย 8 ข้อ
สมองเสื่อมต้องใส่ใจความปลอดภัย 8 ข้อ
ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้น ๆ ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย เนื่องจากมีปัญหาหลายด้าน ทั้งความจำ บกพร่องด้านความเข้าใจ บกพร่องด้าน ประสาทสัมผัส รวมทั้งการสื่อสาร จึงจำเป็นต้องใส่ใจสิ่งเหล่านี้เป็นพิเศษ

1. ความปลอดภัยในบ้าน

เก็บสิ่งอันตรายให้พ้นมือ และปิดกั้นไม่ให้เข้าถึงบริเวณที่อาจเกิดอันตราย
- พื้น > จัดบ้านเรียบโล่งเก็บของรก  เก็บสายไฟ ไม่ใช้พรม ป้องกันสะดุดล้ม
- ประตูหน้าต่าง > เปลี่ยนล็อกประตูห้องน้ำเปิดจากข้างนอกเข้าไปช่วยเหลือได้ พราง/ย้ายจุดล็อก 
- แสงสว่างเพียงพอ > ในห้อง ทางเดิน บันได ห้องน้ำ ป้องกันการหกล้ม/เห็นภาพหลอน 
- ปิดกั้นจุดอันตราย > ครัว  ระเบียง ดาดฟ้า ห้องเครื่องมือช่าง ฯลฯ
- อื่น ๆ > ถม/กั้นบริเวณบ่อน้ำ ไม่มีตู้ปลา  ไม่ปลูกต้นไม้มีพิษ เก็บอาวุธ/ของมีคม

2. ระวังกินสิ่งเป็นอันตราย

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจกินสิ่งของหรือสารเคมี ต้องเก็บล็อกให้พ้นมือและสายตา
- เก็บสารเคมีทุกชนิดเข้าตู้ล็อกกุญแจ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น ผงซักฟอก  ฯลฯ 
- เก็บของใช้ส่วนตัว เช่น   สบู่ แชมพู ยา ครีม ฯลฯ ผู้ดูแลกำกับการใช้โดยประเมินความเข้าใจของผู้ป่วย
- เก็บอาหาร/เครื่องปรุง ป้องกันกินผิด เช่น กินซีอิ๊ว กินอาหารบูดเสีย เก็บอาหารเมื่อจบมื้อ 
- เก็บล็อกเพราะอาจเข้าใจว่ากินได้ เช่น อาหาร-ผัก-ผลไม้ปลอม ของเล่นชิ้นเล็ก  กระดุม อาหารสัตว์ ฯลฯ

3. ของใช้ภายในบ้าน

ประเมินความเข้าใจของผู้ป่วยว่ายังใช้เป็น กำกับดูแลการใช้งาน ถ้าไม่แน่ใจให้เก็บล็อก
- เครื่องครัว > ลืมเปิดแก๊สทิ้งไว้ จุดแก๊สไม่ติดก็ทิ้งไปทำอย่างอื่น ใช้ผิดวิธี เช่น นำกระติกน้ำไฟฟ้าตั้งบนเตา
- เครื่องทำน้ำอุ่น เช็กอุณหภูมิก่อนให้อาบ ป้องกันน้ำร้อนจัด
- ปลั๊กไฟ ติดที่ปิดรูปลั๊กไฟ/พราง ป้องกันแหย่นิ้วหรือเทน้ำใส่
- หากประเมินว่าพอจำได้อ่านเข้าใจ ติดป้ายเขียนบอกวิธีใช้ช่วยเตือนความจำ  

4. การใช้ยา 

คอยประเมินว่าผู้ป่วยรู้และเข้าใจแค่ไหน 
- ยังพอจำและเข้าใจได้ > จัดแบ่งยาใส่กล่องแยกเป็นมื้อ/วัน เขียนคำอธิยาย
- ไม่เข้าใจวิธีใช้ > ผู้ดูแลเป็นผู้ให้ผู้ป่วยกินยา ไม่ปล่อยให้กินเอง 

5. การพาออกนอกบ้าน

ผู้ป่วยอาจไม่สบายใจพลุ่งพล่านเมื่ออยู่ในที่ไม่คุ้นเคยและมีโอกาสหายไป - เขียนชื่อเบอร์โทรติดต่อกลับ บนกำไล ริสต์แบนด์  สร้อยคอ เสื้อผ้า กระเป๋าเสื้อ ฯลฯ ให้ผู้พบเห็นติดต่อกลับได้
- อย่าปล่อยให้คลาดสายตา  อย่าเชื่อว่าผู้ป่วยรับปากแล้วจะไม่เดินหายไป
- เตรียมของใช้จำเป็นไปด้วย เช่น   น้ำ อาหาร ยา เสื้อผ้า เกม
- เลือกสถานที่สงบ  คนน้อย ไม่พลุกพล่าน ไม่เสียงดัง

6. หายออกจากบ้าน

– ล็อกประตูบ้านประตูรั้วตลอดเวลา
– ทาสีกลอน/ลูกบิดกลืนกับผนังห้อง ปิดผ้าม่านบัง
– ย้ายจุดล็อก
– ผูกกระดิ่งไว้ที่ประตู หน้าต่าง

*หากผู้ป่วยหาย ติดต่อ ศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา โทรสายด่วน 0807752673

7. การขับรถ

อาจจำทางไม่ได้ หรือลืมวิธีขับรถในขณะขับอยู่ อันตรายทั้งตัวผู้ป่วยและผู้อื่น
- ควรขอให้เลิกขับรถ ผู้ป่วยอาจไม่ฟัง แนะนำให้ผู้ดูแลใจเย็นและใช้ความอดทน 
- ให้คุณหมอบอก และช่วยเขียนว่าห้ามขับรถ เก็บไว้ให้ผู้ป่วยอ่าน
- ซ่อนกุญแจ บอกว่ารถเสีย ซ่อมอยู่ นำรถไปเก็บในที่ ๆ ผู้ป่วยไม่เห็น
- พาผู้ป่วยเดินทางไปทำกิจกรรมที่เคยทำบ้างเพื่อเบนความสนใจ

8. การทำร้ายผู้ป่วยโดยไม่ตั้งใจ 

ความอ่อนล้าบวกกับต้องรับมือกับพฤติกรรมปั่นป่วน ทำให้ผู้ดูแลเครียดโกรธผู้ป่วยอาจเผลอทำร้ายโดยไม่ตั้งใจ 
- หมั่นสังเกตอารมณ์ของตัวเองหากเริ่มโกรธ เลี่ยงออกไปสักครู่เพื่อปรับอารมณ์ให้เย็นลงก่อน
- เบี่ยงเบนความสนใจผู้ป่วย แทนการอธิบายหรือทะเลาะ 
- หาที่ปรึกษาหรือระบายความรู้สึก 
- พยายามพักผ่อนให้พอเพียง 
หาข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยเพิ่มเติมได้ที่นี่
สิ่งอันตรายในบ้านที่อาจนึกไม่ถึง

ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
การบริหารร่างกายผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้หรือติดเตียง
การบริหารร่างกายให้กับผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เน้นเพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด...
สิ่งอันตรายในบ้านที่อาจนึกไม่ถึง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาสายตามองเห็นไม่ชัด เคลื่อนไหวติดขัด ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
EP07 โรคของแม่สอนให้ลูกเป็นคนดีขึ้น
ความเจ็บป่วยของแม่ สอนให้ผมเป็นคนดีขึ้นกว่าเดิม ...
ประเด็นที่ต้องระวังในเรื่องการขับรถ
หลีกเลี่ยงอย่าเสี่ยงขับรถ ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมอาจเกิดอาการหลงลืม ...
อาหารการกินเพื่อสุขภาพ
ผู้ป่วยสมองเสื่อมที่กินดีอยู่ดี กินได้ กินอิ่ม กินอร่อย กินแล้วมีแรง ...
โรคเบาหวาน (และคณะ…เพราะเขาไม่เคยมาคนเดียว)
แต่ละคนสามารถผลิตอินซูลินต่างกัน ดังนั้น ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.