แนวทางการเคลื่อนย้ายผู้มีภาวะสมองเสื่อม

แนวทางการเคลื่อนย้ายผู้มีภาวะสมองเสื่อม

เคลื่อนย้ายผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่ออาการสมองเสื่อมมาถึงระยะที่ 2 แขนขาเริ่มเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ ต้องช่วยพยุงลุกขึ้นหรือพาเดินไปเข้าห้องน้ำ และในระยะที่ 3 ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงจนกระทั่งนอนเฉย ๆ ติดเตียง ผู้ดูแลควรใส่ใจเรื่องความปลอดภัยทั้งของผู้มีภาวะสมองเสื่อมและตัวผู้ดูแลเอง

ข้อแนะนำ

1. ช่วยพยุงตัวจากนั่งเป็นยืน

ให้เท้าวางราบกับพื้น ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ลุกง่ายขึ้น

2. พยุงตัวพาเดิน

หาเข็มขัดเส้นค่อนข้างหนาคาดเอวผู้มีภาวะสมองเสื่อม รัดให้กระชับไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป ช่วยให้การพยุงตัวสะดวกและปลอดภัย หรือให้สวมกางเกงที่มีขอบเอวแข็งแรงให้จับถนัดมือได้เช่นกัน
เลี่ยงการพยุงตัวแบบหิ้วปีกหรือสอดแขนจับใต้รักแร้ อาจทำให้เอ็นไหล่ผู้มีภาวะสมองเสื่อมฉีกขาด การประคองเอวจะปลอดภัยกว่า

3. ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่อัมพาตครึ่งซีก

ผู้ดูแลพยุงตัวโดยประคองฝั่งที่อ่อนแรง

4. ระวังจังหวะพานั่งลง

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมบางรายอาจทิ้งตัวกระแทกแรง ๆ การมีเข็มขัดรัดรอบเอวจะช่วยชะลอจังหวะให้ช้าลง

5. พยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั่งรถเข็น

การพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมจากเตียง หรือจากการยืน เพื่อนั่งรถเข็น ควรเช็คว่าล็อกล้อรถเข็นก่อนทุกครั้ง

ถ้าผู้มีภาวะสมองเสื่อมยังพอยืนได้ การพยุงจากเตียงนั่งรถเข็น ให้นำรถเข็นมาเทียบติดกับเตียงแล้วพยุงให้ลุกขึ้นมากึ่งนั่งกึ่งยืน ไม่ต้องยืนเต็มตัว แล้วประคองนั่งรถเข็น (แค่ย้ายก้นจากเตียงมารถเข็น)

6. ปรับบ้านให้ปลอดภัย

ทางเดินโล่ง เดินสะดวก ทางเดินแสงสว่างเพียงพอ ระดับพื้นเท่ากัน ไม่มีพรม เลี่ยงการใช้พื้นต่างระดับ ป้องกันการสะดุด

7. หากใส่รองเท้าในบ้าน

เลือกที่เดินสะดวก ไม่ลื่น หลวม ไม่สะดุดล้มง่าย

8. ระยะนอนติดเตียง

ประคองจากที่นอนขึ้นมานั่ง ให้ขาห้อยลงมาข้างเตียงก่อน ผู้ดูแลช่วยประคองเฉพาะท่อนบนขึ้นมาจะลุกง่าย

ประคองจากนั่งเป็นยืน ขยับตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมมาข้างเตียง ให้วางเท้าราบกับพื้นก่อน โน้มตัวมาข้างหน้า แล้วค่อยพยุงให้ลุกขึ้นยืน

9. พยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมตัวเกร็งแข็งออกแรงต้าน ออกเดิน

ผู้ดูแลคนเดียวอาจประคองไม่ไหว ต้องหาคนช่วย ขึ้นอยู่กับขนาดตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมและการเดินไกลแค่ไหน หากใกล้ ๆ คนเดียวอาจพยุงได้

10. ตัวช่วยพยุง

ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเกาะบ่าคนพยุงตัวเพื่อช่วยผ่อนแรง เกาะโต๊ะ ตู้ ที่แข็งแรงมั่นคง ไม้เท้า ตามสภาวะที่สามารถทำได้

11. ค่อย ๆ เปลี่ยนท่าช้า ๆ

ป้องกันผู้มีภาวะสมองเสื่อมเหนื่อยเกินไปเพราะอันตรายต่อหัวใจ การเปลี่ยนท่าเร็วเกินไปเลือดจะเลี้ยงสมองไม่ทัน ทำให้หน้ามืดเป็นลมได้

12. ดูกำลังว่าสามารถพยุงผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่

เลี่ยงการทำเกินกำลังของผู้ดูแล อาจทำให้หกล้มหรือบาดเจ็บทั้งผู้มีภาวะสมองเสื่อมและผู้ดูแล
การเพิ่มสมรรถนะและวิธีการผ่อนคลายร่างกาย
ผู้ดูแลอาจมีความเหนื่อยล้าสะสม เครียดกับอาการผู้มีภาวะสมองเสื่อม ปัญหาขาดรายได้ กินไม่เป็นเวลา ...
10 สัญญานเตือนผู้ดูแลเครียด
ผู้ดูแลมีโอกาสเครียดสูง ลองมาสำรวจสัญญานเตือน ที่จะบอกว่าผู้ดูแลเครียดมากแล้วหรือยัง
บทความอื่นที่น่าสนใจ
การกลืน
การกลืนลำบากเกิดขึ้นกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมในระยะอาการใดก็ได้ ...
ครอบครัว คือยารักษาใจ
คุณแม่ของผมเกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2492 ...
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เกิดจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ...
อุปกรณ์ดูดเสมหะ
อุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดเสมหะ ช่วยในการขจัดน้ำลายหรือเสมหะ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.