สูงอายุระวังขาดโปรตีน

สูงอายุระวังขาดโปรตีน
หนึ่งในสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการนั่นก็คือ “โปรตีน” แต่พบว่าผู้สูงอายุหลายท่านมักจะขาดโปรตีน รับประทานเนื้อสัตว์หรืออาหารที่มีโปรตีนน้อยลง ทั้ง ๆ ที่ยังต้องการใช้โปรตีนเพื่อสร้างความแข็งแรงของร่างกาย 
โปรตีนจำเป็นนะ
ประโยชน์ของโปรตีนต่อร่างกายของเรา 
1. สร้างกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรง ป้องกันกล้ามเนื้อลีบ
2. ช่วยการทรงตัว ไม่หกล้มง่าย ช่วยปกป้องกระดูก ลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ พลัดตกหกล้ม
3. ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดี ลดโอกาสเกิดการติดเชื้อ
4. ช่วยให้รู้สึกสดชื่นมีพลัง 
5. ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอภายในร่างกาย เมื่อเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเข้ารับการผ่าตัดจะช่วยให้แผลหายเร็ว
สูงอายุมักขาดโปรตีนเพราะ…
1. ฟันไม่ดีหรือฟันเหลือน้อย เคี้ยวอาหารที่มีความเหนียวลำบาก ซึ่งเนื้อสัตว์มักจะเหนียว 
2. ผู้สูงอายุหลายท่านมักจะบอกว่าเนื้อสัตว์เหม็น จึงไม่อยากรับประทาน
3. เนื้อสัตว์บางชนิดย่อยยาก รับประทานแล้วท้องอืดไม่สบายท้อง จึงมักหลีกเลี่ยง 
เลือกโปรตีนสำหรับวัยสูงอายุ
1. โปรตีนย่อยง่าย เช่น ไข่ เนื้อปลา ไก่ ไม่ติดหนัง ไขมันน้อยหรือไม่มีไขมัน 
2. เคี่ยวหรือต้มเนื้อสัตว์นาน ๆ ให้เปื่อย ช่วยให้เคี้ยวและย่อยง่ายขึ้น 
3. เต้าหู้ น้ำเต้าหู้ นม ที่มีน้ำตาลน้อย 
4. ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง 
น่ารู้
- ผู้สูงอายุควรได้โปรตีนประมาณ 1 กรัม /น้ำหนักตัว 1 กก./วัน เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัมควรได้รับโปรตีน 50 กรัม/วัน
- รับประทานโปรตีนจากหลากหลายแหล่งสลับกัน เพื่อให้ได้รับกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน
- การบริโภคโปรตีนที่พอเหมาะร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยชะลอการสูญเสียกล้ามเนื้อ และช่วยสร้าง กล้ามเนื้อได้ดี 
- ผู้สูงอายุควรเคลื่อนไหวร่างกาย หรือใช้แรงทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับวัย เพื่อช่วยลดไขมันและสร้างน่ารู้เกี่ยวกับโปรตีนกล้ามเนื้อให้แข็งแรง 
- ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคไต หรือตับ  ควรระมัดระวังปริมาณการได้รับโปรตีน และควรฟังคำแนะนำจากแพทย์ 
อ่านเพิ่มเติม : น่ารู้เกี่ยวกับโปรตีน
พูดซ้ำถามซ้ำทำเครียดทั้งวัน
หลายบ้านอาจเจอปัญหาคล้ายกันนั่นก็คือ ผู้สูงอายุพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ ...
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อม หมายถึง ภาวะที่ความสามารถของสมองเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่สามารถทำการงานต่าง ๆ ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ตัวอย่างตารางการใช้ชีวิตประจำวันและการออกกำลังกาย
แนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละสัปดาห์
หวานไปก็อ่อนหวานได้
ถ้าเราเป็นเบาหวานแล้ว ไม่ต้องกลัว ต้องดูแลรูปร่างไม่ให้อ้วน ...
การเป็นผู้อนุบาลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
เมื่อผู้มีภาวะสมองเสื่อมมาถึงจุดที่สูญเสียความสามารถในการสื่อสาร ...
รู้แน่อย่างไรว่าเป็นสมองเสื่อม
คุณหมอจะวินิจฉัยว่าเป็นสมองเสื่อม ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.