ด้วยรักและเข้าใจ
การทำความเข้าใจในตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อม จะช่วยให้ผู้ดูแลมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น ความขัดแย้งต่างๆ ลดลง มีกำลังใจในการดูแล และยังช่วยรักษาความรักความผูกพันระหว่างกันเอาไว้ได้
พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง หรือสามีภรรยา คนที่เรารักเหล่านี้หากมีภาวะสมองเสื่อมแล้ว จะมีความเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งการหลงลืม อารมณ์แปรปรวน นิสัยใจคอเปลี่ยนแปลง มีพฤติกรรมผิดแผกแปลกไปจากเดิม
อารมณ์และพฤติกรรมบางอย่างยอมรับได้ยาก อีกทั้งยังสร้างความปั่นป่วน ส่งผลให้ครอบครัวผู้ดูแลเผชิญกับความทุกข์ ในระดับร้ายแรงคือการหมดรัก ทอดทิ้งผู้ป่วย น่าเศร้าใจหากไม่เข้าใจและละเลยทอดทิ้งบุคคลอันเป็นที่รักของเรา
ทำอย่างไรให้รักยังคงอยู่
- เริ่มต้นที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของภาวะสมองเสื่อม พฤติกรรมต่างๆ ที่ยอมรับไม่ได้นั้นเกิดจากสมองเสื่อมลง เซลล์สมองถูกทำลาย ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ
- ทำความเข้าใจว่าภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งที่เราจัดการได้ ดูแลได้ หลายครอบครัวอยู่ร่วมกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีความสุขพอสมควร
- เรียนรู้การรับมือกับอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ศึกษาวิธีการจัดการปัญหา รู้จักสังเกตภาษากาย และหาสาเหตุของปัญหาพฤติกรรมเพื่อแก้ไขให้ตรงจุด
- ปรับตัว ปรับใจ ปรับวิธีการและข้อแนะนำต่างๆ มาใช้ให้เหมาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมในความดูแลของเรา
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ระบายความรู้สึก เข้าร่วมกลุ่มกับผู้ดูแลคนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
- หาเวลาพัก หาผู้ช่วยผลัดเปลี่ยนดูแล เพื่อลดความเครียด
- เริ่มต้นที่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของภาวะสมองเสื่อม พฤติกรรมต่างๆ ที่ยอมรับไม่ได้นั้นเกิดจากสมองเสื่อมลง เซลล์สมองถูกทำลาย ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ
- ทำความเข้าใจว่าภาวะสมองเสื่อมเป็นสิ่งที่เราจัดการได้ ดูแลได้ หลายครอบครัวอยู่ร่วมกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีความสุขพอสมควร
- เรียนรู้การรับมือกับอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ ศึกษาวิธีการจัดการปัญหา รู้จักสังเกตภาษากาย และหาสาเหตุของปัญหาพฤติกรรมเพื่อแก้ไขให้ตรงจุด
- ปรับตัว ปรับใจ ปรับวิธีการและข้อแนะนำต่างๆ มาใช้ให้เหมาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมในความดูแลของเรา
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ระบายความรู้สึก เข้าร่วมกลุ่มกับผู้ดูแลคนอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
- หาเวลาพัก หาผู้ช่วยผลัดเปลี่ยนดูแล เพื่อลดความเครียด
รู้จักสมองเสื่อมในมุมของผู้ป่วย
ตัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มักจะไม่ค่อยมีใครเข้าใจ เนื่องจากบอกเล่าความรู้สึกไม่ได้ และไม่เข้าใจตัวเองดีนัก
ตัวของผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นอย่างไร มักจะไม่ค่อยมีใครเข้าใจ เนื่องจากบอกเล่าความรู้สึกไม่ได้ และไม่เข้าใจตัวเองดีนัก
เมื่อสมองเสื่อมผู้ป่วยจะ…
- รู้สึกสับสน วุ่นวายใจ
- รู้สึกไม่ปลอดภัย
- ขาดความมั่นใจในตัวเอง
- รู้สึกว่าไม่สามารถทำได้อย่างใจต้องการ รวมทั้งการจดจำ
- ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและการแสดงออกไม่ได้
- เข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวน้อยลง
- ไม่อยากเข้าสังคม
- รู้สึกสับสน วุ่นวายใจ
- รู้สึกไม่ปลอดภัย
- ขาดความมั่นใจในตัวเอง
- รู้สึกว่าไม่สามารถทำได้อย่างใจต้องการ รวมทั้งการจดจำ
- ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกและการแสดงออกไม่ได้
- เข้าใจสิ่งต่างๆ รอบตัวน้อยลง
- ไม่อยากเข้าสังคม
การทำความเข้าใจในตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อม จะช่วยให้ผู้ดูแลมีความเห็นอกเห็นใจมากขึ้น ความขัดแย้งต่างๆ ลดลง มีกำลังใจในการดูแล และยังช่วยรักษาความรักความผูกพันระหว่างกันเอาไว้ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง