วิธีดูแลความปลอดภัย

วิธีดูแลความปลอดภัย
ระวัง! ผู้มีภาวะสมองเสื่อมหลงออกจากบ้าน

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่หายออกจากบ้านมักจะ

– มีพฤติกรรมเดินหลงเมื่อออกไปนอกบ้านกับครอบครัว– เปลี่ยนบ้านใหม่แล้ว แต่ต้องการเดินทางกลับบ้านเดิม
– เดินเรื่อยเปื่อย ไม่รับรู้วัน เวลา สถานที่และบุคคล
– เดินออกจากบ้านแบบที่เคยทำมาในอดีต แต่จำทางกลับบ้านไม่ถูก
– ถ้าตามหาไม่เจอ เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ หายสาบสูญ และอาจเสียชีวิต

สาเหตุ เช่น

– ย้ายบ้านใหม่ ไม่คุ้นเคย
– หนีจากสิ่งแวดล้อมที่มีเสียงดังและวุ่นวาย
– รู้สึกจำเจ เบื่อหน่าย ไม่มีอะไรทำ
– รู้สึกไม่ปลอดภัยต้องการกลับบ้านเดิม
– สับสนเวลา เดินออกจากบ้านดึก ๆ ด้วยความสับสน

การป้องกัน

– สร้างบรรยากาศในบ้านที่สงบ มีกิจกรรมทำได้เพลิน ๆ ไม่เบื่อ
– ปิดป้ายสัญลักษณ์ง่าย ๆ ติดไว้หน้าประตูให้ชัดเจน เช่น ห้องน้ำ ห้องนอน
– บ้านควรมีรั้วรอบขอบชิด เข้า-ออกทางเดียว
– ปิดล็อกกุญแจประตูบ้าน ประตูรั้ว ตลอดเวลา
– พรางประตู ด้วยการทาสีประตูทางออกให้เหมือนฝาผนังห้อง หรือปิดผ้าม่าน
– ติดกลอนในจุดที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเปิดไม่ได้
– หากระดิ่งผูกประตู หน้าต่าง
– จัดส่วนและพื้นที่นอกตัวบ้านให้เดินได้อย่างปลอดภัย

การดูแล

– บอกเล่าเพื่อนบ้านถึงอาการป่วย เพื่อให้เขาเข้าใจและช่วยเป็นหูเป็นตา
– เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์และอาการป่วย ใส่ในกระเป๋าเสื้อ ผูกป้ายข้อมือหรือสวมสร้อยคอให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมแล้วแต่ความชอบ หรือเหมาะสมกับแต่ละบุคคล
– มีภาพถ่ายปัจจุบันของผู้มีภาวะสมองเสื่อม เพื่อใช้ในการออกตามหา หากออกไปนอกบ้านควรถ่ายรูปชุดที่ใส่ในวันนั้น
– ฝึกความจำ ให้ท่องหรือเขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์เป็นประจำ
– อย่าให้คลาดสายตาเมื่อพาออกนอกบ้าน
ถ้าผู้มีภาวะสมองเสื่อมหลงออกจากบ้าน

ติดต่อสถานีตำรวจ โรงพยาบาลใกล้บ้าน
มูลนิธิประชาบดี โทร.1300
จส.100 โทร.*1808 (กดดาวก่อนกดเลข) หรือ 1137
มูลนิธิกระจกเงาโทร. 080 775 2673
การเตรียมตัวย้ายบ้าน
ปัญหาที่พบเมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมต้องย้ายบ้าน ติดบ้าน ไม่ยอมย้าย แปลกที่ ไปไม่นานร้องกลับบ้าน หลงทิศ ...
โซนอันตราย
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะหลงลืม ช่วยเหลือตัวเองไม่ค่อยได้ คล้ายกับเด็กเล็ก ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การดูดเสมหะในปาก
การดูดเสมหะเป็นการขจัดน้ำลายหรือเสมหะซึ่งกีดขวางทางเดินหายใจของผู้ที่มีเสมหะมากและไอเอาออกมาเองได้ไม่ดีนัก
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลต่อสุขภาพร่างกาย ...
การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความยืดหยุ่น
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อสามารถทำได้ทุกวัน ทุกหนึ่งชั่วโมง ...
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เกิดจากอะไรบ้าง
กลุ่มโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.