การสร้างเสน่ห์ และคุณค่าในตัวผู้สูงอายุ

เมื่ออยู่ในวัยสูงอายุ ควรปรับเปลี่ยนความคิด ทำความเข้าใจลูกหลาน และปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
1. อยู่กับลูกหลานต้องเข้าใจเขาไม่ได้เติบโตมาในสังคมแบบเรา ไม่จู้จี้ ขี้บ่น ไม่ควรเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ชีวิตและยอมรับการใช้ชีวิตในแบบของเขา
2. ผู้สูงอายุต้องมีเพื่อน มีสังคม มีงานอดิเรกที่พึงพอใจ (ถ้าทำให้เกิดรายได้ ยิ่งดี) อย่าอยู่บ้านมากเกินไป เพื่อลดปัญหาความเหงา ว้าเหว่
3. เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้สามารถสื่อสารกับเพื่อนฝูง และลูกหลานได้ง่าย ใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานมากนัก เช่น สามารถสั่งซื้อของกินของใช้ในบ้าน หรือบริการต่าง ๆ ได้เองจากเว็ปไซต์ หาข้อมูลที่สนใจเกี่ยวกับสุขภาพ การออกกำลังกาย กิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ ฯลฯ ได้ด้วยตัวเอง
เรียบเรียงจาก หนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : นางสาวศิริวรรณ อรุณทิพย์ไพฑูรย์
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์
ระบบการดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย
เพื่อให้เกิดเป็น “สังคมเพื่อคนทุกวัย” และให้ผู้สูงอายุที่แข็งแรง ยังคงแข็งแรงนานที่สุด
ปัญหาการกินและการขับถ่ายที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่อถึงวัยสูงอายุ ประสิทธิภาพการทำงานภายในร่างกายลดลง รวมทั้งระบบทางเดินอาหาร ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
การสังเกตภาษากายของผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ดูแลด้วยความเคารพ ให้เกียรติ อ่อนโยน มีเมตตา รักและเข้าใจ ...
เมื่อทราบว่าคนในบ้านมีภาวะสมองเสื่อม เรา
เมื่อคนในครอบครัวมีภาวะสมองเสื่อม ...
รู้ได้อย่างไรว่าไขมันเกินหรือยัง?
อ้วนไม่อ้วนเราดูที่ปริมาณเนื้อเยื่อไขมันเป็นหลัก ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.