Do & Do not เยี่ยมผู้ป่วยสมองเสื่อม
แต่เนื่องจากความสามารถของสมองเสื่อมลง การรับรู้ ความเข้าใจ และอารมณ์ของผู้ป่วยจึงแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป การไปเยี่ยมจำเป็นต้องมีความละเอียดอ่อนสักนิด
การเยี่ยมเยียนอย่างเหมาะสมนอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกดี ๆ แล้ว ผู้มาเยี่ยมก็จะรู้สึกว่าการมาเยี่ยมนั้นไม่ยุ่งยาก ช่วยคลายความเหงาหรือเบื่อให้กับผู้ป่วยได้ทางหนึ่ง
มีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อยสำหรับผู้ที่จะไปเยี่ยมผู้ป่วยมาฝากดังนี้
1. เยี่ยมผู้ป่วยคราวละประมาณ 1-2 คน หากนัดกันไปหลายคนอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อยทยอยเข้าเยี่ยม การพบคนจำนวนมากกระตุ้นอารมณ์ด้านลบของผู้ป่วย ทำให้เกิดความวิตกกังวล สับสน
2. ผู้ดูแลกำหนดเวลาเยี่ยม สังเกตดูจากช่วงไหนของวันผู้ป่วยพร้อม ซึ่งมักจะเป็นเวลาที่อารมณ์ดีสดชื่น และกำหนดเวลาไม่ให้นานจนผู้ป่วยอ่อนล้า
3. ปรับสิ่งแวดล้อมให้มีความสงบ ผ่อนคลาย ลดเสียงรบกวนต่าง ๆ
4. พูดกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงเป็นมิตร อ่อนโยน ใช้ประโยคง่าย ๆ กระชับ
5. สบตาผู้ป่วยขณะพูด
6. แนะนำชื่อตัวเอง อธิบายเพิ่มเล็กน้อย เช่น เป็นเพื่อน เป็นหลาน เป็นลูกน้อง ฯลฯ
7. ชวนพูดคุยเรื่องง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ฟังแล้วสบายใจ เล่าเรื่องราวให้ผู้ป่วยฟัง หรือชวนคุยเรื่องเก่า ๆ ที่ผู้ป่วยในระยะแรกมักจะจำเรื่องเก่าได้มาก
8. การพูดคุยอาจมีการซักถาม อดทนรอคำตอบอาจช้าสักนิด
9. ถึงแม้ผู้ป่วยจะเล่าในสิ่งที่ไม่ตรงกับความจริง ไม่ต้องแก้ความเข้าใจให้ถูกต้อง เออออไปกับผู้ป่วยโดยไม่ใส่อารมณ์กระตุ้นความรู้สึกมากขึ้น
10. นอกจากพูดคุย อาจมีกิจกรรมเบา ๆ เช่น ชวนดูรูปภาพเก่า ๆ ภาพที่ผู้ป่วยชอบ เช่น ดอกไม้ สัตว์เลี้ยง ฟังเพลง เล่นเกมง่าย ๆ เป็นต้น
1. เลี่ยงการตั้งคำถามที่ผู้ป่วยต้องพยายามนึก หรือพูดในทำนองว่าเรื่องแค่นี้น่าจะจำได้
2. ถ้าผู้ป่วยตอบไม่ได้หรือตอบผิด อย่าพยายามให้ผู้ป่วยนึกคำตอบที่ถูกต้อง
3. ไม่ควรพูดคุยถึงผู้ป่วยกับคนอื่นแบบไม่ให้เกียรติ เช่น พูดถึงอาการของผู้ป่วย หรือตำหนิให้ผู้ป่วยอับอาย
4. เลี่ยงการพูดเสียงดังเกินควร หรือพูดคุยสนุกสนานมากเกินไปจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้ป่วยอารมณ์พลุ่งพล่าน หรือนอนไม่หลับ
5. เลี่ยงการยืนสูงกว่าผู้ป่วยและเว้นระยะห่างพอเหมาะ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกถูกคุกคาม
6. เลี่ยงการบังคับให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่าง ๆ ถึงแม้จะเป็นความหวังดีก็ตาม
บทความที่เกี่ยวข้อง