โรคสมองเสื่อม

อาการเข้าเกณฑ์โรคสมองเสื่อม คือ เมื่อมีความเสื่อมถอยของความสามารถทางสมอง และเป็นอยู่อย่างต่อเนื่อง อาการรุนแรงพอที่จะทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงาน หรือการเข้าสังคม หรือความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน
โรคสมองเสื่อมมีแบบแท้ และ เทียม 

แบบแท้ตามอาการและลักษณะที่บอกไปแล้ว ส่วนแบบเทียมเกิดขึ้นได้จาก 2 สาเหตุ คือ เกิดจากโรคทางจิตเวชแต่มีอาการคล้ายโรคสมองเสื่อม และเกิดจากโรคซึมเศร้า ซึ่งสาเหตุนี้พบมากกว่า

วิธีสังเกตตัวเอง หรือ คนใกล้ชิดว่าเป็นโรคอะไรกันแน่ ?
โรคสมองเสื่อมแท้ 
ญาติมักจะเป็นผู้สังเกตความผิดปกติ ผู้ป่วยมักจะมีอาการหลงลืมสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ และมักจะไม่แสดงความกังวลกับอาการหลงลืม
เวลาทดสอบ 
ผู้ป่วยจะเสียความจำโดยตรง
โรคสมองเสื่อมเทียม (ซึมเศร้า) 
ผู้ป่วยมักจะสังเกตความผิดปกติด้วยตัวเอง ผู้ป่วยมักจะมีอาการหลงลืมที่ไม่แน่นอน และกังวลเกี่ยวกับอาการหลงลืม เวลาทดสอบ ผู้ป่วยจะเสียสมาธิเป็นหลัก
เรียบเรียงจาก หนังสือ รู้-เฒ่า-ทัน-สุข
ผู้เขียน : ผศ.พญ.ภาพันธ์ ไทยพิสุทธิกุล
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
แบบประเมินโรคซึมเศร้า พีเอชคิว
หากสงสัยว่ามีภาวะซึมเศร้าลองทำแบบสอบถามด้วยตนเอง 9 ข้อ ถ้าพบว่าเข้าข่ายโรคซึมเศร้าควรปรึกษาแพทย์
ปัญหาที่พบในคนโรคสมองเสื่อม
เมื่อมีภาวะสมองเสื่อม จะมีปัญหาความจำ และปัญหาด้านอื่น ๆ อีก เช่น การสื่อสาร การเข้าสังคม การนอน ฯลฯ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
กลุ่มอาการเมแทบอลิกซินโดรม
ในคนอ้วนที่ลงพุงมีโอกาสจะเป็นเมแทบอลิกซินโดรมสูงกว่าคนอ้วนแบบอื่น ...
แนวทางในการสื่อสารกับผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างเหมาะสม
การดูแลผู้สูงวัยด้วยทัศนคติที่มองมนุษย์เป็นมนุษย์ ...
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: NCDs คืออะไร
NCDs ย่อมาจาก Non-Communicable Disease คือ โรคไม่ติดต่อ เช่นโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้แก่ ...
ตัวอย่างกิจวัตร/กิจกรรมประจำวัน
Caregiver Connect
 
© Geriatrics Medicine, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University. All Rights Reserved.