การเตรียมพื้นที่

ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเฉพาะจุดเสี่ยงเกิดอันตราย อย่าจัดบ้านใหม่หมด ไม่ควรเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์หลัก ไม่ขยับของใช้ประจำตัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อม จนเจ้าตัวไม่สบายใจ ไม่คุ้นเคย เดินไม่ถูก หาของไม่เจอ อาจไม่ยอมอยู่บ้านเพราะจำไม่ได้
การเตรียมพื้นที่
การเตรียมพื้นที่

พื้นและทางเดินปลอดภัย

ราบเสมอกัน ไม่มันวาว ไม่ลื่น ไม่มีลาย
 

ผู้ป่วยใช้รถเข็น

- ทำทางลาด เป็นแบบถาวรแข็งแรง ไม่ชันมาก (สูง 1 เมตร ยาว 12-20 เมตร)
- ในห้องน้ำและห้องนอน เผื่อพื้นที่กลับรถเข็น กว้างอย่างน้อย 150 เซนติเมตร

 

ผู้ป่วยเดินไม่คล่อง

- ติดตั้งราวจับตรงทางเดิน และห้องน้ำ
- ถ้ามีพื้นทางเดินต่างระดับ ให้ใช้สีตัดกัน เห็นชัดเจน
- เลี่ยงพื้นลายทาง ลายหมากรุก จะสับสนไม่กล้าเดิน

 

แสงสว่างพอเพียง

สบายตา ไม่จ้า ไม่มีมุมมืด

– ติดไฟให้ทั่วและควรมีแสงที่สม่ำเสมอ และไม่ก่อให้เกิดเงา ควรเลือกมุมในการติดตั้งที่จะไม่เกิดแสงบาดตาและสะท้อน หรือมีเงาตกกระทบมาก และรบกวนสายตา
– ไม่วางสิ่งของตรงหน้าต่าง
– ควรมีม่านเปิดให้แสงธรรมชาติเข้ามาได้ แต่ควรเป็นม่าน 2 ชั้น โดยชั้นแรกเป็นม่านบาง ๆ เพื่อกรองแสง และอีกชั้นเป็นม่านทึบแสงเมื่อเวลาต้องการปิดเพื่อความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น
– ผ้าม่านดังกล่าวควรเป็นระบบอัตโนมัติ เมื่อเวลาค่ำจะได้ปิดไม่ให้เห็นเงาภาพสะท้อนตัวเองจากกระจก ซึ่งผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจจะจำไม่ได้
– เลี่ยงการใช้ไฟสลัว อาจทำให้เข้าใจผิดหรือเห็นภาพหลอนได้
– ไฟตรงบันไดและในห้องน้ำต้องสว่างและพร้อมใช้งาน สวิตช์ไฟอยู่ใกล้ ๆ หรือเป็นแบบอัตโนมัติที่มีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว (motion detector) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมใช้สวิตช์ในขณะมือเปียก หรือควรให้ไฟเปิดก่อนที่จะเดินขึ้น-ลงบันได
– ควรติดตั้งหลอดไฟอัตโนมัติที่มีระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว (motion detector) ในมุมมืดที่เดินผ่านบ่อย ๆ

 

ลดเสียงดังรบกวน

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่ได้ยินเสียงดังรบกวนบ่อย ๆ อาการอาจแย่ลง

– ถ้าใกล้ถนนให้ปิดประตู หน้าต่าง และควรหาช่องระบายให้อากาศถ่ายเทด้วย
– ปลูกต้นไม้กันเสียงในบริเวณรอบ ๆ บ้านที่ใกล้ถนน
– ใช้วัสดุดูดซับเสียง เช่น พื้นพรมและผ้าม่าน
– เลี่ยงปูพื้นลามิเนตที่เดินแล้วมีเสียงดัง อาจจะใช้เป็นพื้นกระเบื้องแบบด้านที่ไม่ลื่นและไม่มันวาว
การปรับสภาพแวดล้อมในบ้านประยุกต์ได้ตามอาการของผู้มีภาวะสมองเสื่อมและความพร้อมของแต่ละครอบครัว
สิ่งอันตรายในบ้านที่อาจนึกไม่ถึง
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ มีปัญหาสายตามองเห็นไม่ชัด เคลื่อนไหวติดขัด ...
ปรับบ้านเพื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมจะเสี่ยงหกล้มมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไปถึง 8 เท่า การปรับ “บ้าน” ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลต่อสุขภาพร่างกาย ...
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมและการป้องกัน
สมองเสื่อมเกิดจากหลายสาเหตุ ...
โรคสมองเสื่อมกับปัญหาพฤติกรรมอารมณ์และจิตใจ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจมีปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ เช่น วิตกกังวล ...
สมุนไพรช่วยบำบัดอาการสมองเสื่อมได้หรือไม่
มีการกล่าวถึงพืชและสมุนไพรบางชนิดว่าช่วยรักษาอาการสมองเสื่อมได้ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.