น้ำ สารอาหารที่ร่ายกายขาดไม่ได้

น้ำ คือ สารอาหารตัวที่ 6 มีแทรกอยู่ในอาหารทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้ ร่างกายยังได้น้ำจากน้ำต่างๆ ที่เราดื่ม และน้ำจากขบวนการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย
น้ำ เป็นสารอาหารที่ร่างกายขาดไม่ได้ เราอาจอดอาหารเป็นเดือนได้ แต่ไม่ได้ดื่มน้ำเพียงสองสามวันก็ตายได้ น้ำจึงมีความสำคัญต่อชีวิตคนเป็นที่สองรองจากออกซิเจน
น้ำ เป็นส่วนประกอบของเซลล์ในร่างกาย ช่วยให้ปฏิกิริยาต่างๆ ในร่างกายเกิดขึ้นได้ และทำหน้าที่เป็นตัวหล่อลื่นแก่ร่างกาย ช่วยการไหลเวียนของสารอาหารและช่วยเรื่องการขับถ่ายของเสีย หากขาดน้ำ ร่างกายและอ่อนเพลีย วิงเวียน ปากแห้ง ผิวหนังแห้ง ปัสสาวะลดลง การทำงานต่างๆ ของร่างกายเริ่มเสียสมดุล
ในกรณีเป็นโรคบางอย่างที่ร่างกายไม่ควรได้รับน้ำมากเกิน เช่น โรคไต โรคหัวใจ ถ้าได้รับน้ำมากไป น้ำจะคั่งอยู่ในส่วนนอกของเซลล์ ทำให้เกิดอาการบวมตามที่ต่างๆ ได้ เช่น แขน ขา ช่องท้อง ถ้าเป็นมากๆ น้ำจะไปอัดอยู่ในถุงลมของปอด เกิดอาการหอบเหนื่อย และตายได้เช่นกัน
วัยผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำ ให้ได้อย่างน้อยประมาณ 2,000 มล. ต่อวัน หรือ 8 แก้ว โดยดื่มแบบจิบทีละน้อยตลอดวัน แทนการดื่มคราวละมากๆ
สารอาหารที่ร่างกายต้องการ 6 กลุ่ม 
มีความจำเป็นต้องกินให้ครบในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย 
กลุ่มที่ 1 โปรตีน : เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่วเมล็ดแห้ง
กลุ่มที่ 2 คาร์โบไฮเดรต : ข้าว เผือก มัน และน้ำตาล 
กลุ่มที่ 3 และ 4 วิตามินและเกลือแร่ : ผัก ผลไม้
กลุ่มที่ 5 ไขมัน : ไขมันจากสัตว์และพืช
กลุ่มที่ 6 : น้ำ   

เรียบเรียงจากหนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข

ผู้เขียน : รศ.ดร.ปรียา ลีฬหกุล
กลุ่มสาขาวิชาโภชนศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
น่ารู้เกี่ยวกับไขมัน
การขาดกรดไขมันที่จำเป็น ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานไม่สมบูรณ์ เช่น ระบบประสาท ระบบภูมิต้านทาน ...
มาเข้าใจเรื่องฟันกันเถอะ
เป้าหมายในชีวิตของคนเราในวัยสูงอายุ มักตอบว่า อยากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่มีโรค แต่หารู้ไม่ว่า ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สูงวัยกับภัยจากความอ้วน
ความอ้วนไม่เป็นผลดีต่อคนทุกเพศทุกวัย เนื่องจากนำไปสู่หลายโรค เช่น ...
การออกกำลังกายสำหรับโรคหัวใจ
โรคหัวใจก็ออกกำลังกายได้ ...
สมองเสื่อม สังคมช่วยดูแลได้อย่างไร
หยิบยื่นน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ...
โรคเบาหวาน (และคณะ…เพราะเขาไม่เคยมาคนเดียว)
แต่ละคนสามารถผลิตอินซูลินต่างกัน ดังนั้น ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.