น่ารู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารที่มีมากในอาหารหมู่ที่ 2 ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล
คาร์โบไฮเดรต มีบทบาทที่สำคัญ คือ รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ถ้ากินน้อยเกินไปจะทำให้น้ำตาลในเลือดลดต่ำ วิงเวียน เป็นลม อาจช็อคหมดสติได้ แต่ตรงกันข้าม ถ้ากินมากเกินไป น้ำตาลในเลือดสูง ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อ้วน นำไปสู่การ เป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันสูงในเลือด ในเด็กถ้ากินน้ำตาลมากๆ จะมีฟันผุ และขาดสารอาหารตัวอื่นได้
ครึ่งหนึ่งของพลังงานที่ควรได้รับต่อวันต้องมาจากคาร์โบไฮเดรต เช่น หากต้องการพลังงานจากอาหาร 2,000 กิโลแคลอรี ต้องเป็นพลังงานที่มาจากคาร์โบไฮเดรต 1,000 กิโลแคลอรี่
สารอาหารที่ร่างกายต้องการ 6 กลุ่ม
มีความจำเป็นต้องกินให้ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
กลุ่มที่ 1 โปรตีน : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
กลุ่มที่ 2 คาร์โบไฮเดรต : ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล
กลุ่มที่ 3 และ 4 วิตามินและเกลือแร่ : ผัก ผลไม้
กลุ่มที่ 5 ไขมัน : ไขมันจากสัตว์และพืช
กลุ่มที่ 6 : น้ำ
มีความจำเป็นต้องกินให้ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
กลุ่มที่ 1 โปรตีน : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
กลุ่มที่ 2 คาร์โบไฮเดรต : ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล
กลุ่มที่ 3 และ 4 วิตามินและเกลือแร่ : ผัก ผลไม้
กลุ่มที่ 5 ไขมัน : ไขมันจากสัตว์และพืช
กลุ่มที่ 6 : น้ำ
เรียบเรียงจากหนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล
กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล
กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
บทความที่เกี่ยวข้อง