ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม

ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเสี่ยงหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไปถึง 8 เท่า
การปรับ “บ้าน” ให้ปลอดภัยสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ควรเน้นป้องกันและลดอุบัติเหตุให้มากที่สุด

ห้องนอน

– จัดห้องให้โล่ง ลดการเห็นภาพหลอนตอนกลางคืน
– เตียงนอนสูงพอเหมาะ ให้เท้าวางราบกับพื้นได้เมื่อนั่งริมเตียง
– วางเตียงชิดผนังกันตก
– ถ้าสวิตช์ไฟไกลจากเตียง ควรมีโคมไฟหัวเตียง
– มีห้องนํ้า หรืออุปกรณ์การขับถ่ายใกล้เตียงนอน
– หากผู้มีภาวะสมองเสื่อมละเมอ ตื่นขึ้นมาเดินดึก ๆ อาจแขวนกระดิ่งไว้ที่ลูกบิดประตูให้ผู้ดูแลได้ยิน

ห้องน้ำ

– ไม่ติดกลอนข้างใน ประตูลูกบิดควรมีกุญแจเก็บไว้ที่ผู้ดูแล
– ถ้าเป็นไปได้ ประตูควรเปิดออกด้านนอก หรือควรเป็นบานเลื่อน ในกรณีเกิดอุบ้ติเหตุด้านใน ผู้ดูแลสามารถเปิดประตูเข้าไปในห้องน้ำได้
– พื้นห้องน้ำใช้วัสดุป้องกันลื่น มีพื้นที่กว้างพอให้ผู้ดูแลช่วยเหลือสะดวก
– แยกส่วนแห้ง ส่วนเปียก ไม่มีขั้นหรือส่วนต่างระดับ
– เลือกสีสุขภัณฑ์แตกต่างจากพื้นหรือผนัง เพื่อให้เห็นชัดเจน
– อุปกรณ์อาบนํ้าวางในระดับสายตา มีเท่าที่จำเป็น จัดเรียงลําดับการใช้ ป้องกันการสับสน
– เปิดไฟไว้ตลอดคืน เผื่อลุกมาเข้าห้องน้ำตอนดึกจะได้มองเห็น
– กระจกในห้องน้ำ ควรเป็นกระจกนิรภัยหรือสแตนเลส เพื่อป้องกันหากผู้มีภาวะสมองเสื่อมเกิดอาการจำตัวเองไม่ได้ อาจจะทุบกระจกและเป็นอันตราย

ห้องครัว

– ปิดล็อกห้องครัวไว้
– ควรติดเครื่องตัดแก๊สอัตโนมัติ ติดฝาครอบปุ่มเตาไฟฟ้าหรือเตาอบ
– เลือกใช้ภาชนะเป็นพลาสติกและมีสีที่แตกต่างกันกับโต๊ะทานข้าว
– ควรเก็บอุปกรณ์ที่เป็นอันตรายไว้ให้มิดชิด
– ไม่มีพวกผักผลไม้ปลอม จะหยิบไปกินผิดได้

ห้องรับแขก

– เก้าอี้แข็งแรงและมีที่วางแขน ช่วยให้พยุงตัวลุกนั่งสะดวก
– ใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มั่นคง ไม่มีล้อ สีแตกต่างกับผนังห้องและพื้น มองเห็นง่าย
– เฟอร์นิเจอร์ที่มีลวดลายเยอะเกินไปที่มักกระตุ้นให้สับสน
– วางโทรศัพท์ที่ใช้งานง่ายไว้ มีเบอร์โทรฉุกเฉิน เบอร์ผู้ดูแล ครอบครัวและเพื่อน ติดให้เห็นชัด ๆ
– อาจมีมุมที่ติดภาพถ่ายเก่า ๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นความทรงจำ

พื้นที่รอบบ้าน

– ทางเดินเรียบ ไม่ลื่น ไม่มีก้อนหินหรือต้นไม้กีดขวาง
– มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อป้องกันไม่ให้หลงทางออกไปที่อื่น
– พรางประตูและล็อกประตูรั้วบ้าน ป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมเปิดออกไปแล้วหาทางกลับไม่ถูก เช่น การทำเป็นสวนหรือต้นไม้ หรือภาพวิวธรรมชาติ หรือติดตั้งกล้องวงจรปิดอัตโนมัติส่งสัญญาณเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมเดินมาใกล้ประตูรั้ว เช่น ระบบ smart home
แต่ละบ้านมีรายละเอียดที่ต้องจัดการดูแลแตกต่างกันไป ตามอาการและพฤติกรรมของผู้มีภาวะสมองเสื่อม
การเตรียมพื้นที่
ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอันตราย อย่าจัดบ้านใหม่หมด ไม่ควรเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์หลัก
การเตรียมตัวย้ายบ้าน
ปัญหาที่พบเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมต้องย้ายบ้าน ติดบ้าน ไม่ยอมย้าย แปลกที่ ไปไม่นานร้องกลับบ้าน หลงทิศ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ตารางกิจวัตรประจำวัน สำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อมระยะ 3
ผู้ปวยสมองเสื่อมในระยะนี้มีภาระหลงลืมมากขึ้น ...
น้ำ สารอาหารที่ร่ายกายขาดไม่ได้
น้ำ คือ สารอาหารตัวที่ 6 มีแทรกอยู่ในอาหารทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้ ...
การรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบใช้ยา
ยาสำหรับรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมมี 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ ...
สูงวัยกล้ามเนื้อหาย อันตรายนะ
มื่ออายุมากขึ้นร่างกายของเราจะเสียมวลกล้ามเนื้อ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.