เยียวยาสมองเสื่อมด้วยหัวใจ
record_voice_over อ่านให้ฟัง
พ่อเกิดในครอบครัวชาวนา ต่อมาเข้ารับราชการ ในกองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ เงินเดือนจากการรับราชการ ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัวจึงลาออก เพื่อประกอบอาชีพ ทำนาทำสวนและขับเรือโดยสาร เพื่อเลี้ยงภรรยา และลูก ๆ 5 คน ภาพของพ่อ คือ เป็นผู้ชายร่างใหญ่ ขยันขันแข็ง ทำงานทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ลูกไม่เคยเห็นพ่อนอนกลางวันเลย พ่อเป็นคนรักครอบครัวมาก
บ้านของเรามีสวนผลไม้ เช่น มะม่วง ทุเรียน พ่อจะเก็บของดีที่สุด ไปทำบุญที่วัดเป็นอันดับแรก และเก็บขาย แล้วเก็บผลไม้ส่วนเหลือที่ยังดี ๆ ให้ลูกกิน ส่วนพ่อจะกินมะม่วงที่งอมจวนเน่า หรือขายไม่ได้แล้ว พ่อทำงานหนักมาตลอดชีวิต ทั้งทำนา ทำสวน ขับเรือแท็กซี่ เพื่อส่งให้ลูก ๆ เรียนหนังสือ จนพี่ ๆ เรียนจบ ทำงาน และมีครอบครัวแยกบ้านไป แม่เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ.2528 เวลานั้นพ่ออายุ 68 ปี หลังจากนั้น พ่อก็ทำงานสวนน้อยลง ส่วนมากจะอยู่บ้านคนเดียว ลูกกำลังยุ่งอยู่กับธุรกิจจัดสวน ซึ่งต้องออกไปทำงานแต่เช้า และกลับบ้านไม่เป็นเวลา พี่ใหญ่จะทำอาหารมาให้พ่อวันละ 2 – 3 อย่าง พ่อจะแบ่งใส่บาตร แบ่งให้คนที่อาศัยอยู่ข้างบ้านและกินเอง พ่อชอบอาหารพวกหมู เป็ด ไก่ ขนมเค้ก อาหารไขมัน แกงกะทิ พวกลูก ๆ คิดว่าน่าจะเป็นของดีมีประโยชน์ จึงจัดให้เต็มที่ ชดเชยที่เมื่อก่อนพ่อไม่ค่อยได้กิน ส่วนมากพ่อจะอยู่บ้านคนเดียว กว่าลูกจะกลับจากทำงานก็ดึก ลูกถึงบ้านพ่อก็เข้านอนแล้ว ตอนเช้าลูกก็รีบไปทำงาน ลูกกับพ่อจึงแทบไม่ได้คุยกันเลย ส่วนพวกพี่ ๆ ก็ยุ่งอยู่กับการทำงาน และครอบครัวของตนเอง
ภาพของพ่อ คือ เป็นผู้ชายร่างใหญ่ ขยันขันแข็ง ทำงานทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจรดเย็น ลูกไม่เคยเห็นพ่อนอนกลางวันเลย พ่อเป็นคนรักครอบครัวมาก
เริ่มแรกด้วยเส้นโลหิตในสมองตีบ
ประมาณ 2 ปีหลัง จากแม่เสียชีวิต พ่อไม่สบายมากบ่นว่าเวียนหัว วันหนึ่งพ่อหน้ามืดล้มลง ลูกพาพ่อไปโรงพยาบาล เอ็กซเรย์สมองพบว่าเส้นโลหิตในสมองตีบ พวกลูก ๆ จึงให้พ่อไปอยู่ในความดูแลของพี่คนหนึ่ง ซึ่งประกอบอาชีพส่วนตัวที่บ้าน พี่พาพ่อไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ และรับยาขยายเส้นเลือดในสมอง ติดต่อกันประมาณ 7 ปี ส่วนอาหารพ่อยังคงกินเหมือนเดิม
ประมาณ 2 ปีหลัง จากแม่เสียชีวิต พ่อไม่สบายมากบ่นว่าเวียนหัว วันหนึ่งพ่อหน้ามืดล้มลง ลูกพาพ่อไปโรงพยาบาล เอ็กซเรย์สมองพบว่าเส้นโลหิตในสมองตีบ พวกลูก ๆ จึงให้พ่อไปอยู่ในความดูแลของพี่คนหนึ่ง ซึ่งประกอบอาชีพส่วนตัวที่บ้าน พี่พาพ่อไปรักษาที่โรงพยาบาลรัฐ และรับยาขยายเส้นเลือดในสมอง ติดต่อกันประมาณ 7 ปี ส่วนอาหารพ่อยังคงกินเหมือนเดิม
หลังจากพ่อไปอยู่กับพี่ ดิฉันก็อยู่บ้านริมแม่น้ำคนเดียว ทำงานรับเหมาจัดสวนทุกวัน แทบไม่มีวันหยุด อาทิตย์สองอาทิตย์ จึงจะได้แวะไปเยี่ยมพ่อที่บ้านพี่สักครั้ง จนดิฉันเริ่มป่วยเป็นโรค เอส แอล อี อาการหนักมาก ต้องเข้าโรงพยาบาล ผลกระทบจากโรค เอส แอล อี ทำให้ประสาทตาเสื่อม เนื่องจากแพ้ยาแก้อักเสบ ตาข้างขวามองไม่เห็น ส่วนข้างซ้ายพอเห็นลาง ๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จึงเลิกทำงานแล้วไปอยู่นครปฐม เพื่อให้พี่อีกคนหนึ่งดูแล ประมาณ 2 ปี เมื่อค่อยยังชั่ว ก็กลับมาอยู่ที่บ้านริมน้ำที่ปทุมธานี พี่จึงพาพ่อมาอยู่บ้านเดียวกัน เพื่อจะได้ดูแลพ่อกับน้องได้ทั้งสองคน ต่อมาโรค เอส แอล อี ขึ้นสมอง มีอาการเหมือนคนสติไม่ดี เครียด โมโหง่าย เมื่อต้องอยู่กับพ่อที่เริ่มมีอาการสมองเสื่อม ลูกกับพ่อจึงทะเลาะกันเป็นประจำ ต่างคนต่างไม่เข้าใจกัน และไม่รู้ว่า อีกฝ่ายก็ป่วยเหมือนกัน โชคดีที่มีพี่หลายคนหมุนเวียน สับเปลี่ยนกันมาดูแลสม่ำเสมอ พี่จ้างป้าอิ่มมาอยู่เป็นเพื่อน และช่วยทำงานบ้าน พ่อยังตื่นนอนแต่เช้าทุกวันเพื่อใส่บาตร ป้าอิ่มหุงข้าว และจัดเตรียมของใส่บาตรให้ ส่วนลูกจะเตรียมอาหารเช้าให้พ่อ พ่อกินนมหรือโอวัลตินกับขนมเค้กทุกวัน เป็นประจำมาตั้งแต่ไปอยู่กับพี่ เมื่อกินเสร็จมักนั่งหลับ ที่โต๊ะข้างหน้าต่าง ลูกให้ไปนอนก็ไม่ยอมไป ชอบนั่งหลับ บางครั้งก็ไปนั่งหลับที่ศาลาท่าน้ำ เพราะพ่อชอบคอยเฝ้าเขี่ยสวะ ที่ลอยมาติดสะพาน พวกลูก ๆ กลัวพ่อจะตกน้ำไปโดยไม่มีใครเห็น แต่ก็ห้ามไม่ได้ ดีที่พ่อยังไม่ไปไหนนอกบ้าน
พ่อไม่สบายมากบ่นว่าเวียนหัว วันหนึ่งพ่อหน้ามืดล้มลง ลูกพาพ่อไปโรงพยาบาล เอ็กซเรย์สมองพบว่าเส้นโลหิตในสมองตีบ
พ่อไม่ใช่คนเดิมอีกต่อไป
เวลากลางวันอากาศร้อน ลูกจะชวนพ่อลงไปผูกเปลนอน ที่ใต้ถุนบ้าน วันหนึ่งเผลอหลับไปตื่นขึ้นมาพ่อก็หายไปแล้ว ป้าอิ่มออกเดินตาม เพราะลูกสาวมองไม่เห็น และถูกแสงแดดจ้าไม่ได้ ป้าอิ่มพบพ่ออยู่ที่บ้านพี่อีกคน จากนั้นมาพ่อก็มักหายไป อยู่บ้านพี่คนโน้นบ้างคนนี้บ้าง บางครั้งออกไปตั้งแต่กลางวัน จนมืดยังไม่ยอมกลับบ้าน บางทีมืดแล้วก็จะออกไปอีก อ้างว่าไปกินน้ำอัดลม ที่บ้านพี่แล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน ลูกอธิบายว่าพี่เป็นลูก พ่อไม่ต้องให้เงินหรอก พ่อก็ไม่เชื่อ ออกไปอีกจนได้ทั้ง ๆ ทางเดินก็มืด และน่ากลัวว่าจะมีงู
เวลากลางวันอากาศร้อน ลูกจะชวนพ่อลงไปผูกเปลนอน ที่ใต้ถุนบ้าน วันหนึ่งเผลอหลับไปตื่นขึ้นมาพ่อก็หายไปแล้ว ป้าอิ่มออกเดินตาม เพราะลูกสาวมองไม่เห็น และถูกแสงแดดจ้าไม่ได้ ป้าอิ่มพบพ่ออยู่ที่บ้านพี่อีกคน จากนั้นมาพ่อก็มักหายไป อยู่บ้านพี่คนโน้นบ้างคนนี้บ้าง บางครั้งออกไปตั้งแต่กลางวัน จนมืดยังไม่ยอมกลับบ้าน บางทีมืดแล้วก็จะออกไปอีก อ้างว่าไปกินน้ำอัดลม ที่บ้านพี่แล้วยังไม่ได้จ่ายเงิน ลูกอธิบายว่าพี่เป็นลูก พ่อไม่ต้องให้เงินหรอก พ่อก็ไม่เชื่อ ออกไปอีกจนได้ทั้ง ๆ ทางเดินก็มืด และน่ากลัวว่าจะมีงู
ครั้งหนึ่งพ่อมีพฤติกรรมที่น่าตกใจมาก คือ ถอดเสื้อผ้าลงอาบน้ำที่ท่าน้ำ พออาบน้ำเสร็จก็ขึ้นมาใส่เสื้อผ้าชุดเดิม เหมือนเด็ก ๆ ที่กลัวเสื้อผ้าจะเปียก จึงถอดกองไว้ก่อนลงไปเล่นน้ำ ไม่เข้าใจว่าพ่อทำเช่นนั้นได้อย่างไร พ่อเริ่มมีอาการผิดปกติมากขึ้น ชอบถามซ้ำ ๆ ยิ่งถ้าเป็นเรื่องที่พ่อต้องทำ เช่น เมื่อถึงเวลาจะไปรับบำนาญ ก็จะถามว่าเมื่อไร ถามแล้วถามอีก วันละหลายสิบเที่ยว คนตอบก็ตอบเหมือนเดิม จนชักโมโห รู้สึกว่าน่าเบื่อ น่ารำคาญ หรือบางครั้งพ่อก็จะถามหาของ ที่ไม่มีในบ้านเรา เมื่อบอกว่าไม่มีก็ไม่เชื่อ จะเอาให้ได้ ต้องบอกว่าอยู่ที่พวกพี่ ๆ เดี๋ยวเขาจะเอามาให้ ก็พอสงบไปบ้าง ยิ่งกว่านั้นพ่อยังคอยห่วงของ ระแวงว่ามีขโมย บางวันพ่อนั่งรื้อตะกร้าเสื้อผ้า รื้อออกหมดตะกร้า แล้วพับเก็บเข้าไปใหม่ ทำซ้ำ ๆ ครั้งละหลายชั่วโมง ลูกเรียกให้ไปกินข้าว หรืออาบน้ำก็ไม่ยอม พ่อบอกว่าเสื้อผ้าของพ่อหายหมด ไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทั้ง ๆ ที่ใส่เสื้อผ้าอยู่ครบ พยายามอธิบายว่า อยู่ครบพ่อก็ว่าหาย จบลงด้วยการที่ลูกกับพ่อทะเลาะกัน
ครั้งหนึ่งพ่อมีพฤติกรรมที่น่าตกใจมาก คือ ถอดเสื้อผ้าลงอาบน้ำที่ท่าน้ำ พออาบน้ำเสร็จก็ขึ้นมาใส่เสื้อผ้าชุดเดิม เหมือนเด็ก ๆ ที่กลัวเสื้อผ้าจะเปียก จึงถอดกองไว้ก่อนลงไปเล่นน้ำ
โดยปกติพ่อจะกินอาหารเป็นเวลา ไม่กินจุบจิบ แต่ระยะหลังลูกสังเกต เห็นความเปลี่ยนแปลง คือพ่อจะเดินผ่านไปมาบริเวณที่วางขนม และผลไม้ไว้ พ่อจะแอบหยิบกินเวลาไม่มีใครมอง แต่ถ้าเรียกให้กิน ก็ทำไม่สนใจ เมื่อถามว่าพ่อกินไปหรือเปล่า พ่อก็ปฏิเสธ บางครั้งกินกล้วยไข่เป็นหวี ๆ หรือน้อยหน่าเป็นกิโล ลูกจึงต้องวางของไว้พอประมาณ เพราะกลัวว่าพ่อจะกินมากเกินไป จนจุกแน่น
พ่อชอบซ่อนของส่วนตัว เช่น กระเป๋าเงิน เข็มขัด เสื้อผ้า พอจะใช้ก็หาไม่พบ บางครั้งก็จะเอารองเท้า ขันน้ำ เสื้อผ้า ขนม ผลไม้ ซ่อนไว้รวมกันใต้เตียงนอน กว่าจะพบผลไม้ก็เน่ามดขึ้นเต็มที่นอน ครั้งหนึ่งพ่อเอาเข็มขัดทหาร ที่คาดเอวทุกวันซ่อนไว้ก่อนอาบน้ำ แล้วก็ลงไปนั่งเรื่อยเฉื่อยที่ศาลาท่าน้ำ จนมืดกว่าจะอาบน้ำเสร็จ เมื่อใส่กางเกงเสร็จก็หาเข็มขัดไม่พบ พ่อเริ่มโวยวายว่ามีขโมย กว่าจะช่วยกันหา พบว่าพ่อซ่อนไว้ที่ช่องหัวเตียง เราทั้งขำ ทั้งโมโห ไม่รู้พ่อคิดอย่างไรเก็บเสียลึกลับ เวลาที่พ่อหาของไม่พบ พ่อจะโมโห ทำให้วุ่นวายกันทั้งบ้าน ลูกช่วยหาพบบ้างไม่พบบ้าง จนบัดนี้ก็ยังหากระเป๋าเงิน กับสร้อยคอพร้อมพระ และบัตรประจำตัวของพ่อไม่พบ เวลากลางคืน พ่อจะปูที่นอนกางมุ้งเอง อย่างเรียบร้อยมาก พับชายมุ้งเก็บใต้ที่นอน และเอาพัดลมตั้งโต๊ะเข้าไปไว้ในมุ้งด้วย จัดเสร็จเรียบร้อยก็เข้านอน พอลูกเคลิ้ม ๆ จะหลับได้ยินเสียงพ่อรื้อกระดานเตียงแทบทุกคืน ตื่นมาดูก็จะเห็นพ่อกำลังเปิดไม้กระดานที่ปูเตียง และเก็บที่นอน หมอน มุ้ง ยัดลงใต้เตียง เอาไม้ปูทับไว้ตามเดิม อีกสักพักก็รื้อออกมาแล้วเก็บเข้าไปใหม่ บางครั้งเสียงรื้อเตียงแล้วเงียบไป ก็คิดว่าพ่อคงจะนอนเรียบร้อยแล้ว แต่พอลุกออกมาดู เห็นพ่อนอนอยู่ที่พื้นข้างเตียง จึงปลุกพ่อแล้วช่วยกันปูที่นอน กางมุ้งใหม่เรียบร้อยแล้วชวนเข้านอน พ่อก็ทำตามโดยดี เราก็เข้าห้องนอน แต่ไม่ถึงชั่วโมงก็ได้ยินเสียงรื้อเตียงอีก บางคืนมีของแถม คือ พ่อพยายามเอาพัดลม ตั้งโต๊ะยัดลงไปใต้เตียงให้ได้ พยายามอธิบายให้พ่อเข้าใจ ว่าพัดลมจะพัง แต่พ่อก็ไม่ยอมเข้าใจ ดึงดันจะทำให้ได้ ส่วนเราทั้งโมโห ทั้งง่วง ก็เลยลงเอยด้วยการที่พ่อลูกทะเลาะกัน
พ่อชอบซ่อนของส่วนตัว เช่น กระเป๋าเงิน เข็มขัด เสื้อผ้า พอจะใช้ก็หาไม่พบ บางครั้งก็จะเอารองเท้า ขันน้ำ เสื้อผ้า ขนม ผลไม้ ซ่อนไว้รวมกันใต้เตียงนอน กว่าจะพบผลไม้ก็เน่ามดขึ้นเต็มที่นอน
ลูกได้มารู้ภายหลังว่า ผู้ป่วยสมองเสื่อม จะเห็นรูปทรงของสิ่งของ ผิดไปจากความเป็นจริง และจะคิดไปเอง พ่อจะคิดไปว่ามีขโมยเลยต้องซ่อนของ และไม่เข้าใจขนาดและรูปทรง ของสิ่งที่จะซ่อน ลูกอธิบายอย่างไรก็ไม่เข้าใจจะทำให้ได้ ในที่สุดลูกก็ต้องเข้าห้อง ปล่อยให้พ่อทำตามใจชอบ เพราะทะเลาะกันไปก็ไม่มีวันจบ
พฤติกรรมของพ่อที่เปลี่ยนไป ทำให้ดิฉันเครียดมาก พยายามควบคุมอารมณ์ แต่การอดกลั้นความโกรธ ความโมโหไม่ใช่เรื่องง่าย บางครั้งแน่นหน้าอกหายใจไม่ออก บางครั้งปวดศีรษะมาก คุณหมอที่รักษาโรคเอสแอลอี บอกว่าอาการของโรคกำเริบ และให้ยาคลายเครียดก่อนนอนเพื่อให้ได้พักผ่อน แต่พ่อก็รื้อเตียงทุกคืน ไม่ได้นอนหลับอยู่ดี คุณหมอแนะนำว่า ไม่ควรให้ลูกกับพ่ออยู่ร่วมกัน ตอนนั้นลูก ๆ สรุปกันว่าพ่อคงหลงเหมือนคนแก่ทั่ว ๆ ไป เราเป็นลูกต้องอดทนดูแลพ่อ ต้องกตัญญูต่อพ่อ พวกพี่ ๆ ก็มาช่วยกันดูแลพ่อมากขึ้น แต่เรายังไม่เข้าใจ ว่าพฤติกรรมของพ่อ เป็นอาการของภาวะสมองเสื่อม
ลูกได้มารู้ภายหลังว่า ผู้ป่วยสมองเสื่อม จะเห็นรูปทรงของสิ่งของ ผิดไปจากความเป็นจริง และจะคิดไปเอง พ่อจะคิดไปว่ามีขโมยเลยต้องซ่อนของ และไม่เข้าใจขนาดและรูปทรง ของสิ่งที่จะซ่อน
ย้อนกลับไปสู่วัยเยาว์
วันหนึ่งพ่อบอกลูกว่า มีหนังสือราชการมาให้ไปเกณฑ์ทหาร ลูกบอกว่าพ่อแก่แล้วไม่ต้องไปหรอก เขาให้คนหนุ่ม ๆ ไป พ่อก็ไม่เชื่อท่าทางกังวลมาก ว่าจะต้องไปเกณฑ์ทหาร เวลากลางคืนพ่อจะออกจากบ้านเพื่อไปเปิด – ปิดน้ำเข้าสวน ซึ่งเราไม่ได้ทำสวนมากว่า 10 ปีแล้ว บางทีถามว่าเอาหญ้าไปให้ควายกินหรือยังทั้ง ๆ ที่ไม่มีควายมานานแล้ว บางครั้งดิฉันหงุดหงิดอารมณ์เสีย ไม่เข้าใจว่าพ่อจะทำไปทำไม สวนก็เลิกทำนานแล้วควายก็ไม่มี จะวุ่นวายทำไม ยิ่งเป็นเวลากลางคืนง่วงนอน อธิบายอย่างไรพ่อก็ไม่ฟัง จะออกไปเปิดน้ำให้ได้ ไม่ยอมให้เปิดเพราะกลัวขโมย เข้าบ้าน ในที่สุดก็จบลงด้วยเสียงทะเลาะ
วันหนึ่งพ่อบอกลูกว่า มีหนังสือราชการมาให้ไปเกณฑ์ทหาร ลูกบอกว่าพ่อแก่แล้วไม่ต้องไปหรอก เขาให้คนหนุ่ม ๆ ไป พ่อก็ไม่เชื่อท่าทางกังวลมาก ว่าจะต้องไปเกณฑ์ทหาร เวลากลางคืนพ่อจะออกจากบ้านเพื่อไปเปิด – ปิดน้ำเข้าสวน ซึ่งเราไม่ได้ทำสวนมากว่า 10 ปีแล้ว บางทีถามว่าเอาหญ้าไปให้ควายกินหรือยังทั้ง ๆ ที่ไม่มีควายมานานแล้ว บางครั้งดิฉันหงุดหงิดอารมณ์เสีย ไม่เข้าใจว่าพ่อจะทำไปทำไม สวนก็เลิกทำนานแล้วควายก็ไม่มี จะวุ่นวายทำไม ยิ่งเป็นเวลากลางคืนง่วงนอน อธิบายอย่างไรพ่อก็ไม่ฟัง จะออกไปเปิดน้ำให้ได้ ไม่ยอมให้เปิดเพราะกลัวขโมย เข้าบ้าน ในที่สุดก็จบลงด้วยเสียงทะเลาะ
วันหนึ่งพ่อบอกลูกว่า มีหนังสือราชการมาให้ไปเกณฑ์ทหาร ลูกบอกว่าพ่อแก่แล้วไม่ต้องไปหรอก เขาให้คนหนุ่ม ๆ ไป พ่อก็ไม่เชื่อท่าทางกังวลมาก ว่าจะต้องไปเกณฑ์ทหาร
ดิฉันมารู้ภายหลังว่า การย้อนพฤติกรรมในอดีต และการไม่รับรู้เหตุผลของพ่อนั้น คือ อาการของภาวะสมองเสื่อม
พ่อเคยหลงทางกลับบ้านไม่ถูก วันหนึ่งพ่อขึ้นรถประจำทาง ไปตัดผมที่ตลาดในตัวเมือง ซึ่งเคยทำเป็นประจำ พอตัดผมเสร็จก็เดินวนอยู่ในตลาด คนรู้จักเขาถามว่าจะไปไหน พ่อบอกว่าจะกลับบ้านแต่กลับไม่ถูก เขาจึงพามาส่ง พวกลูก ๆ จึงต้องระวังพ่อมากขึ้น เวลาพ่อเดินไปไหน ก็จะให้ป้าอิ่มเดินตาม แต่ก็ยังพลาดจนได้ วันหนึ่งพ่อหายไป ดิฉันตกใจมากโทรศัพท์บอกพี่ ช่วยกันออกตามหาเป็นการใหญ่ จนพบพ่อเดินอยู่ริมถนน ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร โชคดีที่ไม่ได้ขึ้นรถประจำทาง เมื่อถามว่าพ่อจะไปไหน ก็ตอบว่าจะกลับบ้าน พ่อพยายามออกจากบ้านอยู่เรื่อย ๆ โดยบอกว่าจะกลับบ้าน เรื่องอยากกลับบ้านของพ่อนี้ บางครั้งต่างคนต่างโมโห จนเครียดทั้งสองฝ่าย ต่อมาลูกแก้ปัญหา โดยการบอกให้พ่อไปกินข้าวก่อน หรือบอกให้รอ เดี๋ยวเรือจะมารับ พยายามหันเหความสนใจไปทางอื่น ก็พอสงบไปได้บ้าง ในระยะหลังพ่อชอบรื้อตะกร้า รื้อเตียง รื้อพัดลม ลูกเลยชอบใจ เพราะดีกว่าพ่อเดินหายไปจากบ้าน
พ่อเคยหลงทางกลับบ้านไม่ถูก วันหนึ่งพ่อขึ้นรถประจำทาง ไปตัดผมที่ตลาดในตัวเมือง ซึ่งเคยทำเป็นประจำ พอตัดผมเสร็จก็เดินวนอยู่ในตลาด คนรู้จักเขาถามว่าจะไปไหน พ่อบอกว่าจะกลับบ้านแต่กลับไม่ถูก เขาจึงพามาส่ง พวกลูก ๆ จึงต้องระวังพ่อมากขึ้น เวลาพ่อเดินไปไหน ก็จะให้ป้าอิ่มเดินตาม แต่ก็ยังพลาดจนได้ วันหนึ่งพ่อหายไป ดิฉันตกใจมากโทรศัพท์บอกพี่ ช่วยกันออกตามหาเป็นการใหญ่ จนพบพ่อเดินอยู่ริมถนน ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร โชคดีที่ไม่ได้ขึ้นรถประจำทาง เมื่อถามว่าพ่อจะไปไหน ก็ตอบว่าจะกลับบ้าน พ่อพยายามออกจากบ้านอยู่เรื่อย ๆ โดยบอกว่าจะกลับบ้าน เรื่องอยากกลับบ้านของพ่อนี้ บางครั้งต่างคนต่างโมโห จนเครียดทั้งสองฝ่าย ต่อมาลูกแก้ปัญหา โดยการบอกให้พ่อไปกินข้าวก่อน หรือบอกให้รอ เดี๋ยวเรือจะมารับ พยายามหันเหความสนใจไปทางอื่น ก็พอสงบไปได้บ้าง ในระยะหลังพ่อชอบรื้อตะกร้า รื้อเตียง รื้อพัดลม ลูกเลยชอบใจ เพราะดีกว่าพ่อเดินหายไปจากบ้าน
ประมาณปี พ.ศ.2539 น้ำท่วมมาก ลูก ๆ กลัวว่าพ่อจะลงไปเขี่ยสวะ แล้วตกน้ำไปไม่มีใครเห็น จึงให้ใส่กุญแจ ที่ประตูหน้าบ้านโดยไม่เปิดเลย ให้ใช้ประตูทางหลังบ้านแทน และบอกพ่อว่ากุญแจติดไปกับพี่ที่นครปฐม พ่อโกรธมากเพียรจะเปิดประตูอยู่หลายวัน ในที่สุดก็เอาเลื่อยเหล็กออกมาเลื่อยกุญแจจนขาด
ดิฉันมารู้ภายหลังว่า การย้อนพฤติกรรมในอดีต และการไม่รับรู้เหตุผลของพ่อนั้น คือ อาการของภาวะสมองเสื่อม
ภาวะสมองเสื่อมนั้น ถ้าอาการของโรคแทรกซ้อนดีขึ้น อาการทางสมองก็จะดีขึ้นด้วย ช่วงระยะหนึ่งอาการโดยรวมของพ่อดีขึ้น ถ้าต้องการเดิน พ่อจะเดินได้ไกล สื่อสารข้อความกันได้บ้าง แต่ถึงอย่างไร พ่อก็จะพยายามกลับบ้าน ไม่ยอมรับว่าบ้านที่อยู่ เป็นบ้านของเรา แม้แต่พวกลูก ๆ พ่อก็ยังจำไม่ได้ เวลาคุยกันพ่อจะแทนตัวเองว่า ผม เช่น พูดว่า “ผมนะครับ” และเรียกลูกว่า “คุณ” ถ้าลูกทำอะไรถูกใจพ่อ เช่น ให้กินขนมเค้กกับน้ำส้ม พ่อจะยกมือไหว้และพูดว่า “ขอบคุณครับ” มีอยู่วันหนึ่งพี่มาช่วยดูแลพ่อและคุยกับพ่อ พอสรุปความได้ว่า พ่อบอกชื่อตัวเอง ชื่อพ่อ แม่ พี่น้อง อาชีพ ที่อยู่ได้ และบอกว่าตัวเองอายุ 20 ปี ในขณะที่อายุจริงของพ่อ 80 ปี
เราจึงสรุปกันว่า สมองของพ่อย้อนกลับไปเมื่อมีอายุ 20 ปี แล้วจะให้พ่อเชื่อได้อย่างไรว่าพวกลูก ๆ ซึ่งอายุกว่า 50 ปี นี้เป็นลูกของพ่อ เมื่อพ่อเจ็บป่วยทั้งกายและสมอง
ประมาณปลายปี 2540 พ่อหลับในเวลากลางวันมากขึ้น ซึมลง บ่นว่าปวดหัว เวียนหัว นอนตื่นสายผิดปกติ เฉื่อยชาลง และเข้าห้องน้ำชั่วโมงละหลาย ๆ ครั้ง ต่อมาสังเกตได้ว่าเท้าบวม เราเข้าใจเอง ว่าเป็นเพราะนั่งห้อยเท้ามาก จึงพยายามชวนเดิน แต่พ่อก็ไม่อยากเดินเหมือนเมื่อก่อน ลูกพาพ่อเดินไปที่วัดข้างบ้าน ซึ่งพ่อเคยเดินไปบ่อย ๆ แต่พ่อเริ่มเหนื่อยมาก หายใจหอบ ระยะนี้พ่อเซื่องซึม ไม่บ่นว่าอยากกลับบ้าน ไม่เขี่ยสวะที่ท่าน้ำ จะนั่งหลับนอนหลับที่ เปลใต้ถุนบ้านจนเย็น จึงยอมขึ้นบ้าน
เราจึงสรุปกันว่า สมองของพ่อย้อนกลับไปเมื่อมีอายุ 20 ปี แล้วจะให้พ่อเชื่อได้อย่างไรว่าพวกลูก ๆ ซึ่งอายุกว่า 50 ปี นี้เป็นลูกของพ่อ เมื่อพ่อเจ็บป่วยทั้งกายและสมอง
คุณหมอที่โรงพยาบาลเอกชนตรวจร่างกาย ตรวจเลือดแล้ว สรุปว่าพ่อไม่เป็นอะไร แต่เท้าของพ่อบวมขึ้นเรื่อย ๆ จนบวมถึงขา ลูก ๆ ต้องดูแลใกล้ชิดมากขึ้น เพราะพ่อช่วยตัวเองได้น้อยลงทุกที ต้องคอยปลุกให้ตื่นกินอาหารเช้า พ่อใส่บาตรไม่ได้แล้ว เพราะมือถือขันข้าวไม่ได้ ลูกต้องปูและเก็บที่นอนให้ เพราะพ่อจะงงทำไม่ถูก ลูกต้องชวนพ่ออาบน้ำ ในห้องน้ำโดยให้นุ่งผ้าขาวม้าอาบ พ่อก็ยอมโดยดี
พี่พาพ่อไปหาหมอ ที่โรงพยาบาลรัฐในกรุงเทพฯ หมอบอกว่าพ่อหัวใจโต และให้ยามากิน แต่หลังจากกินยาครบ อาการก็ยังไม่ดีขึ้น จึงพาไปที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่ง เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เป็นครั้งแรกที่พ่อนอนโรงพยาบาล พ่อไม่ยอมเข้าห้องน้ำ ไม่ใส่เสื้อผ้าของโรงพยาบาลดึงสายน้ำเกลือ ไม่ยอมให้พยาบาลเช็ดตัว ไม่ให้ความร่วมมือกับหมอเลย พ่อจะกลับบ้านอยู่ตลอดเวลา ตอนกลางคืน พ่อจะนอนกระสับกระส่าย ลูกเลยสวดมนต์ให้ฟัง พ่อค่อย ๆ สงบลงแล้วจึงหลับ ผลของการตรวจ ปรากฎว่าพ่อเป็นเก๊าต์ ไตอักเสบ ต่อมลูกหมากโต คอเลสเตอรอลสูง ต้องนอนรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาลหลายวัน จึงกลับบ้านได้ ต้องกินยา ควบคุมอาหาร เพิ่มโปรตีน และมาตรวจตามนัด
เมื่อกลับจากโรงพยาบาล ดิฉันดูแลพ่อใกล้ชิดมากขึ้น พี่ทำอาหารตามที่หมอแนะนำ มาให้พ่อทุกวัน ดิฉันย้ายมานอนห้องเดียวกันกับพ่อ จนอาการพ่อดีขึ้น วันหนึ่งดิฉันจะไปธุระ จึงให้พ่อมาอยู่บ้านพี่ที่ริมถนน พอเสร็จธุระก็ชวนพ่อเดินกลับบ้าน ระยะทางประมาณ 200 เมตร แต่พ่อเหนื่อยมาก คิดว่าคงเป็นเพราะแดดร้อน จึงเช็ดตัวให้และให้นอนพักผ่อน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น พ่อเหนื่อยหอบเหมือนจะหายใจไม่ทัน พี่จึงพาพ่อไปโรงพยาบาล ระหว่างทางรถติดมาก พ่อมีอาการหนักขึ้น ต้องคอยกอดพ่อไว้พูดปลอบว่า “เดี๋ยวเจอหมอก็หายนะ พ่อ” พ่อพยักหน้ารับและดูกลัว ๆ
ทันทีที่มาถึงโรงพยาบาล หมอก็ให้ออกซิเจน คราวนี้พ่อเป็นคนไข้ที่ว่าง่ายมาก พวกลูก ๆ ผลัดเปลี่ยนกัน ดูแลพ่ออย่างใกล้ชิด ครั้งหนึ่งพ่อร้องไห้ บอกว่าอยากกลับบ้าน จึงกอดแล้วปลอบว่า เดี๋ยวก็ได้กลับแล้ว กลับจากโรงพยาบาล เราจัดให้พ่อนอนในห้องใหญ่ และติดแอร์ให้ ดิฉันนอนเฝ้าหน้าเตียงพ่อ อาการทางกายของพ่อดีขึ้น เท้าบวมน้อยลง ปัสสาวะได้เป็นปกติ แต่ควบคุมระบบขับถ่ายไม่ได้เลย เวลากลางคืนเมื่อฉี่เปียกก็ไม่รู้สึกตัว ต้องถอดเสื้อผ้าออกแล้วเช็ดตัวให้ทั้ งที่พ่อนอนหลับอยู่ ซึ่งลำบากมากเพราะพ่อตัวโต บางครั้งก็ถ่ายเลอะเทอะ มีอยู่ครั้งหนึ่ง เราออกไปทำธุระนอกห้อง พ่อถ่ายไว้ที่พื้นข้างตู้ในห้องนอน แล้วเอามือละเลงไว้ทั่ว ดิฉันกลับเข้ามาได้กลิ่นก็มองหา พ่อก็ทำไม่รู้ไม่ชี้ ดิฉันเหนื่อยมาก เพราะตามองเห็นไม่ชัด เอากระดาษชำระเช็ดแล้วยังต้องเอามือคลำ ๆ ดูว่าสะอาดหรือยัง บางครั้งไม่แน่ใจลองดมดูว่ายังมีกลิ่นหรือเปล่า ทำไปก็ร้องไห้ไป คิดโมโห คิดเสียใจ คิดน้อยใจ คิดว่าพ่อแกล้งลูกหรืออย่างไร ไม่ได้รังเกียจที่จะทำให้พ่อ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมพ่อถึงทำอย่างนี้ พ่อช่วยตัวเองไม่ได้มากขึ้น อย่างรวดเร็ว กินข้าวเองไม่ได้ ส่งชามข้าวให้พ่อก็ไม่รู้จะทำอย่างไร บางทีก็จับช้อนเขี่ยเล่น เกร็งมือและมือสั่นเป็นบางครั้ง พ่อเริ่มเดินเองไม่ได้ เดินเตาะแตะเหมือนเด็กหัดเดิน ต้องจูงมือหรือพยุงแต่ยังพอจะเข้าห้องน้ำได้บ้าง เวลาอาบน้ำ จะเหนื่อยมากทั้งพ่อทั้งลูก เพราะพ่อไม่ยอมให้ถอดเสื้อผ้า พูดอย่างไรพ่อก็ไม่ฟังลูกเลยต้องใช้กำลัง พอพ่อโมโหก็ชกบ้าง ถีบบ้าง ต้องทำไปหลบไป เมื่อเหนื่อยมากเข้าก็เผลอดุพ่อบ้างตวาดพ่อบ้าง พอคิดได้ก็เสียใจที่ทำไม่ดีกับพ่อ จนรู้สึกสับสนกับตัวเอง เวลาอาบน้ำ พ่อมักจะยอมให้ลูกกับพี่เล็กอาบให้ ถ้ามีคนอื่นเข้าไปช่วย พ่อจะยิ่งโมโหมากขึ้น เวลานอนพ่อจะกระสับกระส่าย บางคืนก็พูดคนเดียวจนเสียงแหบ บางทีก็ชี้มือเหมือนเห็นอะไรที่คนอื่นไม่เห็น
เวลาอาบน้ำ จะเหนื่อยมากทั้งพ่อทั้งลูก เพราะพ่อไม่ยอมให้ถอดเสื้อผ้า พูดอย่างไรพ่อก็ไม่ฟังลูกเลยต้องใช้กำลัง พอพ่อโมโหก็ชกบ้าง ถีบบ้าง ต้องทำไปหลบไป
ลูก ๆ ช่วยกันดูแลพ่อมากขึ้น พี่มาช่วยป้อนข้าวให้ทุกเย็น เพื่อให้ดิฉันได้พักทำกิจกรรมส่วนตัว ช่วยไปหาซื้อวอล์กเกอร์มาให้ พ่อใช้ฝึกเดิน แต่ไม่สำเร็จ เพราะพ่อไม่เข้าใจว่าใช้ทำอะไร พี่ที่อยู่ไกลก็จะโทรศัพท์มาสอบถามอาการทุกวัน คอยให้กำลังใจ เตือนสติไม่ให้เครียด และเป็นที่ปรึกษา ช่วยแก้ปัญหารายวัน แล้วยังมีเพื่อนสนิทอีก 3 คน คอยปลอบและให้กำลังใจ ลูก ๆ ปรึกษากันว่า ควรพาพ่อไปพบแพทย์ เพื่อรักษาอาการทางสมองโดยเฉพาะ จึงไปขอประวัติจากโรงพยาบาลรัฐ ที่เคยไปรักษาและรับยามานกว่า 7 ปี เมื่อตรวจสอบดู ปรากฎว่าพ่อไปพบหมอเพียงไม่กี่ครั้ง รับมาแต่ยา และเป็นยาชนิดเดียวกันไม่เคยเปลี่ยน
เราพาพ่อไปรักษา กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง ที่โรงพยาบาลแห่งใหม่ คุณหมอมีชื่อเสียงมาก คนไข้จึงมาก เราต้องรอครั้งละประมาณ 2 ชั่วโมง แต่เวลาตรวจ คุณหมอตรวจอย่างรวดเร็ว ไม่เกิน 5 นาที เรายังเล่าอาการไม่จบ คุณพยาบาลก็เข็นรถออกจากห้องตรวจ ให้มาคอยรับยา แล้วพ่อมีคุณหมอประจำ 2 คน ที่รักษาอาการทางกาย และอาการทางสมอง เราต้องพาพ่อไปพบตามนัดเกือบทุกสัปดาห์ การไปโรงพยาบาล เป็นเรื่องวุ่นวายมาก ต้องเตรียมการล่วงหน้าให้หลานชาย 2 คนอุ้มพ่อไปที่รถ พ่อไม่ค่อยร่วมมือ แต่ก็ขัดขืนไม่ได้เพราะหลานตัวโตกว่า เมื่อถึงโรงพยาบาลต้องช่วยกันให้พ่อนั่งรถเข็น กลับถึงบ้านหลานชายก็ต้องอุ้มพ่อขึ้นบ้าน พ่อไม่ร่วมมือเพราะคงไม่เข้าใจว่าลูกทำอะไรกัน กว่าจะกลับถึงบ้านเรียบร้อย ก็เหนื่อยกันทั้งพ่อ และลูกหลาน แต่เราก็พยายามช่วยกัน เพราะคิดว่าจะเป็นหนทาง ที่จะช่วยให้พ่อมีอาการดีขึ้นได้
การไปโรงพยาบาล เป็นเรื่องวุ่นวายมาก ต้องเตรียมการล่วงหน้าให้หลานชาย 2 คนอุ้มพ่อไปที่รถ พ่อไม่ค่อยร่วมมือ แต่ก็ขัดขืนไม่ได้เพราะหลานตัวโตกว่า
อาการทางกายของพ่อดีขึ้น เดินเองได้บ้าง และกินข้าวเองได้ แต่ยังมีอาการเครียด ตลอดเวลากลางคืนไม่ยอมนอน แต่เดินรอบบ้านเพื่อหาทางออก เมื่อเปิดประตูไม่ได้ก็พยายามฟัง จะหลอกล่ออย่างไรก็ไม่ฟัง และเริ่มโมโหร้าย บางครั้งก็ไล่ตีลูกโดยไม่มีสาเหตุ จึงโทรศัพท์ไปปรึกษานักจิตวิทยาผู้สูงอายุ ซึ่งแนะนำว่า เวลาพ่ออาละวาดให้ปล่อยไว้คนเดียว เมื่อลองทำตามโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่คอยแอบดูเพราะเกรงว่า จะไม่ปลอดภัยเวลาที่แอบดู ก็ได้เห็นพฤติกรรมแปลก ๆ คือ พ่อเดินวุ่นวายอยู่คนเดียว หันไปเห็นเงาของตัวเองในกระจก ก็ยกมือไหว้เงา และหยุดคุยกับเงา แต่ปรากฏว่าคำแนะนำ ของนักจิตวิทยานี้ให้ผลดี คือ เมื่อพ่อได้เห็นลูกอีกก็ดีใจ เชื่อฟังและยอมให้ลูกพาเข้านอน
คุณหมอที่ดูแลอาการทางสมอง เพิ่มยานอนหลับให้แต่ก็ไม่ดีขึ้น ดิฉันต้องดูแลตลอดเวลา ทั้งกลางวันและกลางคืน เครียดมากเหนื่อยมาก หงุดหงิดง่าย รู้สึกท้อแท้ใจ บางครั้งไม่รู้จะช่วยพ่อได้อย่างไร ก็นั่งร้องไห้ คิดว่าทำไมต้องเป็นเรา ที่รับสภาพแบบนี้ เราก็ไม่สบาย ทำไมพ่อไม่เห็นใจเราบ้าง พี่ ๆ มาช่วยบ้างเป็นพัก ๆ เพราะต่างก็ต้องทำงาน พอลูกเครียดมาก โรคเอสแอลอีก็กำเริบ ระบายความเครียด โดยดุว่าพ่อแรง ๆ ยิ่งเวลาทำความสะอาด อาบน้ำให้พ่อ เสียงจะดังลั่นบ้าน ตอนนั้นไม่เข้าใจว่า ทำไมพ่อถึงไม่เข้าใจที่ลูกพูด ทำไมพ่อดื้อกับลูก พอรู้สึกตัวก็สงสารพ่อ และเสียใจในสิ่งที่ทำลงไป ยิ่งเราเครียดพ่อก็ยิ่งเครียดมากขึ้น สถานการณ์ก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีก สังเกตได้ว่าเวลาที่ดุหรือตวาดพ่อ พ่อจะดื้อมากขึ้น หรือไม่ก็จะกลัว นั่งก้มหน้า ทำให้รู้สึกสงสารพ่อเสียใจและโกรธตัวเอง
กลางคืนไม่ยอมนอน แต่เดินรอบบ้านเพื่อหาทางออก เมื่อเปิดประตูไม่ได้ก็พยายามฟัง จะหลอกล่ออย่างไรก็ไม่ฟัง และเริ่มโมโหร้าย บางครั้งก็ไล่ตีลูกโดยไม่มีสาเหตุ
กว่าจะพบทางสว่าง
โรคทางกายของพ่อระยะนี้เหลืออย่างเดียว คือ โรคต่อมลูกหมากโต คุณหมอไม่แนะนำให้ผ่าตัดแต่ให้ยาลดอาการ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผลนัก พ่อจะหงุดหงิดมาก บางทีฉี่ไม่ออก ไม่ยอมเข้าห้องน้ำเดินอาละวาดไปทั้งบ้าน ต้องปล่อยตามใจ บางครั้งใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ยังดื้อไม่ยอมให้ทำความสะอาด เหมือนจะรู้ว่าตัวเองทำ ในสิ่งไม่สมควรเลยโมโหข่ม หรือแม้แต่การถ่าย ก็บอกไม่ได้ว่าปวดท้อง ไม่เข้าห้องน้ำ ทำให้เลอะเทอะ
โรคทางกายของพ่อระยะนี้เหลืออย่างเดียว คือ โรคต่อมลูกหมากโต คุณหมอไม่แนะนำให้ผ่าตัดแต่ให้ยาลดอาการ ซึ่งก็ไม่ค่อยได้ผลนัก พ่อจะหงุดหงิดมาก บางทีฉี่ไม่ออก ไม่ยอมเข้าห้องน้ำเดินอาละวาดไปทั้งบ้าน ต้องปล่อยตามใจ บางครั้งใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ยังดื้อไม่ยอมให้ทำความสะอาด เหมือนจะรู้ว่าตัวเองทำ ในสิ่งไม่สมควรเลยโมโหข่ม หรือแม้แต่การถ่าย ก็บอกไม่ได้ว่าปวดท้อง ไม่เข้าห้องน้ำ ทำให้เลอะเทอะ
ในที่สุดก็หาทางแก้ปัญหา โดยการให้เข้าห้องน้ำเป็นเวลา ใช้ลูกสวนสลับกับแว๊กซ์ และช่วยกดบริเวณลำไส้ใหญ่ เพราะเบ่งไม่เป็น แล้วเพิ่มอาหารที่ให้กากใยด้วย ซึ่งก็ได้ผลดีขึ้น ในเวลากลางคืน ลูกไม่กล้านอนหลับตามสบาย เพราะต้องคอยดูพ่อ เวลาพ่อปวดท้อง ถ้าเอากระโถนรองไม่ทัน ก็เลอะเทอะทั้งเสื้อผ้าและที่นอน หรือบางทีพ่อจะทำในสิ่งที่คาดไม่ถึง เช่น ลุกขึ้นจากเตียงและพยายามปีนออกทางหน้าต่าง พวกพี่ ๆ จึงช่วยกันหาวิธีให้ลูกรู้สึกตัว เมื่อพ่อลุกขึ้นผูกกระดิ่งเล็ก ๆ ไว้กับที่นอน แต่เสียงเบาไปลูกไม่ตื่น ในที่สุดพี่ธวัช (ลูกเขย) เอาลูกกระพรวน ที่ผูกคอวัวมาผูกไว้ที่เสื้อพ่อ แต่ต้องระวังอย่าให้พ่อดึงออก เวลาพ่อ ลุกขึ้น ลูกกระพรวนจะดัง ลูกจะรู้สึกตัวตื่น ทำให้นอนหลับได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องกังวล
ประมาณเดือนมกราคม 2542 เราอ่านพบในหนังสือพิมพ์มติชน เรื่องเกี่ยวกับชมรมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม จึงติดต่อให้ลูกได้สนทนา กับประธานชมรม คือ คุณสุริ เสาวรัติราต คุณสุริเห็นใจและเข้าใจความทุกข์ เพราะคุณสุริก็ต้องดูแลสามี ซึ่งป่วยเป็นสมองเสื่อมเหมือนกัน จึงแนะนำให้รู้จักกับคุณหมอ และได้ปรึกษาทางโทรศัพท์ คุณหมอใจดีมาก ทำให้ลูกมีกำลังใจที่จะดูแลพ่อต่อไป และคิดได้ว่าแม้แต่คนอื่น เช่น คุณสุริและอาจารย์หมอ ซึ่งไม่รู้จักพ่อเลยก็ยังกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือ แล้วลูกจะย่อท้อ ในการช่วยเหลือพ่อได้อย่างไร คุณสุริอาสาขับรถมารับพ่อไปพบคุณหมอ ด้วยตนเองที่โรงพยาบาล เราได้ทราบว่า คุณหมอเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอายุรกรรมผู้สูงอายุ คุณหมอตรวจพ่ออย่างละเอียด รับฟังอาการอย่างตั้งใจ ใช้เวลาไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงและสรุปได้ว่า พ่อเป็นสมองเสื่อม เนื่องจากเส้นเลือดในสมองตีบ มีอาการไตอักเสบ ต่อมลูกหมากโต และพาร์กินสันด้วย ส่วนยาที่พ่อกินอยู่นั้น เป็นยาขยายหลอดเลือด แต่อาการของพ่อ มากเกินกว่าจะขยายหลอดเลือดอย่างเดียวแล้ว คุณหมอจึงสั่งงดและเปลี่ยนยาให้ตรงกับอาการปัจจุบัน คุณหมออธิบายอาการของโรค ให้พวกลูก ๆ เข้าใจพร้อมบอกว่า “เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อได้ แต่เราสามารถปรับตัวเราเองให้เข้าใจและอยู่ร่วมกับพ่อได้”
สาเหตุสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การสื่อสารกันไม่เข้าใจ คุณหมออธิบายว่า ลูกพูดเสียงสูงและเร็วเกินไป จึงแนะนำให้พูดกับพ่อช้า ๆ ชัด ๆ ใช้เสียงต่ำลง และเรียกให้พ่อรู้สึกตัวก่อนที่จะพูด หรือทำอะไร ความเอื้ออาทรและความสนใจ เอาใจใส่อย่างจริงจังของคุณหมอ ทำให้เรามีกำลังใจ และตั้งใจที่จะดูแลพ่อให้ดีที่สุด ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ของตัวเอง และเข้าใจพ่อให้มากขึ้น
คุณหมออธิบายอาการของโรค ให้พวกลูก ๆ เข้าใจพร้อมบอกว่า “เราไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของพ่อได้ แต่เราสามารถปรับตัวเราเองให้เข้าใจและอยู่ร่วมกับพ่อได้”
ดูแลด้วยใจ เข้าใจ และเห็นใจ
ลูกปรับตัวได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการขัดใจพ่อ และโอนอ่อนเพื่อไม่ให้พ่อโมโห แต่พ่อก็ยังแข็งแรง ไม่ร่วมมือ และโมโหร้ายเหมือนเดิม ลูกต้องใช้วิธีการหลอกล่อ เช่น ถ้าพ่อไม่เข้าห้องน้ำ ก็จะบอกว่า “แม่เรียกให้อาบน้ำก่อน เดี๋ยวจะมารับ” (แม่ของพ่อ) ก็ได้ผล แสดงว่าตอนเด็ก ๆ พ่อคงกลัวแม่ บางครั้งพ่อลุกขึ้นเดินเพื่อจะกลับบ้าน ลูกจะบอกว่า “เรามาทำบุญที่บ้านนี้ เดี๋ยวทำบุญก่อนค่อยกลับ” พ่อจะยอมนั่งรถหรือเวลาพาพ่อไปโรงพยาบาล ลูกจะบอกว่า “พ่อแต่งตัวไปทำบุญที่วัดกัน” พ่อจะยอมให้แต่งตัวแต่โดยดี ดูเหมือนว่าลูกต้องล่อหลอกพ่อตลอดเวลา แต่ก็ไม่กลัวว่าจะบาปเพราะเจตนาของลูก คือให้พ่อมีความสุข
ลูกปรับตัวได้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการขัดใจพ่อ และโอนอ่อนเพื่อไม่ให้พ่อโมโห แต่พ่อก็ยังแข็งแรง ไม่ร่วมมือ และโมโหร้ายเหมือนเดิม ลูกต้องใช้วิธีการหลอกล่อ เช่น ถ้าพ่อไม่เข้าห้องน้ำ ก็จะบอกว่า “แม่เรียกให้อาบน้ำก่อน เดี๋ยวจะมารับ” (แม่ของพ่อ) ก็ได้ผล แสดงว่าตอนเด็ก ๆ พ่อคงกลัวแม่ บางครั้งพ่อลุกขึ้นเดินเพื่อจะกลับบ้าน ลูกจะบอกว่า “เรามาทำบุญที่บ้านนี้ เดี๋ยวทำบุญก่อนค่อยกลับ” พ่อจะยอมนั่งรถหรือเวลาพาพ่อไปโรงพยาบาล ลูกจะบอกว่า “พ่อแต่งตัวไปทำบุญที่วัดกัน” พ่อจะยอมให้แต่งตัวแต่โดยดี ดูเหมือนว่าลูกต้องล่อหลอกพ่อตลอดเวลา แต่ก็ไม่กลัวว่าจะบาปเพราะเจตนาของลูก คือให้พ่อมีความสุข
เมื่อพาพ่อไปพบคุณหมอตามนัด ก็เล่าว่าพ่อดึงดัน แข็งขัน และโมโหร้าย คุณหมอให้ยาลดความก้าวร้าว แต่เมื่อกินยาได้สักสัปดาห์ สังเกตว่าพ่อมีอาการซึมมากผิดปกติ จึงโทรศัพท์ปรึกษา คุณหมอให้หยุดยา แล้วเปลี่ยนยาใหม่ซึ่งคุณหมอเรียกว่า “ยายิ้มหวาน” หลังกินยานี้ประมาณครึ่งชั่วโมง พ่อจะอารมณ์ดี ให้ทำอะไรก็ว่าง่าย และชอบหัวเราะหึ หึ น่ารักมาก
แม้ว่าการพาพ่อไปหาคุณหมอ ออกจะยากลำบาก ทางเข้าบ้านก็ลึก แต่เราอยากให้พ่อได้พบคุณหมอตามนัดทุกครั้ง พวกลูก ๆ จึงทำถนนเข้าบ้านและทำบันไดใหม่ ให้รถจอดเทียบบันไดบ้านได้ และอุ้มพ่อเฉพาะเวลาลงหรือขึ้นบันไดเท่านั้น เวลานั่งรถพ่อจะนั่งได้สงบเรียบร้อย แต่เมื่อไปถึงโรงพยาบาล พนักงานเข็นรถต้องช่วยกันหลายคน เพื่อให้พ่อนั่งรถเข็น พนักงานทุกคนจำพ่อได้และจะเรียกกันว่า ลุงทอง มาแล้วมาช่วยกัน คุณหมอตรวจพ่ออย่างละเอียดทุกครั้ง รับฟังปัญหาและแนะนำวิธีแก้ไข พ่อให้ความร่วมมือกับคุณหมอดีมาก เมื่อลูกเล่าว่าเวลาบอกให้พ่อลุกเดินก็ไม่ยอมเดิน คุณหมอบอกให้พ่อ ลุกเดิน พ่อก็ลุกขึ้นเดินทันที คุณหมอจึงล้อว่าลูกใส่ร้ายพ่อ ดูพ่อจะชอบคุณหมอมาก
ลูกดูแลกิจกรรมประจำวันของพ่อ ให้ตรงกันทุกวันเพื่อไม่ให้สับสน พ่อตื่นนอนประมาณ 6 โมงเช้า จะพาเข้าห้องน้ำ บางครั้งเดินเองจนถึง พอเสร็จแล้วก็ป้อนอาหารเช้า มีข้าวและผลไม้ ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง เพราะพ่อจะเคี้ยวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นอาการของโรคพาร์กินสัน คนป้อนต้องสังเกตเอง ว่าข้าวในปากหมดหรือยัง กินยาหลังอาหารเสร็จแล้วพ่อจะนอนหลับไปจนเที่ยง ก็ตื่นกินอาหารกลางวัน และพักอยู่สักครู่ จึงพาเข้าห้องน้ำ เราใช้การสวนทิ้งไว้สัก 5 – 10 นาที จึงจะถ่าย แล้วอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ บางครั้งพ่อก็แข็งขืนต่อต้าน แต่ถ้าได้ยายิ้มหวานไปก่อน ทุกอย่างก็จะง่ายขึ้น แล้วพาพ่อไปนั่งเล่นหลังบ้าน แต่ถ้าอากาศร้อนต้องพาเข้าห้องเปิดเครื่องปรับอากาศ เพราะถ้าร้อนพ่อจะหงุดหงิดมาก ช่วงบ่ายพ่อจะกินขนมกับน้ำผลไม้ต่างๆ พ่อชอบน้ำส้มคั้นมากบอกว่า “อร่อย” ถ้าพ่อไม่นอนหลับ เราก็จะนั่งดูทีวีกันบ้าง คุยกันคนละเรื่องบ้าง ลูกพยายามคุยเรื่องเดียวกันกับพ่อ ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็คงจะเถียงกันเพราะลูกจะคิดว่า พ่อพูดอะไรไม่เห็นจริงเลย แต่ตอนนี้ลูกเข้าใจแล้วว่า เรื่องที่พ่อพูดเกิดจากอาการของโรค ซึ่งมักจะย้อนไปถึงพฤติกรรมในอดีต หรือบางครั้งก็มีอาการประสาทหลอน เช่น พ่อถามลูกว่า “เอาหญ้าให้ควายกินหรือยัง” ลูกจะตอบว่า “เรียบร้อยแล้วจ้ะ” ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็ต้องเถียงกันลั่นบ้านเรื่องควาย บางครั้งพ่อจะคุยกับทีวี เช่น ลูกกำลังป้อนข้าวพ่ออยู่ มีเสียงในทีวีว่า “นายท่าน ขอข้าวข้าหน่อย” พ่อจะพูดว่า “แหมยังไม่อิ่มเลย”
ปกติพ่อจะง่วงนอนประมาณ 2 ทุ่ม แต่บอกไม่ได้ จึงนั่งหลับโงกเงกไปมา พอพาไปนอน ก็ขืนตัว เลยใช้วิธียกเท้าพ่อขึ้นเตียง แล้วให้มีคนคอยรับทางส่วนศีรษะ เมื่อพ่อหงายลงแล้วก็หลับสนิททันที พ่อกินยานอนหลับทุกคืน เพื่อให้หลับได้ตลอดคืน ต้องบดยาให้ละเอียดละลายน้ำ ตักให้กินหรือไม่ก็ใส่หลอดฉีดยาพ่นใส่ปาก ตอนกลางคืนต้องคอยระวัง เวลาพ่อขยับตัว ต้องเรียกให้ฉี่ คืนไหนฉี่คอมฟอร์ดได้ก็ถือว่าโชคดีมาก ต่อมาคุณหมอจึงแนะให้ใช้ถุงพลาสติกสวมไว้ จึงไม่เลอะเทอะ แต่ต้องระวังเปลี่ยนถุงใหม่ ไม่อย่างนั้นพ่อพลิกตัวก็เลอะเทอะอีก จึงกะเวลาและตั้งนาฬิกาปลุกไว้ เราก็หลับสบายขึ้น แต่ถึงจะระวังดูแลอย่างดีเพียงใด ก็ยังเกิดแผลกดทับบริเวณก้นและสะโพก ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดให้มากขึ้น และใช้ครีมทารักษาแผลกดทับ
ลูกพยายามคุยเรื่องเดียวกันกับพ่อ ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน ก็คงจะทะเลาะกันแต่ตอนนี้ลูกเข้าใจแล้วว่า เรื่องที่พ่อพูดเกิดจากอาการของโรค ซึ่งมักจะย้อนไปถึงพฤติกรรมในอดีต หรือบางครั้งก็มีอาการประสาทหลอน
ทุกข์เพราะคิดผิด
แม้จะพยายามดูแลพ่ออย่างดีที่สุด จัดกิจกรรมทุกอย่างตามลำดับ และเวลา แต่บางครั้งพ่อก็ยังต่อต้านแข็งขัน ทำให้เครียดและเหนื่อย ต้องใช้กำลังมาก เพราะพ่อเป็นคนร่างใหญ่น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม ในที่สุดลูกก็ไม่สบาย พี่ต้องมาอยู่ดูแลทั้งพ่อและน้อง พี่บอกว่าถ้าเราเครียด พ่อจะยิ่งเครียด ควรโอนอ่อนและปรับเวลาตามความต้องการของพ่อบ้าง เช่น ตื่นเมื่อไรก็เป็นเวลาอาหารเช้า และยามื้อนั้น นับต่อไปอีก 5 – 6 ชั่วโมง เป็นเวลาอาการกลางวัน และนับช่วงต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่จำเป็น ต้องทำให้ตรงตามนาฬิกาเหมือนคนอื่น เมื่อลองทำดูก็ได้ผล
แม้จะพยายามดูแลพ่ออย่างดีที่สุด จัดกิจกรรมทุกอย่างตามลำดับ และเวลา แต่บางครั้งพ่อก็ยังต่อต้านแข็งขัน ทำให้เครียดและเหนื่อย ต้องใช้กำลังมาก เพราะพ่อเป็นคนร่างใหญ่น้ำหนักประมาณ 70 กิโลกรัม ในที่สุดลูกก็ไม่สบาย พี่ต้องมาอยู่ดูแลทั้งพ่อและน้อง พี่บอกว่าถ้าเราเครียด พ่อจะยิ่งเครียด ควรโอนอ่อนและปรับเวลาตามความต้องการของพ่อบ้าง เช่น ตื่นเมื่อไรก็เป็นเวลาอาหารเช้า และยามื้อนั้น นับต่อไปอีก 5 – 6 ชั่วโมง เป็นเวลาอาการกลางวัน และนับช่วงต่อไปเรื่อย ๆ เพราะไม่จำเป็น ต้องทำให้ตรงตามนาฬิกาเหมือนคนอื่น เมื่อลองทำดูก็ได้ผล
ถ้าหงุดหงิด หรือโมโห เราจะเดินไปที่อื่น อารมณ์ดีขึ้น จึงกลับมาใหม่ เมื่อพ่อไม่เครียด ก็จะไม่แข็งขืน และอารมณ์ดี พี่ยังหาหนังสือธรรมะมาให้อ่าน ให้ฝึกทำใจและให้คิดว่าพ่อไม่ดีขึ้น ถ้าวันไหนดีก็นับว่าฟลุค พี่ทำให้คิดได้ว่า ทุกคนก็ต้องทำงานกันทั้งนั้น แต่ลูกโชคดีทำงานดูแลพ่อ ได้ตอบแทนบุญคุณ และได้สร้างกุศลด้วย พวกพี่ ๆ ก็ไม่เคยทอดทิ้ง เมื่อครั้งที่ไม่สบายมาก จนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พี่ ๆ ก็คอยดูแล ตอนนี้ครอบครัวของเรา ต้องการคนมาดูแลพ่อ และเราเป็นคนเดียวในครอบครัวที่ว่าง พวกพี่ทุกคนมีภาระมาก ถึงอยากจะดูแลพ่ออย่างใกล้ชิดก็ทำไม่ได้ เราจึงควรภูมิใจในภาระหน้าที่นี้ พอคิดถูก คิดดี ทุกอย่างก็ราบรื่นมีความสุข
ตั้งแต่ปรับกิจกรรม ให้เป็นไปตามความต้องการของพ่อ ลูกไม่เครียด พ่อก็ไม่เครียด อาการของพ่อดีขึ้น ทำให้ลูกมีเวลาอ่านหนังสือ สวดมนต์ ทำสมาธิ ออกกำลังกาย สุขภาพดีขึ้น พี่ซื้อเครื่องเสียงชุดใหญ่ ให้เปิดเพลงบรรเลง เพลงสุนทราภรณ์ให้พ่อฟัง พ่อชอบเคาะมือตามจังหวะเพลง ดูพ่อมีความสุข อาการดีขึ้น สับสนน้อยลง ทรงตัวได้ดีขึ้น และเดินได้มากขึ้น ตอนบ่าย ๆ จะพาพ่อเดินเล่นที่นอกชานหน้าบ้าน เพื่อให้พ่อได้รับแสงแดด กลางคืนพ่อจะได้นอนหลับ เมื่อนั่งคุยกัน ลูกพยายามทบทวนความจำของพ่อ ถามชื่อก็ยังตอบได้ พ่อแทนตัวเองว่า “ผม” เรียกลูกว่า “คุณ”
เมื่อพ่ออารมณ์ดี หรือเกรงใจลูก เวลาทำอะไรให้ พ่อจะยกมือไหว้และพูดว่า “ขอบคุณครับ” พ่อจำไม่ได้เลยว่า พวกเราเป็นลูก แต่ลูกกลับรู้สึกผูกพันกับพ่อมากขึ้น ตั้งแต่จำความได้ ลูกไม่เคยได้ใกล้ชิดพ่อเลย ไม่เคยกอดพ่อ ไม่เคยหอมแก้มพ่อเลย จนพ่อป่วย ลูกจึงได้แสดงความรักแบบนี้กับพ่อ โชคดีเหลือเกิน
ตั้งแต่ปรับกิจกรรม ให้เป็นไปตามความต้องการของพ่อ ลูกไม่เครียด พ่อก็ไม่เครียด อาการของพ่อดีขึ้น ทำให้ลูกมีเวลาอ่านหนังสือ สวดมนต์ ทำสมาธิ ออกกำลังกาย สุขภาพดีขึ้น
สุขเพราะคิดถูก
ปลายปี 2542 ดิฉันได้รับประสบการณ์ ซึ่งทำให้การดูแลพ่อ เป็นไปอย่างมีความสุข นั่นคือการได้เข้าปฏิบัติธรรม ที่เสถียรธรรมสถาน เป็นโอกาสที่ดีในชีวิต เพราะเคยแต่อ่านและฟังธรรมะ แต่ไม่เคยฝึกปฏิบัติ ประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้รู้จักนำธรรมะ มาปฏิบัติในชีวิตจริง มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี ระยะนั้นพี่มาดูแลพ่อแทน และบอกว่าตลอดเวลา 5 วัน พ่อดีมากดูแลง่าย พ่ออารมณ์ดี หัวเราะ และนั่งพนมมือทำปากขมุบขมิบ เมื่อถามว่าทำอะไรพ่อตอบว่า “ทำวัตรเย็น” สังเกตได้อีกอย่างคือเวลาที่พ่ออารมณ์ดี ความคิดของพ่อ จะวนเวียนอยู่กับเรื่องวัด เรื่องพระ ลูกจึงใช้อุบายเรื่องพระ เพื่อบอกให้พ่อทำตามบ่อย ๆ เช่น ถ้าพ่อไม่ยอมแต่งตัวลูกจะบอกว่า “เดี๋ยวพระมาบ้านเรา” “พ่อแต่งตัวให้เรียบร้อย เดี๋ยวพระมาว่าพ่อนะ”
ปลายปี 2542 ดิฉันได้รับประสบการณ์ ซึ่งทำให้การดูแลพ่อ เป็นไปอย่างมีความสุข นั่นคือการได้เข้าปฏิบัติธรรม ที่เสถียรธรรมสถาน เป็นโอกาสที่ดีในชีวิต เพราะเคยแต่อ่านและฟังธรรมะ แต่ไม่เคยฝึกปฏิบัติ ประสบการณ์ครั้งนี้ ทำให้รู้จักนำธรรมะ มาปฏิบัติในชีวิตจริง มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี ระยะนั้นพี่มาดูแลพ่อแทน และบอกว่าตลอดเวลา 5 วัน พ่อดีมากดูแลง่าย พ่ออารมณ์ดี หัวเราะ และนั่งพนมมือทำปากขมุบขมิบ เมื่อถามว่าทำอะไรพ่อตอบว่า “ทำวัตรเย็น” สังเกตได้อีกอย่างคือเวลาที่พ่ออารมณ์ดี ความคิดของพ่อ จะวนเวียนอยู่กับเรื่องวัด เรื่องพระ ลูกจึงใช้อุบายเรื่องพระ เพื่อบอกให้พ่อทำตามบ่อย ๆ เช่น ถ้าพ่อไม่ยอมแต่งตัวลูกจะบอกว่า “เดี๋ยวพระมาบ้านเรา” “พ่อแต่งตัวให้เรียบร้อย เดี๋ยวพระมาว่าพ่อนะ”
พ่อจะยอมให้แต่งตัวโดยดี พอบอกว่าไปวัดกัน พ่อจะลุกตามทันที วันแรกที่ดิฉันกลับมาถึงบ้านพ่อก็โกงมาก ขับถ่ายเลอะเทอะทั้งกลางวันและกลางคืน ลูกคงทำกรรมไว้กับพ่อมากกระมัง และคงเป็นการทดสอบ การปฏิบัติธรรมของลูกด้วย
ปลายปี 2542 ดิฉันได้รับประสบการณ์ ซึ่งทำให้การดูแลพ่อ เป็นไปอย่างมีความสุข นั่นคือการได้เข้าปฏิบัติธรรม ที่เสถียรธรรมสถาน ได้นำธรรมะ มาปฏิบัติในชีวิตจริง มีทัศนคติที่ดี มองโลกในแง่ดี
คนที่เคยเอาแต่ใจตนเองอย่างดิฉัน จะควบคุมอารมณ์ได้ยากมาก ถึงจะพยายามปฏิบัติธรรมก็ตาม บางครั้งอารมณ์วิ่งเร็วมาก เกินกว่าสติจะควบคุมได้ น่าเสียใจมาก ถ้าลูกแสดงอารมณ์ไม่ดีกับพ่อ พ่อจะมีอาการ 2 แบบ คือ รุนแรงตอบ หรือไม่ก็แสดงอาการกลัว ซึม นั่งก้มหน้า น่าสงสารที่สุด เราจึงต้องพยายามควบคุมตัวเองให้ได้ พ่อไม่ได้อยากเป็นอย่างนี้ แต่พ่อป่วยสมองเสื่อมสั่งการตัวเองไม่ได้ เราควรสงสารพ่อให้มาก ๆ เมื่อควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ พ่อก็กลับดีขึ้น ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้ชีวิตวุ่นวายน้อยลง มีเวลาว่างมากขึ้น ได้อ่านหนังสือธรรมะ โดยเฉพาะหนังสือเรื่อง อำนาจอันยิ่งใหญ่ในกรรม พระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราช ทำให้อดย้อนมองดูตัวเองไม่ได้ว่า ทำไมเราจึงต้องทำหน้าที่ดูแลพ่อ มากกว่าลูกคนอื่น ๆ เราคงจะมีกรรมผูกพันกับพ่อมากกว่าพวกพี่ ๆ โชคดีที่ไม่ตายเมื่อคราวเจ็บหนัก แม้จะเสียตาไปข้างหนึ่ง ก็ยังดีที่รอดชีวิต ได้มีโอกาสแก้ตัว ได้สร้างกรรมดี
10 ธันวาคม 2542 ดีใจมาก เพราะตาของดิฉัน เห็นได้ชัดขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง เห็นรายละเอียดสิ่งของมากขึ้น มองเห็นได้ไกลมากขึ้น เป็นเพราะช่วงที่ไปปฏิบัติธรรม ที่เสถียรธรรมสถาน ได้รู้เรื่องการฝังเข็มรักษาโรค ของโรงพยาบาลบ้านสวน จึงลองไปรักษาดู รับการรักษาได้ 6 ครั้งก็เห็นชัดขึ้น ลูกคิดว่าการที่ลูกมองเห็นมากขึ้น เป็นเพราะลูกได้ดูแลพ่อ ได้ทำกรรมดี ผลของกรรมดี จึงเป็นเหตุจูงใจให้ลูกไปปฏิบัติธรรม จนได้ไปฝังเข็ม นี่แหละผลของกรรมดี ไม่ต้องรอชาติหน้า และอาการของโรคเอส แอล อี ของลูกก็ดีขึ้นด้วย
ตั้งแต่ต้นปี 2543 อาการของพ่อดูดีขึ้น คุณหมอลดยาพาร์กินสัน และยารักษาโรคไต คุณหมอให้กำลังใจว่าดูแลพ่อได้ดี ประมาณเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนมาก พวกพี่ ๆ จึงต่อเติมห้องนอนเพื่อให้พ่ออยู่สบายขึ้น แต่อาการทางสมองของพ่อกลับทรุดลง ถามชื่อพ่อก็ตอบไม่ได้แล้ว คิดว่าตัวเองชื่อ “พ่อ” พูดคุยน้อยลง ลูกชวนคุยก็คุยกันคนละเรื่อง ต้องไม่ปล่อยพ่อไว้คนเดียว เพราะพ่อจะตกใจกลัวง่าย ถ้าจำเป็นก็จะเปิดวิทยุ หรือโทรทัศน์ให้พ่อรู้สึกว่า มีคนอยู่ด้วยตลอดเวลา บางครั้งพ่อก็ยังคุยโต้ตอบ กับเสียงจากโทรทัศน์
พวกพี่ ๆ ไม่ปล่อยให้ดิฉัน ดูแลพ่ออย่างโดดเดี่ยว เมื่อมีปัญหาก็จะช่วยกัน หาทางแก้ไข เมื่อมีโอกาส ก็จะให้ดิฉันได้ไปเที่ยวกับเพื่อน ๆ ได้พักผ่อนหลาย ๆ วัน หรือไม่ก็พาไปปฏิบัติธรรม ช่วงเข้าพรรษา ดิฉันขอให้พี่พาไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่า สุนันทวนาราม เพราะได้อ่านหนังสือ ทุกข์เพราะคิดผิด และหนังสือ ผิดก่อน – ผิดมาก ของพระอาจารย์มิตซูโอะ – คเวสโก อ่านแล้วย้อนมองตัวเอง ก็เห็นจริงตามที่ท่านบอก จึงเกิดศรัทธาอยากไปปฏิบัติธรรม ไปปฏิบัติธรรม 3 วัน 4 คืน ได้รู้และเข้าใจจิตใจของตัวเองมากขึ้น ก่อนกลับพระอาจารย์คเวสโก ให้ปวารณาตัวทำความดีในช่วงเข้าพรรษา ลูกตั้งใจว่าจะไม่โกรธ ไม่โมโหพ่อ เพราะถึงลูกจะรักและสงสารพ่อมาก แต่ก็อดที่จะโมโหพ่อไม่ได้ เพราะอารมณ์วิ่งเร็วกว่าสติ เมื่อกลับมาดูแลพ่อ ก็หาปฏิทินมาตั้งไว้ วันไหนโมโห หรือโกรธพ่อจะทำเครื่องหมาย กากบาทไว้หลาย ๆ อัน แสดงว่าผิดมาก แต่วันไหนดีกับพ่อได้ตลอดวัน จะวาดรูปหัวใจ รูปดอกไม้ ให้รางวัลตัวเอง พอครบ 3 เดือนก็ตรวจดูผลงานปรากฏว่ามีกากบาท 6 วัน ทำให้มีกำลังใจมากขึ้นคิดว่า ถ้าเรามีศรัทธามีความมุ่งมั่นเราก็ทำได้
หลังจากนั้นก็ไม่เคยโกรธพ่อ ตั้งแต่นั้นมาถ้าช่วงวันหยุดหลายวัน และพี่ ๆ มาดูแลพ่อ ก็จะไปปฏิบัติธรรมที่วัด มีใจใฝ่ธรรมะมากขึ้น มีสติในการดำเนินชีวิต รู้จักวิธีควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่คาดหวังกับคนอื่น พยายามทำปัจจุบันให้ดีที่สุด เราจะต้องเอาชนะใจตัวเอง ไม่ใช่เอาชนะคนรอบข้าง จะทุกข์จะสุขอยู่ที่ความคิดของเรา ว่าจะมองด้านไหน ไม่มีอะไรที่มีมุมมองด้านเดียว ทำไมเราไม่เลือกมองด้านที่ทำให้เรามีความสุข อย่างการทำหน้าที่ดูแลพ่อ ถ้าคิดว่าเป็นภาระที่เหนื่อยมาก ก็จะทุกข์ใจ แต่เมื่อคิดว่าชีวิตที่เหลือของพ่อ พ่อไม่ได้อยู่เพื่อตัวพ่อเอง แต่พ่อมีชีวิตอยู่ เพื่อให้ลูกได้ทำความดี เพราะสมองของพ่อ คิดสร้างสรรค์อะไรไม่ได้ พ่ออยู่ไปวัน ๆ เพื่อลูกจริง ๆ เมื่อคิดได้ ลูกกับพ่อก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เวลาที่ว่างจากการดูแลพ่อ ดิฉันจะหาความสุข จากการอ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูโทรทัศน์ แต่ที่สำคัญ คือ การที่ได้รู้จักกับความสุข ที่เกิดจากการทำให้คนที่เรารักมีความสุข ทำให้เกิดปิติสุข อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อนเลย การได้ดูแลพ่อจึงเป็นความสุขอย่างแท้จริง
การทำหน้าที่ดูแลพ่อ ถ้าคิดว่าเป็นภาระที่เหนื่อยมาก ก็จะทุกข์ใจ แต่เมื่อคิดว่าชีวิตที่เหลือของพ่อ พ่อไม่ได้อยู่เพื่อตัวพ่อเอง แต่พ่อมีชีวิตอยู่ เพื่อให้ลูกได้ทำความดี
ย้อนกลับไปสู่วัยเริ่มต้น
ระยะหลังมานี้ พ่อกลืนอาหารไม่สะดวก มักจะสำลักทั้งข้าว และน้ำ ต้องป้อนอาหารอย่างระมัดระวัง บางทีก็ดึงผ้ามาดูดน้ำลาย เปียกเลอะเทอะ คุณหมอแนะนำให้ใช้ขวดนมใส่นม น้ำให้ดูด พ่อชอบมากจะหลับตาพริ้ม ดูดอย่างมีความสุข พ่อกลับไปเป็นเด็กมากขึ้น ชอบให้แสดงความรัก ถ้ากอดหรือหอมแก้ม ก็จะมีความสุขมาก บางวันพ่อจะกอด และหอมแก้มลูกตอบ ถามพ่อว่ารักลูกมั้ย พ่อตอบว่ารัก พ่อไม่รู้ว่าลูกเป็นลูก แต่พอรู้ว่าลูกเป็นคนที่ดูแลพ่อ ทำทุกอย่างให้พ่อ เวลาที่ไม่อยู่บ้าน แล้วกลับมาบ้าน ทักพ่อว่า “พ่อ ลูกมาแล้วนะ” แววตาพ่อจะแสดงความดีใจ บางครั้งสายตาที่พ่อมองลูก เหมือนคนเป็นลูกมองแม่ ถ้าพวกลูก ๆ และหลาน ๆ หลายคนมาเยี่ยมพ่อที่บ้านพร้อม ๆ กัน ลูกจะพาพ่อนั่งรถเข็นร่วมวงด้วย ลูก ๆ หลาน ๆ จะพูดคุย ป้อนขนมให้พ่อ พ่อจะหัวเราะมีความสุข พ่อชอบเด็ก ๆ เวลามีหลานตัวเล็ก ๆ มา พ่อจะอารมณ์ดีหัวเราะและจับมือเด็ก ๆ อย่างทะนุถนอม ถึงสมองเสื่อม แต่จิตใจของพ่อก็ยังต้องการความรักเช่นเดียวกับคนปกติ พ่อรับรู้ได้ถึงความรัก ความอาทรห่วงใยที่ลูก ๆ หลาน ๆ มีต่อพ่อ พ่อเริ่มเดินน้อยลง พยุงเดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะนั่งลงกับพื้น จึงต้องใช้รถเข็นมากขึ้น ขาของพ่อเริ่มลีบลง อาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้เดิน จึงซื้อลูกประคบและน้ำมันมนต์ มานวดและประคบให้พ่อ พยายามพยุงอาการระยะนี้ให้นานที่สุด ไม่อยากให้พ่อทนทุกข์ทรมานมากไปกว่านี้ เมื่อพ่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ทรุดลง ดิฉันจะกังวลใจและเครียดมาก แม้พยายามคิดถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ยังทำใจไม่ค่อยได้
ระยะหลังมานี้ พ่อกลืนอาหารไม่สะดวก มักจะสำลักทั้งข้าว และน้ำ ต้องป้อนอาหารอย่างระมัดระวัง บางทีก็ดึงผ้ามาดูดน้ำลาย เปียกเลอะเทอะ คุณหมอแนะนำให้ใช้ขวดนมใส่นม น้ำให้ดูด พ่อชอบมากจะหลับตาพริ้ม ดูดอย่างมีความสุข พ่อกลับไปเป็นเด็กมากขึ้น ชอบให้แสดงความรัก ถ้ากอดหรือหอมแก้ม ก็จะมีความสุขมาก บางวันพ่อจะกอด และหอมแก้มลูกตอบ ถามพ่อว่ารักลูกมั้ย พ่อตอบว่ารัก พ่อไม่รู้ว่าลูกเป็นลูก แต่พอรู้ว่าลูกเป็นคนที่ดูแลพ่อ ทำทุกอย่างให้พ่อ เวลาที่ไม่อยู่บ้าน แล้วกลับมาบ้าน ทักพ่อว่า “พ่อ ลูกมาแล้วนะ” แววตาพ่อจะแสดงความดีใจ บางครั้งสายตาที่พ่อมองลูก เหมือนคนเป็นลูกมองแม่ ถ้าพวกลูก ๆ และหลาน ๆ หลายคนมาเยี่ยมพ่อที่บ้านพร้อม ๆ กัน ลูกจะพาพ่อนั่งรถเข็นร่วมวงด้วย ลูก ๆ หลาน ๆ จะพูดคุย ป้อนขนมให้พ่อ พ่อจะหัวเราะมีความสุข พ่อชอบเด็ก ๆ เวลามีหลานตัวเล็ก ๆ มา พ่อจะอารมณ์ดีหัวเราะและจับมือเด็ก ๆ อย่างทะนุถนอม ถึงสมองเสื่อม แต่จิตใจของพ่อก็ยังต้องการความรักเช่นเดียวกับคนปกติ พ่อรับรู้ได้ถึงความรัก ความอาทรห่วงใยที่ลูก ๆ หลาน ๆ มีต่อพ่อ พ่อเริ่มเดินน้อยลง พยุงเดินได้ไม่กี่ก้าวก็จะนั่งลงกับพื้น จึงต้องใช้รถเข็นมากขึ้น ขาของพ่อเริ่มลีบลง อาจเป็นเพราะไม่ค่อยได้เดิน จึงซื้อลูกประคบและน้ำมันมนต์ มานวดและประคบให้พ่อ พยายามพยุงอาการระยะนี้ให้นานที่สุด ไม่อยากให้พ่อทนทุกข์ทรมานมากไปกว่านี้ เมื่อพ่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ทรุดลง ดิฉันจะกังวลใจและเครียดมาก แม้พยายามคิดถึงอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ยังทำใจไม่ค่อยได้
จนพี่เตือนสติว่า อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ให้ยอมรับว่าอาการของพ่อ ไม่มีทางดีขึ้นมีแต่จะทรุดลง ถ้าเราได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว ก็ไม่มีอะไรที่ต้องเสียใจ การที่พ่อไม่เดิน ทำให้เกิดปัญหาตามมา คือ ท้องผูก แม้จะให้อาหารประเภทผัก และผลไม้มากขึ้น ก็ยังช่วยได้ไม่มาก เมื่อท้องผูกก็ทำให้โรคริดสีดวงทวารกำเริบ ใช้ยาสวนทวารไม่ได้ ยิ่งทำให้ท้องผูกมากขึ้นอีก คุณหมอแนะนำให้ต้มมะระให้กินซึ่งได้ผลดีมาก และพ่อก็ชอบกินมะระด้วย ตั้งแต่นั้นมาอาหารทุกมื้อก็มีส่วนผสมของมะระ เมื่อลูกลองให้กินมะละกอสุกพ่อก็ชอบ และช่วยให้ถ่ายได้ดีเหมือนมะระ เมื่อพ่อไม่ยอมเคี้ยวอาหาร ก็ต้องปั่นอาหารทุกชนิดทั้งข้าว และผลไม้ เช่น มะละกอสุก แอปเปิล แคนตาลูป ปั่นกับนมเปรี้ยว หรือนมถั่วเหลือง พ่อก็ชอบมาก พ่อเหมือนเด็กเล็ก ๆ มากขึ้น เวลานอนก็จะนอนตัวงอเหมือนเด็กทารกในครรภ์ ชอบนอนดูดนิ้ว พ่อจะป้องกันตัวเองไม่ได้เลยต้องดูแลใกล้ชิดตลอดเวลา หลายครั้งที่เผอเรอประมาททำให้พ่อบาดเจ็บ บางครั้งถึงกับเลือดตกยางออก มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลานสาวจะตัดเล็บให้พ่อ เห็นรอยเลือดที่พื้นจึงดูที่ตัวพ่อ เห็นว่าพ่อมีแผลที่นิ้วกลางข้างขวา เหมือนถูกของมีคมบาด หลานต้องทำแผลให้
ดิฉันเสียใจที่ดูแลพ่อไม่ดี พ่อเจ็บก็บอกไม่ได้ มีอันตรายอะไร ก็ไม่รู้จะบอกอย่างไร นอกจากนี้พ่อยังขี้กลัว ตกใจง่าย บางทีเหมือนพ่อนอนฝันร้าย แล้วแยกไม่ได้ระหว่างความฝันกับความจริง พ่อจะกลัว และร้องโวยวายต้องกอด และปลอบให้หายกลัว จนกว่าพ่อหลับ จึงไปนอนได้ ดิฉันคิดว่าสมองของพ่อคงจะเท่ากับเด็กเล็ก ๆ แต่บางครั้งพ่อก็จะคุยเก่ง พูดรู้เรื่อง และมีถ้อยคำแปลก ๆ ทำให้ลูก ๆ ขำมาก
พ่อกลับไปเป็นเด็กมากขึ้น ชอบให้แสดงความรัก ถ้ากอดหรือหอมแก้ม ก็จะมีความสุขมาก บางวันพ่อจะกอด และหอมแก้มลูกตอบ
นี่แหละอนิจจัง
5 ธันวาคม เป็นวันพ่อ ลูกกราบพ่อแล้วชวนว่า “พ่ออยู่อีก 10 ปีไหวไหมค่ะ” พ่อตอบว่า “ไหวครับ” เมื่อพวกพี่ ๆ เอาพวงมาลัยและเงินมาให้ พ่อรับแต่เงินไม่รับพวงมาลัย กำไว้แน่นทำท่าจะใส่กระเป๋าเสื้อ พวกเราขำกันใหญ่ ว่าสมองคงเสื่อมเป็นเรื่อง ๆ
5 ธันวาคม เป็นวันพ่อ ลูกกราบพ่อแล้วชวนว่า “พ่ออยู่อีก 10 ปีไหวไหมค่ะ” พ่อตอบว่า “ไหวครับ” เมื่อพวกพี่ ๆ เอาพวงมาลัยและเงินมาให้ พ่อรับแต่เงินไม่รับพวงมาลัย กำไว้แน่นทำท่าจะใส่กระเป๋าเสื้อ พวกเราขำกันใหญ่ ว่าสมองคงเสื่อมเป็นเรื่อง ๆ
ในวันนั้นลูกให้ของขวัญพ่ออย่างหนึ่ง คือ จุกนมขนาดใหญ่ เพื่อให้พ่อดูดนมได้สะดวกขึ้น ใครจะเชื่อว่าผู้เป็นลูกซื้อจุกนม ให้เป็นของขวัญแก่ผู้เป็นพ่อ นี่แหละ อนิจจัง ที่แท้จริง ผู้ชายคนที่เคยเข้มแข็ง มีลักษณะความเป็นผู้นำที่เด็ดขาด เป็นที่ยำเกรงของลูกหลานและคนที่รู้จัก ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2545 เป็นต้นมา
ลูกไม่ได้พาพ่อไปพบคุณหมอแล้ว เพราะลำบากมาก จึงไปรับยาให้ทุก 2 เดือน ประกอบกับอาการพ่อไม่เปลี่ยนแปลง และยังมีความสุขกับการกิน บางวันก็ต้องปั่นข้าวต้ม ใส่ขวดนมให้พ่อดูด เพราะพ่อไม่ยอมอ้าปากเคี้ยว แต่ยอมดูดจากขวด พ่อชอบนอนบนเตียง ไม่ชอบการเคลื่อนที่ เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง และชอบนอนดูดนิ้วเล่น ลูกนั่งมองพ่อ และพยายามเตรียมใจยอมรับ กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เวลาของพ่อคงเหลือไม่มากนัก ขอให้พ่อมีความสุขอย่างเต็มที่ และเมื่อถึงเวลาที่จะจากไป ขอให้ไปอย่างสงบ ลูกเชื่อว่าโลกหน้าของพ่อจะต้องดีแน่ เพราะพ่อสร้างกรรมดีมาตลอดชีวิต
รายการโทรทัศน์หลายรายการ เคยมาสัมภาษณ์ และถ่ายภาพพ่อกับลูก ดิฉันไม่ได้ตั้งใจจะให้ผู้คน มาเห็นใจหรือสงสาร แต่อยากให้สังคมรับรู้ว่า การที่คนเราจะกตัญญูต่อผู้มีพระคุณนั้น ถึงจะยากลำบากอย่างไร ก็สามารถทำได้ ถ้าเรามีความพยายาม ยึดมั่นในความกตัญญู และการที่ประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้ ไม่ใช่เพราะเก่งคนเดียว แต่เป็นเพราะคนรอบข้างของเรา พี่ทุกคน หลานทุกคน และเพื่อนที่รักเรา ช่วยกันประคับประคอง ให้ต่อสู้กับโรคร้ายทั้งของพ่อและของตัวลูก และยังทำให้รู้ว่าสังคมไทย ยังมีความเอื้ออาทรต่อกัน ถ้าครอบครัวของเราไม่ได้รับความกรุณา ของสมาคมผู้ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมและคุณหมอ ลูกกับพ่อคงไม่มีความสุขอย่างทุกวันนี้
ดิฉันขอให้อานิสงส์ในการทำความดี จงส่งผลให้ทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือ ครอบครัวของเรา ได้รับความสุขเช่นเดียวกัน
เสียงบรรยายโดย สุภาวดี เตียพิริยะกิจ
บทความที่เกี่ยวข้อง