การเป็นผู้อนุบาลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
เมื่อภาวะสมองเสื่อมมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือการดูแลตัวเอง มีโอกาสเกิดปัญหาด้านกฎหมายที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว จึงจำเป็นต้องมีผู้ดำเนินการแทนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อภาวะสมองเสื่อมมาถึงจุดที่ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือการดูแลตัวเอง มีโอกาสเกิดปัญหาด้านกฎหมายที่ทำให้เกิดความขัดแย้งในครอบครัว ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินได้ เช่น ต้องการเงินมารักษาตัว หรือผู้ป่วยถูกหลอกลวงให้เสียทรัพย์สินหรือผลประโยชน์
จึงจำเป็นต้องมีผู้ดำเนินการแทนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ป่วยเป็น “บุคคลไร้ความสามารถ” โดยมีผู้อนุบาล คอยทำธุรกรรมต่าง ๆ ทางกฎหมายแทนผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- บุพการี : บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
- ผู้สืบสันดาน : ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุตรบุญธรรมที่ได้จดทะเบียน บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองทางนิตินัยหรือพฤตินัย
- ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้ที่ปกครองผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- พนักงานอัยการ
- กรุงเทพมหานคร ติดต่อ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานหลักเมือง และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
- เอกสารที่ได้รับความยินยอมจากญาติ (พ่อ-แม่ คู่สมรส บุตร) เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และ เอกสารแสดงความเกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หากเสียชีวิตแล้วต้องมีใบมรณบัตร หรือเอกสารอื่น ๆ ที่รับรองโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
- รูปภาพผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- เตรียมค่าธรรมเนียมศาล
- ผู้เกี่ยวข้องเซ็นลงนามต่อหน้าทนาย
- รอจดหมายจากอัยการแจ้งวันนัดไปศาล
- พยานไปให้การและนำเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวข้องไปด้วย ในกรุงเทพมหานครให้ไปที่ศาลครอบครัวและเยาวชนกลาง
- ถ้าไม่มีใครร้องแย้งก็ถือว่าคดีสิ้นสุด ขออัยการคัดเอกสารรับรองต่าง ๆ ไว้ แล้วเข้ารับเอกสารตามเวลานัด
- เอกสารที่หาไม่พบ เช่น ใบมรณบัตรของผู้ที่เสียชีวิตไปนานแล้ว สามารถออกหนังสือขอคัดสำเนาจากสำนักงานเขตได้ แต่ระบบฐานข้อมูลที่ค้นจากคอมพิวเตอร์ของทุกเขตจะมีข้อมูลย้อนหลังได้ถึงปี พ.ศ. 2523 หากเสียชีวิตก่อนปี พ.ศ. 2523 ต้องขอคัดที่สำนักงานเขตที่ออกใบมรณบัตร
ใครร้องขอเป็นผู้อนุบาลได้บ้าง ?
- สามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย- บุพการี : บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
- ผู้สืบสันดาน : ลูก หลาน เหลน ลื่อ บุตรบุญธรรมที่ได้จดทะเบียน บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองทางนิตินัยหรือพฤตินัย
- ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ ผู้ที่ปกครองผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- พนักงานอัยการ
ติดต่อที่ไหน ?
- ต่างจังหวัด ติดต่อ ศาลากลางจังหวัด- กรุงเทพมหานคร ติดต่อ สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานหลักเมือง และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง
สอบถาม-ปรึกษาได้ที่ไหน ?
เจ้าหน้าที่ทีมให้คำปรึกษาประชาชนด้านกฎหมาย โทร. 0 2222 8121 ต่อ 102-105ต้องจ้างทนายไหม ?
อาจจ้างทนายความ หรือถ้าไม่มีเงินจ้าง จะมีทนายอาสาหน่วยงานของรัฐ คอยช่วยเหลือดูเอกสาร เขียนคำร้องส่งอัยการให้ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ศาลทุกจังหวัดจะมีทนายอาสา ส่วนกรุงเทพมหานครอยู่ที่สำนักงานอัยการสูงสุด (หลักเมือง) ชั้น 1 ห้องทนายอาสา ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชนต้องทำอะไรบ้าง ?
- สอบถามเจ้าหน้าที่ว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง เอกสารบางอย่างอาจต้องดาวโหลดจากเว็บไซต์เอกสารที่ต้องเตรียม
- ใบรับรองแพทย์ ออกไม่เกิน 1 เดือนนับถึงวันยื่นคำร้อง รายงานความเห็นจากแพทย์ว่าผู้มีภาวะสมองเสื่อมป่วยจริงและไม่มีทางหายเป็นปกติ ต้องการผู้ดูแลพร้อมลงนาม มีตราโรงพยาบาลรับรอง แพทย์ผู้ออกใบรับรองแพทย์มักจะต้องไปเป็นพยานศาลเพื่อชี้แจงสถานะของผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม ขอให้ญาติแจ้งกับแพทย์และขอเวลาที่แพทย์สะดวกที่จะไปเป็นพยานศาล- เอกสารที่ได้รับความยินยอมจากญาติ (พ่อ-แม่ คู่สมรส บุตร) เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และ เอกสารแสดงความเกี่ยวข้อง เช่น ทะเบียนสมรส สูติบัตร หากเสียชีวิตแล้วต้องมีใบมรณบัตร หรือเอกสารอื่น ๆ ที่รับรองโดยเจ้าหน้าที่รัฐ
- รูปภาพผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- เตรียมค่าธรรมเนียมศาล
- ผู้เกี่ยวข้องเซ็นลงนามต่อหน้าทนาย
- รอจดหมายจากอัยการแจ้งวันนัดไปศาล
- พยานไปให้การและนำเอกสารตัวจริงที่เกี่ยวข้องไปด้วย ในกรุงเทพมหานครให้ไปที่ศาลครอบครัวและเยาวชนกลาง
- ถ้าไม่มีใครร้องแย้งก็ถือว่าคดีสิ้นสุด ขออัยการคัดเอกสารรับรองต่าง ๆ ไว้ แล้วเข้ารับเอกสารตามเวลานัด
หมายเหตุ
- การดำเนินเรื่องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือนหรืออาจนานกว่านั้น- เอกสารที่หาไม่พบ เช่น ใบมรณบัตรของผู้ที่เสียชีวิตไปนานแล้ว สามารถออกหนังสือขอคัดสำเนาจากสำนักงานเขตได้ แต่ระบบฐานข้อมูลที่ค้นจากคอมพิวเตอร์ของทุกเขตจะมีข้อมูลย้อนหลังได้ถึงปี พ.ศ. 2523 หากเสียชีวิตก่อนปี พ.ศ. 2523 ต้องขอคัดที่สำนักงานเขตที่ออกใบมรณบัตร
บทความที่เกี่ยวข้อง