รู้ได้อย่างไรว่าไขมันเกินหรือยัง?
อ้วนไม่อ้วนเราดูที่ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันเป็นหลัก ถึงแม้มีน้ำหนักปกติ แต่ถ้าเนื้อเยื่อไขมันเกิน นั่นคุณอ้วนแล้ว เพราะเนื้อเยื่อไขมัน คือ สาเหตุของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไขมันคั่งในตับ โรคหัวใจและหลอดเลือด
ชาย หญิง
กล้ามเนื้อ 45% 36%
ไขมันสำหรับการทำงานของร่างกาย 3% 12%
เนื้อเยื่อไขมัน 12% 15%
กระดูก 15% 12%
อื่น ๆ 25% 25%

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีเนื้อเยื่อไขมันเกินหรือยัง?
วัดได้ด้วยเครื่องชั่งพิเศษ
เป็นเครื่องที่ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายอย่างละเอียด ได้แก่ น้ำหนัก มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน ไขมันในช่องท้อง น้ำในร่างกาย และอายุการทำงานของร่างกาย
วัดได้ด้วยเครื่องชั่งพิเศษ
เป็นเครื่องที่ใช้ในการวิเคราะห์ส่วนประกอบของร่างกายอย่างละเอียด ได้แก่ น้ำหนัก มวลกระดูก มวลกล้ามเนื้อ มวลไขมัน ไขมันในช่องท้อง น้ำในร่างกาย และอายุการทำงานของร่างกาย

แต่ถ้ามีเครื่องชั่งธรรมดา เราก็พอระวังตัวได้ว่าอ้วนหรือยัง โดยดูจากค่าดัชนีมวลกาย

การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย หรือ บีเอ็มไอ (BMI)
วิธีการคำนวณโดย เอาน้ำหนัก (กก.) หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งค่า BMI ปกติควรอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 กก./ตรม. ทั้งหญิงและชาย ถ้าเกินกว่านี้จัดว่า “อ้วนทั้งตัว”
วิธีการคำนวณโดย เอาน้ำหนัก (กก.) หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง ซึ่งค่า BMI ปกติควรอยู่ระหว่าง 18.5 – 24.9 กก./ตรม. ทั้งหญิงและชาย ถ้าเกินกว่านี้จัดว่า “อ้วนทั้งตัว”
เรียบเรียงจากหนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา สีฬหกุล กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา สีฬหกุล กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่เกี่ยวข้อง