โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เกิดจาก

ขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือเซลล์ในร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลในเลือดเปลี่ยนเป็นพลังงาน ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงเป็นเวลานาน ส่งผลต่อร่างกายหลายส่วน โดยเฉพาะหลอดเลือดอักเสบและอุดตัน

นำไปสู่สารพัดโรค

สมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์และหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจตีบ จอประสาทตาเสื่อม ตาบอด ไตวายเรื้อรัง ปวดขา เท้าขาดเลือดอาจต้องตัดขา

อาการเตือน

น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย กลางคืนลุกเข้าห้องน้ำเกิน 2 ครั้ง เหนื่อยง่าย ตาพร่ามัว เป็นแผลง่ายหายยาก คัน เบื่ออาหาร หิวบ่อย ชาปลายมือปลายเท้า

ใครเสี่ยง

คนในครอบครัวเป็นเบาหวาน อ้วนน้ำหนักเกิน ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีแป้งมาก ติดเครื่องดื่มหวาน ๆ ดื่มเหล้าเบียร์ประจำ อายุมากขึ้น กินยาบางชนิด
เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด

ป้องกันได้

1. การตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อป้องกัน เฝ้าระวังการป่วยจากโรคเรื้อรัง
2. ลดน้ำหนักถ้าน้ำหนักเกิน
3. ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
4. ไม่กินแป้งและน้ำตาลมาก
5. เน้นอาหารกากใย ผัก ผลไม้ไม่หวานจัด
6. เปลี่ยนจากข้าวขาว เป็น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวไรซ์เบอรี่
7. ดื่มน้ำเปล่า
8. กินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา (24 กรัม/วัน)
เมื่อดูปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มแล้ว ลด-เลี่ยง ดีกว่า !

ชา กาแฟ โกโก้เย็น = น้ำตาล 12 ช้อนชา
ชาเขียวรสน้ำผึ้ง = น้ำตาล 8-12 ช้อนชา
น้ำอัดลม = น้ำตาล 7 ช้อนชา
เครื่องดื่มชูกำลัง = น้ำตาล 6 ช้อนชา
นมเปรี้ยวขวดเล็ก = น้ำตาล 4 ช้อนชา
เบียร์ 1 กระป๋อง (360 มล.) คาโบไฮเดรต 12 กรัม = น้ำตาล 3 ช้อนชา
ไอศกรีม (1 ถ้วย 55 กรัม) = น้ำตาล 2 ช้อนชา
โรคความดันโลหิตสูง
โรค “เพชฌฆาตเงียบ” มักไม่มีอาการ แต่สามารถควบคุมได้ถ้ารักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ส่วนใหญ่หาสาเหตุชัดเจนไม่พบ ...
ไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดสูง เกิดจากกรรมพันธุ์ รับประทานอาหารไขมันสูง ไม่ออกกำลังกาย ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
แนวทางในการสื่อสารกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างเหมาะสม
การดูแลผู้สูงวัยด้วยทัศนคติที่มองมนุษย์เป็นมนุษย์ ...
โรคเบาหวาน (และคณะ…เพราะเขาไม่เคยมาคนเดียว)
แต่ละคนสามารถผลิตอินซูลินต่างกัน ดังนั้น ...
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง NCDs เกิดจากอะไรบ้าง
กลุ่มโรคไม่ติดต่อส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต
รถเข็นวีลแชร์
รถเข็นวีลแชร์เป็นอุปกรณ์ช่วยผู้ที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.