ระวัง ! คำพูดทำร้ายผู้ป่วยสมองเสื่อม ก่อปัญหาเพิ่ม
โจทย์ยากข้อหนึ่งสำหรับผู้ดูแลคือ การไม่ใช้คำพูดทำร้ายผู้ป่วยสมองเสื่อม ซึ่งตัวผู้ดูแลเองก็ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นคนที่ใกล้ชิดที่สุด อยู่ด้วยกันทุกวัน เผชิญทั้งความเหน็ดเหนื่อยและความเครียดสะสม จึงมีโอกาสใช้คำพูดทำร้ายผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัว หรือถึงแม้ว่าผู้ดูแลพยายามเตือนตนเองก็ยังมีโอกาสสติหลุดได้ในบางครั้ง
แต่ ! อย่าปล่อยให้การทำร้ายด้วยวาจาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือทำจนเป็นความเคยชิน ถึงจะไม่ได้ทำร้ายทางร่างกายก็จริง การทำร้ายจิตใจสามารถส่งผลเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วย และสร้างปัญหาในการดูแลเพิ่มมากขึ้น
แต่ ! อย่าปล่อยให้การทำร้ายด้วยวาจาเกิดขึ้นบ่อยครั้ง หรือทำจนเป็นความเคยชิน ถึงจะไม่ได้ทำร้ายทางร่างกายก็จริง การทำร้ายจิตใจสามารถส่งผลเสียทั้งต่อตัวผู้ป่วย และสร้างปัญหาในการดูแลเพิ่มมากขึ้น
สัญญาณเตือนผู้ป่วยถูกทำร้ายทางวาจา
ถึงแม้คนทั่วไปจะรู้สึกว่าผู้ป่วยพูดไม่รู้เรื่อง แต่ผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมรับรู้ว่าคำพูดนั้นทำร้ายจิตใจ ทำให้มีความรู้สึกด้านลบ โกรธ กลัว ไม่สบายใจ
ผู้ดูแลอาจสังเกตสัญญาณเตือนว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดจากการถูกทำร้ายด้วยคำพูดที่รุนแรง ไม่เหมาะสม
- แสดงอาการกระวนกระวายมากขึ้น เช่น โยกตัว ดูดนิ้ว หรือพูดพึมพำกับตัวเอง
- มีอาการกลัว หวาดระแวง
- อารมณ์ไม่ดี หรือสภาพอารมณ์แย่ลงกว่าเดิม
- เลิกทำกิจกรรมที่เคยทำตามปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ต่อต้าน ทำให้การดูแลยากขึ้น
- มีอาการซึมเศร้า
ผู้ดูแลอาจสังเกตสัญญาณเตือนว่าความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจเกิดจากการถูกทำร้ายด้วยคำพูดที่รุนแรง ไม่เหมาะสม
- แสดงอาการกระวนกระวายมากขึ้น เช่น โยกตัว ดูดนิ้ว หรือพูดพึมพำกับตัวเอง
- มีอาการกลัว หวาดระแวง
- อารมณ์ไม่ดี หรือสภาพอารมณ์แย่ลงกว่าเดิม
- เลิกทำกิจกรรมที่เคยทำตามปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ต่อต้าน ทำให้การดูแลยากขึ้น
- มีอาการซึมเศร้า
พูดแบบไหนทำร้ายผู้ป่วย
- ใช้คำพูดรุนแรง หรือพูดหยาบคาย
- ตะคอก ก้าวร้าวใส่ผู้ป่วย
- พูดประชดประชัน
- คอยพูดตำหนิ จี้จุดด้อยหรือสิ่งที่ผู้ป่วยทำไม่ได้
- ใช้คำพูดดูถูก
- พูดให้อับอาย หรือเล่าพฤติกรรมไม่เหมาะสมให้คนอื่นฟังต่อหน้าผู้ป่วย
- ข่มขู่ให้กลัว
- พูดใส่ผู้ป่วยว่าทำให้ผู้ดูแลลำบากอย่างไร
- ทำเหมือนผู้ป่วยเป็นตัวตลก ล้อเลียน เยาะเย้ย
- ไม่พูดด้วย แสดงท่าทีเมินเฉยต่อผู้ป่วย
- ใช้คำพูดรุนแรง หรือพูดหยาบคาย
- ตะคอก ก้าวร้าวใส่ผู้ป่วย
- พูดประชดประชัน
- คอยพูดตำหนิ จี้จุดด้อยหรือสิ่งที่ผู้ป่วยทำไม่ได้
- ใช้คำพูดดูถูก
- พูดให้อับอาย หรือเล่าพฤติกรรมไม่เหมาะสมให้คนอื่นฟังต่อหน้าผู้ป่วย
- ข่มขู่ให้กลัว
- พูดใส่ผู้ป่วยว่าทำให้ผู้ดูแลลำบากอย่างไร
- ทำเหมือนผู้ป่วยเป็นตัวตลก ล้อเลียน เยาะเย้ย
- ไม่พูดด้วย แสดงท่าทีเมินเฉยต่อผู้ป่วย
8 วิธีลดและเลี่ยงการทำร้ายด้วยคำพูด
1. เลิกพยายามอธิบายเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลหรือความจริง ไม่เอาชนะ เบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นแทน
2. เมื่อเริ่มโกรธผู้ป่วยให้เดินเลี่ยงไปหายใจเข้าออกลึกๆ ให้อารมณ์สงบลงก่อนค่อยกลับมาใหม่
3. เลี่ยงการบังคับ ใช้การชักชวนด้วยข้อเสนอที่ผู้ป่วยสนใจ เช่น กิจกรรม อาหารว่าง หรือขนมที่ชอบ
4. ผู้ดูแลสังเกตตัวเองมักจะโกรธผู้ป่วยด้วยเรื่องไหน ลองแก้ปัญหาในจุดนั้นก่อน หรือรู้ว่าปัญหานั้นจะเกิดในเวลาไหนอย่างไร เตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้า
5. ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและอาการต่าง ๆ
6. เตือนตนเองว่าเพราะผู้ป่วยมีปัญหาทางสมองจึงมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พยายามไม่ถือสา มีเมตตาต่อผู้ป่วย ลดอคติและหันมามองมุมดี ๆ ของผู้ป่วย
7. ให้เกียรติผู้ป่วยในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นเดียวกับเรา ถึงแม้จะสมองเสื่อมก็ควรได้รับเกียรตินี้เท่ากับคนทั่วไปเช่นกัน
8. ระบายความรู้สึก หรือเข้าร่วมกลุ่มผู้ดูแลแลกเปลี่ยนความรู้สึกและรับคำแนะนำดี ๆ
1. เลิกพยายามอธิบายเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผลหรือความจริง ไม่เอาชนะ เบี่ยงเบนความสนใจไปเรื่องอื่นแทน
2. เมื่อเริ่มโกรธผู้ป่วยให้เดินเลี่ยงไปหายใจเข้าออกลึกๆ ให้อารมณ์สงบลงก่อนค่อยกลับมาใหม่
3. เลี่ยงการบังคับ ใช้การชักชวนด้วยข้อเสนอที่ผู้ป่วยสนใจ เช่น กิจกรรม อาหารว่าง หรือขนมที่ชอบ
4. ผู้ดูแลสังเกตตัวเองมักจะโกรธผู้ป่วยด้วยเรื่องไหน ลองแก้ปัญหาในจุดนั้นก่อน หรือรู้ว่าปัญหานั้นจะเกิดในเวลาไหนอย่างไร เตรียมการรับมือไว้ล่วงหน้า
5. ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและอาการต่าง ๆ
6. เตือนตนเองว่าเพราะผู้ป่วยมีปัญหาทางสมองจึงมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พยายามไม่ถือสา มีเมตตาต่อผู้ป่วย ลดอคติและหันมามองมุมดี ๆ ของผู้ป่วย
7. ให้เกียรติผู้ป่วยในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งเช่นเดียวกับเรา ถึงแม้จะสมองเสื่อมก็ควรได้รับเกียรตินี้เท่ากับคนทั่วไปเช่นกัน
8. ระบายความรู้สึก หรือเข้าร่วมกลุ่มผู้ดูแลแลกเปลี่ยนความรู้สึกและรับคำแนะนำดี ๆ
ผู้ดูแลอาจสังเกตตนเองและจดโน้ตสั้น ๆ เวลาใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสม หากพบว่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ลองใช้เทคนิคต่าง ๆ ช่วยแก้ไข
เมื่อเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยไปในทางที่ดี ดูแลง่าย ต่อต้านน้อยลง ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลอารมณ์ดีขึ้น ขอให้ผู้ดูแลอย่าลืมภาคภูมิใจในความพยายามของตนเอง
เมื่อเห็นผลการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยไปในทางที่ดี ดูแลง่าย ต่อต้านน้อยลง ทั้งผู้ป่วยและผู้ดูแลอารมณ์ดีขึ้น ขอให้ผู้ดูแลอย่าลืมภาคภูมิใจในความพยายามของตนเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง