โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง
โรค “เพชฌฆาตเงียบ” มักไม่มีอาการแต่สามารถควบคุมได้ถ้ารักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

เกิดจาก

ส่วนใหญ่หาสาเหตุชัดเจนไม่พบ และเกิดจากกรรมพันธุ์ อายุมากขึ้น การกินอยู่และการใช้ชีวิตไม่เหมาะสม การเป็นความดันโลหิตสูงนาน ๆ ไม่ควบคุมระดับความดันโลหิต ผนังเส้นเลือดแดงจะถูกทำลาย หนาตัวและแข็ง ไขมันในเลือดสูงจับตามผนังด้านในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบลงเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ มีโอกาสเกิดสมองเสื่อม เมื่อเป็นความดันโลหิตสูงแล้วควรรักษา กินยาตามแพทย์สั่ง ปรับเปลี่ยนการกินอยู่และการใช้ชีวิต

สัญญาณเตือน

วัดค่าความดันโลหิตได้มากเกินกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทปวดศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยหอบง่าย หน้ามืดวิงเวียน ปวดศีรษะปวดต้นคอ คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว มือเท้าชา

นำไปสู่

โรคสมองเสื่อม โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดในสมอง โรคไตเสื่อม

ใครเสี่ยง

คนที่เป็นโรคความดันโลหิตในวัยกลางคน เป็นแล้วไม่ได้รักษา อ้วนน้ำหนักเกิน กินเค็มจัด กินผงชูรสมาก ไม่ออกกำลังกาย ดื่มเหล้าเบียร์ สูบบุหรี่ เป็นโรคไตเรื้อรัง เครียดจัดเป็นประจำ ไม่คลายเครียด

ป้องกันได้โดย

1. ตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. รับประทานอาการครบ 5 หมู่ในสัดส่วนและปริมาณเหมาะสม เน้นผักและผลไม้ไม่หวานจัด เลี่ยงรสชาติเค็มจัด เนื้อสัตว์แปรรูป อาหารหวานจัด มันจัด
3. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
4. ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน
5. หาเวลาพักหรือทำกิจกรรมคลายเครียด
6. พักผ่อนให้พอเพียง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากหลอดเลือดเสื่อมสภาพ เกิดปัญหาหลอดเลือดแดงแข็งและอุดตัน ...
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เกิดจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือเซลล์ในร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การรักษาผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบไม่ใช้ยา
การรักษาแบบไม่ใช้ยา ...
แนะนำเกี่ยวกับสมองเสื่อม
สมองเสื่อมคืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ...
น่ารู้เกี่ยวกับโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีมากใน เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง ...
เคล็ดลับลดปวดเมื่อยในผู้สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักมีอาการปวดเมื่อยตามตัว เนื่องจากอวัยวะต่าง ๆ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.