ผู้ป่วยสมองเสื่อมกินน้อย จะทำอย่างไรดี

ผู้ป่วยสมองเสื่อมกินน้อย จะทำอย่างไรดี
หลายบ้านมักมีเรื่องกังวลใจเมื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมรับประทานอาหารน้อยลง ทั้ง ๆ ที่พยายามดูแลเลือกสรรอาหารการกินเพื่อสุขภาพ  หรือเมนูที่ผู้ป่วยชอบแล้วก็ยังรับประทานได้น้อย น้ำหนักลด ผอมลง 
กินน้อยจากหลายสาเหตุ 
- ลืมรับประทานอาหาร
- สายตาแยกแยะระหว่างจาน ช้อน ส้อม และอาหารไม่ได้ 
- โต๊ะอาหารรกทำให้สับสน 
- ลืมวิธีใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้ป่วยทำเองไม่ถูก หรือเก็บไว้ในจุดที่ผู้ป่วยมองหายาก  
- บรรยากาศวุ่นวาย เสียงดังอึกทึก 
- มักจะโดนดุเมื่อทำอะไรผิดพลาด เช่น ทำข้าวหกเลอะเทอะ กินช้า ฯลฯ
12 เคล็ดลับช่วยผู้ป่วยสมองเสื่อมกินได้ดีขึ้น
หลากหลายวิธีช่วยให้ผู้ป่วยสมองเสื่อมได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

1. สร้างบรรยากาศดี ๆ   รับประทานอาหารด้วยกัน ปิดเสียงดังจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือเปิดเพลงช้า ๆ  เบา ๆ ที่ผู้ป่วยชอบเพื่อสร้างความสงบผ่อนคลาย ปรับอารมณ์ผู้ดูแลให้สงบ ให้คำแนะนำแทนการดุหรือตำหนิเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยรู้สึกกดดัน  
2. บนโต๊ะอาหารวางเฉพาะของใช้จำเป็นสำหรับผู้ป่วย เช่น จาน ช้อนส้อม แก้วน้ำ เพื่อป้องกันผู้ป่วยสับสน 
3. เตรียมอาหารในปริมาณพอเหมาะกับที่ผู้ป่วยรับประทาน 
4. จัดอาหารที่รับประทานง่าย ตักง่าย เคี้ยวง่าย หากมีหลายอย่างเกินไปผู้ป่วยอาจสับสน  
5. อาจเลือกอาหารที่ผู้ป่วยหยิบจับสะดวกไม่ต้องกังวลกับการหกเลอะ อย่างอาหารที่ใช้มือหยิบเองได้  เช่น  ซาลาเปา ขนมปัง แซนด์วิช ผลไม้หั่นชิ้นพอคำ ฯลฯ
6. เลือกอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบทั้ง 5 หมู่
7. เลือกอาหารที่ผู้ป่วยชอบ 
8. จัดเวลารับประทานอาหารให้ตรงเวลาเป็นกิจวัตรประจำวันให้ผู้ป่วยคุ้นเคยกับมื้ออาหารในเวลาเดิม ๆ 
9. หาอุปกรณ์ที่ผู้ป่วยใช้ง่าย ช้อนส้อม จาน แก้วน้ำที่ออกแบบมาพิเศษ มีลักษณะของด้ามจับใหญ่ช่วยให้จับถนัด จานขอบยกสูงกันอาหารหก แก้วน้ำมีหูจับถนัด เลือกสีของโต๊ะ จาน ชาม ช้อนส้อม ตัดกันเพื่อให้แยกแยะได้ง่าย 
10. ติดป้ายการใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เตาอุ่นอาหาร กระติกน้ำ หรือตั้งเวลาเตือนรับประทานอาหารในโทรศัพท์มือถือถ้าผู้ป่วยยังเข้าใจวิธีการใช้งาน
11. ให้เวลาผู้ป่วยรับประทานอาหารเพิ่มขึ้น ไม่ควรเร่ง
12. ให้กำลังใจ คำชม หรือชักชวน แทนการบังคับ 
น่ารู้  
- ผู้ป่วยมักลืมดื่มน้ำทำให้ร่างกายมีโอกาสขาดน้ำได้ ดูแลหรือคอยกระตุ้นผู้ป่วยให้ดื่มน้ำพอเพียงในแต่ละวัน อาจให้ดื่มน้ำเปล่า น้ำสมุนไพร น้ำผลไม้ หรือ น้ำซุป อาหารเหลวที่ผู้ป่วยชอบสลับกันไป 
- คอยสังเกตอาการ เคี้ยวอาหารหรือร่างกายย่อยได้ดีหรือไม่ ผู้ป่วยอาจสำลักบ่อยเนื่องจากมีปัญหาการกลืน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับอาหารให้เหมาะสม หากผู้ป่วยผอมลงหรือดูแลแล้วน้ำหนักไม่ขึ้นมาเป็นปกติควรปรึกษาแพทย์เช่นกัน 
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
EP10 ครอบครัว คือยารักษาใจ
คุณแม่ของผมเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2492 ...
การจัดยา
การจัดยาในแต่ละวันใส่กล่อง จะลดการที่ผู้มีภาวะสมองเสื่อม ...
ยาที่มีฤทธิ์ต้านยาสมองเสื่อม
ข้อควรระวังในการใช้ยารักษาภาวะสมองเสื่อมร่วมกับยากลุ่มอื่น
น่ารู้เกี่ยวกับวิตามินและเกลือแร่
วิตามินและเกลือแร่ เป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 3 คือ พืชผัก ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.