พินัยกรรมชีวิต

พินัยกรรมชีวิต
การวางแผนเตรียมการล่วงหน้าในเรื่องต่าง ๆ มีประโยชน์ต่อผู้มีภาวะสมองเสื่อม รวมทั้งการเตรียมตัวจากไปในวาระสุดท้ายโดยไม่ต้องทนทุกข์ทรมาน

การทำพินัยกรรมชีวิต

หรือ หนังสือแสดงเจตนา หรือ Living Will หมายถึง การทำหนังสือแสดงความประสงค์ว่าไม่ต้องการการดูแลทางการแพทย์ที่ทำไปเพื่อยื้อชีวิตเมื่อมาถึงวาระสุดท้าย หยุดความทรมานทั้งจากอาการเจ็บป่วยและวิธีการรักษา ผู้มีภาวะสมองเสื่อม ที่เริ่มมีอาการหรือเพิ่งทราบว่าเป็นสมองเสื่อม ยังรับรู้และเข้าใจได้ดี สามารถทำพินัยกรรมชีวิตได้ด้วยตนเอง หรือให้ผู้อื่นช่วยเขียนแล้วลงลายเซ็นหรือลายมือ โดยมีพยานเซ็นรับรู้

น่ารู้เกี่ยวกับพินัยกรรมชีวิต

1. หากไม่ได้ทำเป็นเอกสาร ควรพูดคุยกับญาติหรือคนใกล้ชิดและแพทย์ให้รับทราบถึงความประสงค์ของตนเอง
2. หากไม่ได้ทำพินัยกรรมชีวิต อาจเลือกผู้ที่สามารถตัดสินใจแทนผู้ป่วย เป็นตัวแทนบันทึกและแจ้งทุกฝ่ายให้รับทราบว่า เมื่ออาการมาถึงระยะท้ายจะไม่รับการรักษาที่ยื้อชีวิตโดยทรมานร่างกาย
3. ทำเอกสาร 2 ชุด เอกสารจริงเก็บไว้กับตนเองหรือญาติ สำเนาเก็บไว้กับโรงพยาบาล
4. สามารถเปลี่ยนแปลงความต้องการได้ถึงแม้จะทำพินัยกรรมชีวิตแล้วก็ตาม
5. หากทำหนังสือพินัยกรรมชีวิตไว้หลายฉบับ ให้ถือตามฉบับที่ทำครั้งสุดท้าย

หนังสือพินัยกรรมชีวิตประกอบด้วย

1. ข้อมูลของผู้ทำพินัยกรรมชีวิต เช่น ชื่อ สกุล อายุ เลขบัตรประจำตัวประชาชน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
2. วัน เดือน ปีที่ทำหนังสือ
3. ชื่อพยานและคุณสมบัติของพยานที่รับรองสติสัมปชัญญะของผู้ทำหนังสือแสดงเจตนา หากมีใบรับรองแพทย์ก็แนบไว้ด้วย
4. ระบุประเภทของการรักษาที่ไม่ต้องการ
5. อาจระบุรายละเอียดอื่น ๆ เช่น ต้องการเสียชีวิตที่บ้าน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรม
6. ถ้าไม่ได้เขียนเอง ให้ระบุชื่อผู้เขียนหรือผู้พิมพ์
7. ลายมือชื่อหรือลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมชีวิต และผู้เขียนหรือผู้พิมพ์
8. อาจระบุชื่อคนใกล้ชิดที่ผู้ทำพินัยกรรมชีวิตไว้ใจ ต้องเป็นผู้มีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมาย ทำหน้าที่ตัดสินใจตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมชีวิต
9. ถ้าในหนังสือพินัยกรรมชีวิตระบุให้ใครตัดสินใจปฏิเสธการรักษาแทนตน บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้ในหนังสือพินัยกรรมชีวิตด้วย
การเป็นผู้อนุบาลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมาถึงจุดที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร การตัดสินใจ หรือการดูแลตัวเอง ...
สิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุจากภาครัฐ
เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์และมีสัญชาติไทย รัฐเตรียมสวัสดิการตามสิทธิของผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง
บทความอื่นที่น่าสนใจ
สูงวัยหลับยากตื่นง่าย
ผู้สูงอายุมักมีปัญหานอนไม่หลับ ...
การให้ออกซิเจนที่บ้าน
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่มีภาวะเหนื่อย เพลียจากการหายใจไม่อิ่ม ...
ปัญหาการกินและการขับถ่ายที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ
เมื่อถึงวัยสูงอายุ ประสิทธิภาพการทำงานภายในร่างกายลดลง ...
สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ
สุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุมีผลต่อสุขภาพร่างกาย ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.