ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ

ถ้าพบว่าคนในครอบครัวเริ่มมีอาการสมองเสื่อม ควรเตรียมตัวเตรียมใจ เพราะอาการและการดูแลต่างจากโรคอื่น ผู้มีภาวะสมองเสื่อมจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ถูกวิธี เพราะความสามารถในการใช้ชีวิตและการทำกิจวัตรประจำวันจะลดลงไปเรื่อย ๆ
* พบบ่อย ๆ ว่า ครอบครัวหรือผู้ดูแลทะเลาะกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม ทำใจไม่ได้ที่ผู้ป่วยไม่เหมือนเดิม น้อยใจ โกรธ หมดรัก
* เมื่อดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมไปนาน ๆ มักเกิดความอ่อนล้า เครียด เบื่อหน่าย กังวล ซึมเศร้า หรือผิดหวังที่อาการไม่ดีขึ้น
* การสังเกต เอาใจใส่ เข้าใจอาการของโรค ช่วยให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อม ผู้ดูแลและครอบครัว อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ไม่ทุกข์มาก ไม่เหนื่อยเกินไป
ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ
ยืดหยุ่น ใส่ใจ ปลอดภัย ไม่เอาชนะ

1. ทำความเข้าใจสมองเสื่อม

– อาการระยะแรกผู้มีภาวะสมองเสื่อมจะดูเหมือนคนปกติ แค่ขี้ลืมหรือทำอะไรแปลก ๆ แต่ก็มักจะหาเหตุผล ที่สมเหตุสมผล ทำให้ญาติแยกไม่ออกว่าปกติหรือป่วย หรือญาติคิดมากไปเอง และลังเลใจที่จะเริ่มชวนไปพบแพทย์
– ผู้มีภาวะสมองเสื่อมมีการรับรู้เปลี่ยนไปจากคนปกติ อาการที่พบได้บ่อย เช่น พูด บอกอะไรก็ลืมง่าย ๆ การใช้เหตุผลบิดเบี้ยวไปจากเดิม และไม่ค่อยเข้าใจเหตุผลที่เราพยายามอธิบาย ในบางรายการมีอาการทางจิตเวชร่วมด้วย เช่น หลงผิด มโนคิดว่าสิ่งที่ไม่มีจริงเป็นจริง หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน
– นิสัยใจคอและพฤติกรรมที่ผิดแปลกไป เรื่องง่าย ๆ ที่เคยทำได้กลับทำไม่ได้ ถามซ้ำวกวน เดี๋ยวขี้ใจน้อย เดี๋ยวของขึ้น ญาติก็อาจมองว่าน่ารำคาญ น่าโมโห แต่ก็ต้องเข้าใจว่าทั้งหมดนั้นมาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นในสมอง

2. ยอมรับความจริง

– สมองเสื่อมของผู้ป่วยเกิดจากสาเหตุที่รักษาไม่หาย แต่ชะลออาการได้ด้วยการรักษาและการดูแลจากครอบครัว
– ยอมรับในตัวผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปไม่เหมือนคนเดิม ไม่เก่งเท่าอดีต หลงลืม ทำตัวแปลก ๆ เข้าใจอะไรยากขึ้น ฯลฯ และใช้วิธีปรับพฤติกรรมผู้มีภาวะสมองเสื่อมเข้าช่วย

3. เข้าใจและเห็นใจและเมตตา

ผู้มีภาวะสมองเสื่อมอาจทำอะไรให้เราขุ่นเคืองใจ หรือไม่ได้ดั่งใจ บางครั้งมีอารมณ์ร้าย สร้างความปั่นป่วน ฯลฯ ผู้ดูแลอาจโกรธได้ แต่พึงเตือนตัวเองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุจากความเจ็บป่วย และไม่มีใครอยากป่วยเป็นแบบนี้ ก็จะให้อภัยผู้ป่วยได้

4. ปรับตัวปรับใจรับความเปลี่ยนแปลง

– เมื่อเราเป็นคนที่ไม่ป่วย เราคือคนที่ปรับเปลี่ยนได้
– ดูแลกันเป็นทีม ครอบครัวควรปรึกษากัน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ทั้งด้านการดูแลและค่าใช้จ่าย อย่าลืมว่าผู้ดูแล 1 คน ไม่สามารถเฝ้าผู้มีภาวะสมองเสื่อมได้ตลอดเวลา จำเป็นต้องมีการหยุดพัก ผลัดเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นผู้ดูแลอาจเครียดและป่วยเองได้

5. หาความรู้

เพื่อทำความเข้าใจและรู้วิธีดูแล ปรึกษาแพทย์ โรงพยาบาล หน่วยงานที่ให้ความรู้ความช่วยเหลือ อ่านหนังสือ และศึกษาจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่น่าเชื่อถือ

ข้อแนะนำ

– ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมเข้าใจตัวเอง การยอมรับในความเจ็บป่วยเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการดูแลรักษา แต่ก็ต้องพิจารณาจากพื้นฐานเดิมของแต่ละคนด้วยว่า จะเข้าใจ ทำใจยอมรับข่าวร้ายได้มากเพียงใด เลือกวิธีที่เหมาะสม อ่อนโยนกับแต่ละคน ท่านที่เป็นในระยะที่ลืมเยอะแล้ว ก็อาจจะลืมว่าตนไม่สบาย อย่ากดดันบังคับ “ป่วยนะยอมรับสิ” ประโยคนี้อาจกระทบต่อจิตใจ เกิดผลเสียตามมาแทน
– ให้กำลังใจ กระตุ้น เชียร์ให้ผู้มีภาวะสมองเสื่อมทำอะไรเองเท่าที่ทำได้ ช่วยสร้างความภูมิใจ ความมั่นใจ ความรู้สึกมีคุณค่า
– กำหนดกิจวัตรประจำวัน เพื่อคงความสามารถของผู้มีภาวะสมองเสื่อมไว้นานที่สุด ลดภาระคนดูแล
– ให้ทำกิจวัตรประจำวันเป็นเวลาทุกวัน ไม่ต้องเป๊ะมาก ยืดหยุ่นได้บ้าง
– ทำตารางกิจวัตรประจำวัน/สัปดาห์ เตือนความจำผู้มีภาวะสมองเสื่อม
– เตือนความจำ

ข้อแนะนำในการปรับตัวสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม
ข้อแนะนำในการปรับตัวสำหรับผู้มีภาวะสมองเสื่อม
การป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนอนติดเตียง มักจะเคลื่อนไหวไม่ได้ และนอนในท่าเดิมเป็นเวลานาน จึงเกิดแผลกดทับ ...
ปัญหาและแนวทางการรับมือด้านพฤติกรรม อารมณ์ และการรู้คิด
พยายามมองที่คุณค่าในตัวผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่เคยเป็น ทำความเข้าใจว่าการกระทำผิดแปลก ...
บทความอื่นที่น่าสนใจ
ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
การออกกำลังกายเพื่อพัฒนาความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ
เป็นการใช้กล้ามเนื้อในการออกแรงโดยมีน้ำหนักภายนอกเป็นแรงต้าน ...
โรคความดันโลหิตสูง
โปรดอย่านิ่งนอนใจ !! ความดันโลหิตสูง…หากไม่ทำการรักษา อาจทำให้เกิด ...
ทำไมต้องเป็น “วันวาน ณ ปัจจุบัน”
ผู้มีภาวะสมองเสื่อมนั้น ลืมเลือนสิ่งใหม่ ...
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.