การเตรียมตัวย้ายบ้าน

การเตรียมตัวย้ายบ้าน

ปัญหาที่พบเมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมต้องย้ายบ้าน

1. ติดบ้าน ไม่ยอมย้าย
2. แปลกที่ ไปไม่นานร้องกลับบ้าน
3. หลงทิศ เดินผิดทาง เสี่ยงอุบัติเหตุ
4. สับสน รู้สึกไม่ปลอดภัย
ลูกหลานและสมาชิกในบ้านช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมรู้สึกสบายใจ สบายตัวได้ในสิ่งแวดล้อมใหม่

สร้างความอุ่นใจ

– ความรักและความผูกพันจะช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมปรับตัวได้ง่ายขึ้น
– ไม่ควรบังคับ ให้ตัดสินใจเอง รอจนกว่าจะพร้อมย้าย
– ค่อย ๆ บอกเหตุผลว่าย้ายไปแล้วดีอย่างไร
– วันย้ายบ้าน ควรเลือกช่วงที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาการคงที่

สร้างความคุ้นเคย

– ปรับบ้านให้คล้ายเดิม ช่วยลดอาการตื่นตระหนก
– ย้ายสิ่งของที่เห็นชินตาและใช้ประจำ ไปวางไว้ที่ห้องส่วนตัวและห้องอื่น ๆ ด้วย เช่น รูปภาพ
– ของแต่งบ้านกระจุกกระจิก เก้าอี้ตัวโปรด ตุ๊กตา หรือผ้าห่ม
– จัดพื้นที่ให้เอื้อกับไลฟ์สไตล์เดิม เช่น มุมนั่งเล่น มุมจิบชายามบ่าย มุมทำงานฝีมือ
– เพิ่มการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสอื่น ๆ เช่น ปลูกดอกไม้กลิ่นที่ชอบ ติดกระดิ่งลมที่คุ้นหู

สร้างความปลอดภัย

– ปรับพื้นที่บ้านให้ทำกิจวัตรต่าง ๆ ได้สะดวก ลดอุบัติเหตุ
– ลองพาเดินทั่วบ้าน สังเกตว่าตรงไหนเสี่ยงหกล้ม ให้แก้ไข
– ทำป้ายนำทางไปยังพื้นที่ต่าง ๆ หลายตำแหน่งต่อเนื่อง เห็นง่าย สะดุดตา
– เขียนชื่อหรือสัญลักษณ์ติดไว้ที่ประตูห้องต่าง ๆ กันไม่ให้หลงห้อง
– สัญลักษณ์ที่ใช้ควรเป็นภาพประกอบง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องตีความ
– ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะมองต่ำกว่าระดับสายตา ติดตั้งป้ายต่ำกว่าปกติ สูงจากพื้นประมาณ 1.4 เมตร
ไม่ควรให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมย้ายที่อยู่อาศัยบ่อย เพราะต้องใช้เวลาปรับตัวนานกว่าจะคุ้นเคย เสี่ยงอาการแย่ลงได้
ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเสี่ยงหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไปถึง 8 เท่า การปรับ “บ้าน” ...
วิธีดูแลความปลอดภัย
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่หายออกจากบ้าน มักจะมีพฤติกรรมเดินหลง เมื่อออกไปนอกบ้านกับครอบครัว ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การทำความสะอาดฟันอย่างมีประสิทธิภาพ
ทำไมแปรงฟันทุกวัน แล้วยังฟันผุ ? คำตอบ คือ แปรงไม่ทั่วถึง ...
ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ
ถ้าพบว่าคนในครอบครัวเริ่มมีอาการสมองเสื่อม ควรเตรียมตัวเตรียมใจ ...
อัลไซเมอร์คืออะไร
โรคอัลไซเมอร์เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุด ...
ฉันจะเป็นชีวิตและจิตใจ ให้เธอจนวันสุดท้าย
พี่สาวของฉัน ฝึกให้เรารู้จักว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.